CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: โตเกียวโอลิมปิก 1964 จุดกำเนิดสัญลักษณ์แยกห้องน้ำชาย-หญิงที่คนทั่วโลกเข้าใจ
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Opinion > โตเกียวโอลิมปิก 1964 จุดกำเนิดสัญลักษณ์แยกห้องน้ำชาย-หญิงที่คนทั่วโลกเข้าใจ
Opinion

โตเกียวโอลิมปิก 1964 จุดกำเนิดสัญลักษณ์แยกห้องน้ำชาย-หญิงที่คนทั่วโลกเข้าใจ

connectthedots admin
Last updated: 2024/03/12 at 7:52 PM
connectthedots admin Published June 25, 2023
Share

#6 Degrees of Separation – เพราะความเป็นไปได้เชื่อมหากันไม่เกินหกทอด
.
มนุษย์ในโลกนี้ใช้ภาษาหลากหลาย ซึ่งหากไม่มี “ภาษากลาง” อย่างภาษาอังกฤษนั้นเวลาไปท่องเที่ยวที่ไหนนักท่องเที่ยวก็คงจะงงอยู่ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาพื้นฐานที่จะอยู่บนป้ายที่ตั้งใจจะใช้ในการสื่อสารกับนักท่องเที่ยว

อย่างไรก็ดี ป้ายแบบหนึ่งที่ไม่ใช้ภาษา แต่ “นักท่องเที่ยว” ทั่วโลกก็เข้าใจตรงกันคือสัญลักษณ์ห้องน้ำ เราสามารถรู้ได้โดยไม่ต้องมีคำอธิบายใด ๆ ว่าสัญลักษณ์แนว “พิคโตแกรม” ของผู้ชายและผู้หญิงยืนคู่กันนั้นหมายถึง “ห้องสุขา” ซึ่งแม้ว่าในแต่ละพื้นที่สัญลักษณ์พวกนี้จะมีความแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่โครงสร้างพื้นฐานมันเหมือนกัน และมันก็ช่วยให้นักท่องเที่ยวผู้ไม่รู้ภาษาท้องถิ่นสามารถแสวงหาสถานที่ “ปลดทุกข์” เพื่อให้ “ฟื้นทุกข์” ได้อย่างสะดวก

เคยสงสัยมั้ยครับว่าสัญลักษณ์นี้มันมายังไง ?

อันนี้เราอยากจะเล่าย้อนหน่อยถึงความเป็นมาของ “ห้องน้ำสาธารณะ” ที่ต้อง “แยกเพศ”
.
แน่นอนมนุษย์ต้อง “ปลดทุกข์” มานานแล้ว และปกติก็ไปปลดปล่อยตามธรรมชาติกัน มันไม่มีและไม่จำเป็นต้องมี “ห้องน้ำ” ซึ่งอะไรพวกนี้ในภาษาไทยเก่าๆ เราก็จะเห็นคำอย่าง “ยิงกระต่าย” และ “ไปทุ่ง” ความหมายมันก็คือการไปถ่ายเบาและหนักป่าในทุ่งนั่งเอง

อย่างไรก็ดีสังคมเมืองที่ใหญ่ขึ้นและคนที่อยู่กันมากขึ้นในพื้นที่จำกัด การทำแบบนี้แรกๆ ก็ทำให้เมืองมีกลิ่นเหม็นร้ายกาจ แต่ที่เลวร้ายก็คือ มันทำให้เกิดโรคระบาดขึ้น และที่หนักๆ เลยคืออหิวาตกโรคที่ระบาดในกรุงลอนดอนช่วงกลางศตวรรษที่ 19
.

ที่มันเกิดที่ลอนดอนหนัก ๆ ก็เพราะมันเป็นเมืองที่ประชากรเยอะอันดับต้นๆ ของโลกในตอนนั้น พูดง่าย ๆ คือ คนอยู่กันแออัดสุดๆ โรคระบาดก็เลยหนัก ซึ่งหลังจากพบว่าการขับถ่ายลงในแหล่งน้ำสาธารณะคือต้นตอการระบาด มันก็ทำให้เกิดการรื้อระบบสาธารณสุขของกรุงลอนดอนใหม่หมด แยกระบบน้ำเสียกับน้ำดี และที่สำคัญก็คือการพยายามให้มนุษย์ขับถ่ายเป็นที่ในนามของการควบคุมโรคระบาด และ “ห้องน้ำสาธารณะ” สมัยใหม่ก็เริ่มมาแบบนั้นนี่แหละครับ อังกฤษเริ่ม ชาติอื่น ๆ ก็ทำตามเพราะอังกฤษช่วงนั้นคือมหาอำนาจอันเป็นผู้นำทางวัฒนธรรม

ทีนี้ การเกิดห้องน้ำสาธารณะช่วงแรกๆ เค้าไม่ทำแยกเพศ เพราะสมัยโน้นทั่ว ๆ ไปผู้หญิงเค้าจะไม่ค่อยออกจากบ้านเท่าไหร่ โลกตะวันตกและหลายๆ พื้นที่ในโลกมีธรรมเนียมว่าผู้หญิงมีหน้าที่อยู่บ้านทำงานบ้านและเลี้ยงลูก ผู้ชายเท่านั้นที่จะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ดังนั้นห้องน้ำในที่สาธารณะก็ทำให้ไว้ผู้ชายเข้าก็พอ มันไม่ต้องแยกเพศ ซึ่งนึกง่ายๆ ก็ได้ “สถานที่ราชการ” สมัยนั้นแน่นอนว่าต้องมีห้องน้ำ แต่ข้าราชการทั้งหมดเป็นผู้ชายล้วน ดังนั้นมันไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะสร้างห้องน้ำแยก เพราะคนใช้มีแต่ผู้ชาย
.

ซึ่งก็ต้องรอเกิดสงครามโลก 2 ครั้งแรกโน่นน่ะแหละที่ผู้ชายไปรบและตายไปเยอะ แรงงานขาดแคลน ทำให้ผู้หญิงในโลกตะวันตกเริ่มได้ออกมา “ออกมาทำงานนอกบ้าน” กันอย่างต่อเนื่อ และการต้อง “แยกเพศ” ในห้องน้ำสาธารณะก็เริ่มขึ้น เพราะตอนนั้นผู้หญิงก็ต้องใช้ห้องน้ำในที่สาธาณะบ้างแล้ว

การแยกเพศในห้องน้ำยุคแรกมันถ้าไม่ใช้ภาษาเขียนบอกตรงๆ ก็จะใช้เป็นรูปวาด ซึ่งจริงๆ ร้านอาหารหรือร้านเหล้าบางร้านทุกวันนี้ก็ยังใช้ระบบภาพวาดแบบนี้เพื่อความเท่ห์ อย่างไรก็ดี อะไรพวกนี้มันไม่มีความ “สากล” แต่อย่างใด พูดง่ายๆ คือถ้าชาวต่างชาติมาเห็นก็อาจจะงงแน่ๆ แบบอาจงงไม่รู้ว่าจะเข้าห้องไหน
.

ทีนี้คำถามคือ แล้วทำไมอยู่ดีๆ มนุษย์ถึงต้องทำ “ป้ายห้องน้ำ” ให้ชาวต่างชาติเข้าใจด้วย?

คำตอบเร็ว ๆ คือ “การท่องเที่ยว”

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อเมริกากลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และสิ่งหนึ่งที่อเมริกาส่งไปทั่วโลกก็คือ “นักท่องเที่ยว”

หากจะพูดว่านักท่องเที่ยวอเมริกาเปลี่ยนโลกยังไงบ้างก็คงต้องพูดยาว แต่ในที่นี้เราจะพูดถึง “ปัญหา” ที่นักท่องเที่ยวอเมริกาเจอ ซึ่งก็คือ ปัญหาการ “ปลดทุกข์”

นักท่องเที่ยวอเมริกาคือพวกแรก ๆ ที่ตระหนักว่า “ป้ายห้องน้ำ” ในโลกนี้แตกต่างกันและไม่มีมาตรฐาน ดังนั้นการจะไปประเทศต่างๆ สิ่งแรกๆ ที่อาจต้องเรียนรู้คือหน้าตาของป้ายห้องน้ำ ซึ่งบางทีถ้าป้ายมันเขียนเป็นอักษรโรมัน บางทีมันก็พอจะอ่านออกเดาออก แม้จะอ่านไ่ม่รู้เรื่องซะทีเดียว
.

ทีนี้ลองคิดภาพ สมมติจะมีประเทศหนึ่ง จะจัดอีเวนต์ ที่มีนักท่องเที่ยวอเมริกันมาเพียบแน่ๆ แต่ประเทศนั้นดันไม่ได้ใช้ภาษาที่มีตัวอักขระที่คนอเมริกาอ่านออกและจดจำได้แน่ ๆ

ประเทศที่ว่าคือญี่ปุ่น และเหตุการณ์ที่ว่าคือกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงโตเกียวปี 1964
ทางทีมผู้จัดถกกันเข้มว่าจะทำยังไงดีเพื่อทำป้ายเพื่อการสื่อสารให้กับพวกนักท่องเที่ยว เพราะป้ายต่าง ๆ ของญี่ปุ่นสมัยโน้น มันภาษาญี่ปุ่นล้วน ไม่ได้มีภาษาอังกฤษกำกับ ทั่วไปแบบตอนนี้ (จริงๆ ช่วง 1990s ก็ยังเป็นแบบนั้นนะครับ ที่เริ่มมีภาษาอังกฤษเยอะๆ คือตอนญี่ปุ่นเน้นขายการท่องเที่ยว ซึ่งนั่นคือประมาณไม่เกิน 20 ปีที่ผ่านมาเท่านั้นเอง)

ที่สำคัญ มันคือโอลิมปิก บางทีเขียนภาษาอังกฤษไป นักท่องเที่ยวบางชาติก็อาจไม่เข้าใจ มันต้องมีอะไรที่ “สากล” กวานั้น

และทางทีมงานก็เลยได้ไอเดียว่า ใช้สัญลักษณ์แนว “พิคโตแกรม” เป็นมนุษย์ที่มีอิริยาบถต่างๆ เพื่อสื่อสารดีกว่า

และด้วยเหตุผลบางอย่างที่ไม่มีหลักฐานชัดเจน สัญลักษณ์ “ห้องน้ำ” กลับเป็นรูปคนยืนเฉย ๆ โดยไฮไลต์คือการใช้สีของตัวผู้ชายเป็นสีน้ำเงิน ส่วนตัวผู้หญิงเป็นสีแดง
.

ซึ่งก็ไม่มีบันทึกชัดเจนว่าสมัยนั้นคนเห็นเครื่องหมายนี้ครั้งแรกนั้นงงกันมั้ย แต่หลังจากเหตุการณ์โอลิมปิกครั้งนั้น การใช้สัญลักษณ์ห้องน้ำในแบบที่ญี่ปุ่นใช้ในตอนโอลิมปิกก็แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างไฟลามทุ่ง และสุดท้ายมันก็กลายมาเป็น “สัญลักษณ์ที่คนทั้งโลกเข้าใจตรงกัน” ในที่สุด

คือจะบอกว่าญี่ปุ่นเป็นคน “เริ่ม” ใช้สัญลักษณ์นี้ก็อาจไม่ได้ เพราะทางอังกฤษก็เคลมว่าตัวเองใช้มาก่อนญี่ปุ่นนิดหน่อย แต่เราก็น่าจะปฏิเสธไม่ได้ว่า งานโอลิมปิกที่กรุงโตเกียวปี 1964 มันคืองานที่ “ประกาศให้โลกรู้” อย่างยิ่งใหญ่ว่าสัญลักษณ์แบบนี้หมายถึง “ห้องน้ำ”

ซึ่งก็อย่างที่เล่า ญี่ปุ่น “สร้าง” สัญลักษณ์นี้มาเป็น “โซลูชั่น” ในการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพราะนักท่องเที่ยวไม่มีทางอ่านอักขระภาษาญี่ปุ่นรู้เรื่องนั่นเอง

เขียนโดย : อนาธิป จักรกลานุวัตร

ที่มา
https://www.nippon.com/en/guide-to-japan/gu006004/
https://www.bbc.com/…/20140911-the-genius-of-toilet-signs
https://www.facebook.com/HISTORYasia/videos/542444912907411/
https://www.mentalfloss.com/…/how-bathroom-stick…

You Might Also Like

วัดกำลังอสังหาฯ ยามพบศึกหนัก แผ่นดินไหว vs สงครามการค้า บ้านแนวราบโต แต่ตลาดคอนโดตึกสูงสั่นคลอน

ไม่ใช่แค่แรงงานไทยมักง่าย แต่นายจ้างเกาหลีก็อยากได้ผีน้อย

ไม่เอาแอปจีน! รัฐเท็กซัสประกาศแบนทั้ง DeepSeek, RedNote, Lemon8 

แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2568 คาดยอดจัดส่งรถยนต์ EV โต 17%

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
connectthedots admin June 25, 2023
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article จุดยืน “ก้าวไกล-เพื่อไทย”มองต่างกันทั้งเศรษฐกิจ-การเมือง น้ำกับน้ำมันผสมกันยาก
Next Article ขนาดของ “ก้นม้า” มากำหนดขนาดของไอพ่นจรวดได้อย่างไร?
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?