CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: ทำไมขวดเล็กแพงกว่าขวดใหญ่? ทั้งที่ข้างในน้ำเดียวกัน 
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Opinion > ทำไมขวดเล็กแพงกว่าขวดใหญ่? ทั้งที่ข้างในน้ำเดียวกัน 
Opinion

ทำไมขวดเล็กแพงกว่าขวดใหญ่? ทั้งที่ข้างในน้ำเดียวกัน 

CTD admin
Last updated: 2024/10/29 at 5:25 AM
CTD admin Published October 24, 2024
Share

นี่อาจไม่ใช่เรื่องที่คนไทยคุ้นเคย แต่กลับเป็นเรื่องปกติในหลายประเทศที่แม้แต่คนในประเทศเองก็ยังสงสัย นั่นคือการตั้งราคาเครื่องดื่มแปลก ๆ ขวดเล็กขายแพงกว่าขวดใหญ่ ทั้งที่ข้างในคือเครื่องดื่มชนิดเดียวกัน 

การตั้งราคาแบบนี้มีให้เห็นตามร้านค้าในออสเตรเลียและญี่ปุ่น มักใช้กับน้ำเปล่าและน้ำอัดลม ซึ่งก็มีชาวออสเตรเลียและญี่ปุ่นออกมาโพสต์ถามกันอยู่บ้าง ว่าทำไมขวดใหญ่ถึงถูกกว่า? 

อย่างในญี่ปุ่น น้ำขวด 2 ลิตร ราคาประมาณ 90 เยน ในขณะที่น้ำขวด 500 มล. ราคาสุงกว่า 100 เยน 

ในออสเตรเลียก็ขายน้ำผุดธรรมชาติขวด 1.5 ลิตร ราคา 70 เซ็น แต่ขายขวด 600 มล. ในราคา 1 ดอลลาร์ 

ต้องบอกว่านี่คือเรื่องของ “ราคา” ไม่ใช่ “ความคุ้มค่า”  เพราะถ้าเทียบความคุ้มค่าด้วยราคาต่อลิตร ขวดใหญ่ยังไงก็ถูกกว่าไม่ต่างจากน้ำที่ขายในไทย ที่ขายขวด 600 มล. 7 บาท ส่วนขวด 1.5 ลิตร 14-15 บาท ซึ่งขวดใหญ่คุ้มค่ากว่า แต่ก็ราคาสูงกว่าเป็นปกติ เพราะน้ำเยอะกว่า 

แต่การที่บางที่ขายน้ำขวดเล็กแพงกว่าทั้งที่ความคุ้มค่าน้อยกว่า ก็ไม่ใช่ว่าเขาไร้เหตุผล หรือตั้งราคาผิดพลาดแต่อย่างใด แต่จริง ๆ แล้วมันค่อนข้างสมเหตุสมผลเลย 

ต้นทุน – เล่าไปคุณอาจไม่เชื่อ แต่จริงๆ แล้วการผลิตน้ำขวดเล็ก/ขวดใหญ่ บางครั้งก็มีต้นทุนไม่ต่างกัน น้ำขวดเล็กอาจมีต้นทุนสูงกว่าด้วย เพราะขวดใหญ่จะได้ประโยชน์จาก Economy of Scale มากกว่า อีกทั้งในการขนส่ง รถจะบรรจุขวดเล็กได้น้อยกว่าถ้าเทียบตามน้ำหนักหรือปริมาตร และการบริหารจัดการน้ำขวดเล็กบนชั้นวางและคลังสินค้าก็มีค่าใช้จ่ายมากกว่า 

การแบ่งแยกราคา (Pric Discrimination) – เรื่องนี้น่าจะเป็นสาเหตุหลักของการตั้งราคาแบบนี้เลย ซึ่งคล้ายกับโปรตั๋วหนังวันพุธ เพราะขายให้กับผู้บริโภคคนละกลุ่มตามพฤติกรรมของพวกเขา มีความต้องการแตกต่างกัน  ในสถานที่ท่องเที่ยว สนามกีฬา ตลาด ทำเลที่คนต้องการความสะดวกสบาย การตั้งราคาน้ำขวดเล็กแพงกว่า ถือเป็นการคว้าโอกาสสร้างกำไรจากความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้ ส่วนขวดใหญ่ที่ให้ความสะดวกน้อยกว่า ก็อาจไม่เป็นที่ต้องการเท่า จึงตั้งราคาขายถูกกว่าเพื่อจูงใจชดเชยกัน ให้กับลูกค้าที่ไม่ได้สนใจเรื่องความสะดวกสบายแต่เน้นความคุ้มค่า 

จิตวิทยา – การตั้งราคาขวดใหญ่ให้ถูกกว่า ช่วยจูงใจให้ลูกค้าเห็นว่าคุ้มกว่าจริงๆ และเลือกซื้อขวดใหญ่มากขึ้น ซึ่งขวดใหญ่จะมีสัดส่วนกำไรมากกว่า อีกนัยหนึ่งหมายถึงปริมาณที่ขายได้โดยรวมก็สูงขึ้นด้วย  

ขยะพลาสติก – คงปฏิเสธไม่ได้ว่าขวดพลาสติกคือหนึ่งในต้นเหตุของปัญหาขยะพลาสติก ซึ่งในแต่ละประเทศมีมาตรการแก้ไขและรับมือแตกต่างกัน น้ำขวดใหญ่อาจใช้พลาสติกพอๆ กันกับขวดเล็ก แต่จุน้ำได้มากกว่า ถ้านับการบริโภคน้ำเท่ากันหมายถึงการใช้พลาสติกน้อยลง การตั้งราคาขวดเล็กให้แพงกว่าจึงช่วยทำให้คนเลือกซื้อขวดใหญ่มากขึ้น เพื่อลดขยะที่มากกว่าจากขวดเล็ก หรือบางยี่ห้อก็ไม่ขายขวดเล็กเลย 

อย่างไรก็ตาม เหตุผลเหล่านี้มาจากการวิเคราะห์ของเพจและข้อมูลที่รวบรวมมาจากความคิดเห็นในประเด็นนี้ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ในแต่ละประเทศ แต่ละที่อาจมีเหตุผลจริงในการตั้งราคาแบบนี้แตกต่างกันไป  

You Might Also Like

วัดกำลังอสังหาฯ ยามพบศึกหนัก แผ่นดินไหว vs สงครามการค้า บ้านแนวราบโต แต่ตลาดคอนโดตึกสูงสั่นคลอน

ไม่ใช่แค่แรงงานไทยมักง่าย แต่นายจ้างเกาหลีก็อยากได้ผีน้อย

ไม่เอาแอปจีน! รัฐเท็กซัสประกาศแบนทั้ง DeepSeek, RedNote, Lemon8 

แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2568 คาดยอดจัดส่งรถยนต์ EV โต 17%

TAGGED: marketing, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
CTD admin October 24, 2024
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article A5 ชูหลัก ESG ได้รับ Transition Loan จากกรุงไทย เดินหน้าเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน
Next Article APT เพลงดังจากเกมขี้เมาของเกาหลีใต้ สะท้อนมูลค่าและวัฒนธรรมการดื่มสุดขั้ว  
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?