CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: 3 วิธีตั้งเป้าหมาย New Year Resolutions ที่ใช่ให้สำเร็จง่าย ๆ ด้วยหลักจิตวิทยา
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Opinion > 3 วิธีตั้งเป้าหมาย New Year Resolutions ที่ใช่ให้สำเร็จง่าย ๆ ด้วยหลักจิตวิทยา
Opinion

3 วิธีตั้งเป้าหมาย New Year Resolutions ที่ใช่ให้สำเร็จง่าย ๆ ด้วยหลักจิตวิทยา

korlajeshop@gmail.com
Last updated: 2024/03/12 at 1:15 PM
[email protected] Published December 22, 2023
Share

ในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ นอกจากการแลกของขวัญและการเฉลิมฉลอง สิ่งที่นิยมทำกันทั่วโลกเลยคือ “การตั้งปนิธานปีใหม่” หรือ “New Year Resolutions” เพื่อการเปลี่ยนแปลง หรือทำสิ่งใหม่ ๆ ด้วยความตั้งใจเต็มเปี่ยม แต่สุดท้ายเมื่อผ่านพ้นไปจนหมดปีกลับมีแค่คนส่วนน้อยที่ทำได้สำเร็จ และส่วนใหญ่มักหลงลืมหรือล้มเลิกไปตั้งแต่ยังไม่พ้นครึ่งปีด้วยซ้ำ อย่างในสังคมอเมริกัน 45% บอกว่าพวกเขาตั้งปนิธานปีใหม่อยู่เสมอ แต่มีเพียงแค่ 8% เท่านั้นที่ทำได้สำเร็จ

วันนี้ Connect the Dots จึงอยากขอนำเสนอวิธีการตั้งปนิธานปีใหม่ที่ดีให้คุณสำเร็จได้ ด้วยหลักจิตวิทยา

“ปนิธานที่ใช่ ทำง่ายกว่าเยอะ”
ว่าด้วยเรื่องของการตั้งปนิธานปีใหม่ หลายคนมักใช้โอกาสนี้ตั้งเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงตัวเองไปโดยสิ้นเชิง ซึ่งหลายครั้งก็เกินตัวไปมาก แต่จริง ๆ แล้วนั่นอาจเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่รอวันล้มเหลว ในทางกลับกัน หากเราตั้งเป้าหมายที่เหมาะสมตั้งแต่แรก อาจเป็นการปูทางสู่ความสำรเร็จตั้งแต่เริ่มเลยก็ได้

1.ปนิธานปีใหม่ที่ดีต้องมีแผน

นักจิตวิทยารู้ดีว่าการตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ สามารถนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ได้ แต่มันไม่ได้หมายความว่าเราตั้งเป้าง่าย ๆ อย่างเก็บเงินวันละบาท หรือ วิ่งวันละโล ก็พอ แต่เป้าหมายใหญ่ที่เราตั้งนั้นควรมาพร้อมแผนการที่ทำได้จริง อย่างที่ Dr. Lynn Bufka writes นักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า “เปลี่ยนแปลงมากน้อยไม่สำคัญ ที่สำคัญคือการรู้ว่ามันเปลี่ยนและพยายามต่อไปทีละก้าว”

เช่น หากคุณต้องการเก็บเงินแสนให้ได้ในปีนี้ แทนที่จะตั้งปนิธานว่า “ฉันจะเก็บเงิน 100,000 บาทในปีนี้” คุณอาจเปลี่ยนเป็น “ฉันจะพยายามใช้เงินไม่เกินวันละ 500 บาท โดยกำหนดและลดค่าใช้จ่ายแต่ละอย่าง” ซึ่งวิธีนี้ไม่เพียงแต่ตั้งเป้าหมายที่คุณสามารถมองเห็นแผนการและจัดการได้ง่าย แต่ยังเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นวิธีการตั้งเป้าหมายที่ดี ทำให้รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่กันแน่

2.ปนิธานที่ดีต้องติดตามความก้าวหน้าได้

นักจิตวิทยาชี้ว่าคนเรามักมีแรงผลักดันให้ถึงเป้าหมายอยู่เสมอ หากเรารับรู้มาว่าไกลแค่ไหน สิ่งนี้เรียกว่า “หลักความก้าวหน้า” หรือ “The Process Principle” ซึ่งศาสตราจารย์ที่ฮาวาร์ด Teresa Amabile กล่าวว่า “สิ่งที่กระตุ้นอารมณ์ แรงใจ และการรับรู้ในช่วงวันทำงานได้ดีที่สุดคือ การสร้างความก้าวหน้าในงานที่มีความหมาย”

การติดตามความก้าวหน้าจะช่วยให้คุณยึดมั่นอยู่กับเป้าหมาย และช่วยให้คุณพอได้ชื่นใจในแต่ละวันที่ผ่านพ้น ที่สำคัญคือยังรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอเมื่อปนิธานปีใหม่ได้กลายเป็นกิจวัตรประจำวันของคุณไปแล้ว

วิธีที่ช่วยได้ดีที่สุดอย่างหนึ่งคือการจดบันทึกลงปฎิทิน อย่างการกำหนดค่าใช้จ่าย ก็บันทึกลงไปว่าวันนี้ใช้ไปเท่าไร เกินที่กำหนดไว้หรือเปล่า เพราะถ้าหากวันไหนเกินก็จะได้เป็นตัวช่วยเตือนไว้ให้วันต่อไปใช้จ่ายน้อยลง และได้เห็นว่าเราประหยัดได้ขนาดนี้กี่วันกี่เดือนแล้ว

3.ปนิธานที่ดีจะสำเร็จได้เมื่อมันมีความหมายต่อคุณ

นักจิตวิทยาแนะนำว่า การจะบรรลุเป้าหมาย สร้างกิจวัตรใหม่ หรือยึดมั่นในปนิธาน จะสำเร็จได้ง่ายหากมันมีคุณค่าสำหรับคุณ พูดอีกอย่างคือมันจะต้องมี “เหตุผลที่ดี” ในการทำให้สำเร็จ

อย่าง “ฉันต้องการหางานใหม่ เพื่อเงินที่มากขึ้น” แม้ว่าอาจดูเป็นความตั้งใจที่สมเหตุสมผลแต่จริง ๆ แล้วมันไม่ทรงพลังมากพอ หากเอาเงินเป็นที่ตั้ง เพราะนั่นคือ แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic Motivation) แต่แรงจูงใจที่จะทำให้คุณทุ่มเทกับมันได้จริง ๆ ส่วนใหญ่มาจากภายใน หรือ (Intrinsic Motivation)

แม้ “เงิน” จะเป็นเป้าหมาย แต่คุณไม่ได้ต้องการเงิน คุณต้องการสิ่งที่ใช้เงินซื้อได้ต่างหาก และเมื่อคุณได้สิ่งเหล่านั้นมา หรือไม่อยากได้อีกต่อไปแล้ว คุณอาจไม่อยากทำตามปนิธานต่อ

กลับกันลองหันมามองแรงจูงใจภายใน และตั้งปนิธานอย่าง “ฉันจะหางานใหม่ ที่จ่ายค่าตอบแทนได้เหมาะสมกับคุณค่าความสามารถของฉัน” อาจตอบโจทย์แรงจูงใจภายในอย่างความภาคภูมิใจในความสามารถมากกว่า

โดยถ้าใครไม่รู้ว่าจำสำรวจแรงจูงใจภายในต่อความตั้งใจของเราอย่างไร ลองตั้งคำถามกับตัวเองง่าย ๆ ด้วย “5 whys” ถามคำถามว่า “ทำไม” ต่อกันไป 5 ครั้ง โดยใช้คำตอบแต่ละข้อเป็นคำถาม เช่น

ทำไมถึงอยากเปลี่ยนงาน – ฉันได้เงินน้อยเกินไป
ทำไมคิดว่าได้เงินน้อยเกินไป – ฉันทำงานเกินหน้าที่ของฉัน
ทำไมถึงทำงานเกินหน้าที่ – บริษัทไม่ยอมจ้างพนักงานเพิ่ม
ทำไมบริษัทไม่จ้างพนักงานเพิ่ม- พวกเขาไม่ต้องการเพิ่มค่าใช้จ่าย เลยเลือกเอาเปรียบพนักงาน
ทำไมรู้สึกถูกเอาเปรียบ – ความสามารถของฉันมีค่ามากกว่านั้น

โดยคำถามเหล่านี้อาจไม่ตายตัว และไม่จำเป็นต้องครบ หรือจบที่ 5 คำถาม เพียงแต่เป็นการไล่เรียงเหตุและผลของสิ่งต่าง ๆ ไปสู่ต้นตอ ซึ่งอาจทำให้เราได้พบสิ่งที่เราต้องการจริง ๆ และเมื่อเราสามารถตั้งปนิธานที่มีความหมายกับเราได้แล้ว การทำให้สำเร็จก็จะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นเยอะ

สุดท้ายนี้ไม่ว่าทุกคนจะมีปนิธานอะไรในปี 2024 ก็ขอให้ตั้งใจและทำได้สำเร็จลุล่วง และไม่ว่าอย่างไรก็ขอให้มีความสุขกับช่วงเทศกาลมาก ๆ นะครับ

You Might Also Like

วัดกำลังอสังหาฯ ยามพบศึกหนัก แผ่นดินไหว vs สงครามการค้า บ้านแนวราบโต แต่ตลาดคอนโดตึกสูงสั่นคลอน

ไม่ใช่แค่แรงงานไทยมักง่าย แต่นายจ้างเกาหลีก็อยากได้ผีน้อย

ไม่เอาแอปจีน! รัฐเท็กซัสประกาศแบนทั้ง DeepSeek, RedNote, Lemon8 

แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2568 คาดยอดจัดส่งรถยนต์ EV โต 17%

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
[email protected] December 22, 2023
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article จากแผงลอยถึงถ้วยและกล่อง ความสร้างสรรค์ไม่รู้จบของราเมงญี่ปุ่น
Next Article รายได้ของ Spotify นั้นถูกเอาไปจ่าย “ค่าลิขสิทธิ์” ไป 1,400,000,000,000 บาทในปี 2022 …แต่มัน “โดนหักค่าหัวคิว” จนเงินไปไม่ค่อยถึงมือนักดนตรี
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?