สวัสดีครับ วันนี้ทีม Baby Indicator มีเทคนิคการเทรดมาฝาก วันนี้เราจะมาพูดถึง Indicator ยอดนิยมที่มีชื่อว่า MACD กันครับ
MACD ย่อมาจาก Moving Average Convergence Divergence เป็นอินดิเคเตอร์ที่พัฒนามาจาก Moving Average อินดิเคเตอร์นี้จะสามารถบอก ✓ ‘แนวโน้ม (Trend)’ และ ✓ ‘โมเมนตัม (Momentum)’ ของราคา
วิธีการเข้าใช้งาน MACD ผ่าน MT4 (คอมพิวเตอร์)
เข้าไปที่เครื่องหมาย เครื่องหมาย + สีเขียว เลือก Oscillators และเลือก MACD
วิธีการเข้าใช้งาน MACD ผ่าน MT4 (มือถือ)
เข้าไปที่เครื่องหมาย f และเลือก MACD
ถ้าใครหาทางเข้าใช้งานไม่เจอ ปรึกษาทาง Support ของโบรกเกอร์ที่เทรดเดอร์ใช้งานอยู่ได้ครับ
จุดซื้อ – จุดขายเมื่อใช้ MACD
มาพูดถึงการเข้าซื้อ-ขาย เมื่อใช้ MACD กันดีกว่า… เมื่อเราเปิดการใช้งาน MACD ได้เรียบร้อยแล้ว สังเกตว่า MACD จะมี 2 เส้น และตัวที่เป็น Histogram
✓ เราจะซื้อ หรือ Buy ต่อเมื่อเส้น 2 เส้นตัดขึ้น
✓ เราจะขาย หรือ Sell ต่อเมื่อเส้น 2 เส้นตัดลง
ให้สังเกตเมื่อเส้น 2 เส้นตัดเมื่อไหร่เราสามารถพิจารณาออกออเดอร์ได้
กว่าจะเกิดสัญญาณซื้อ-ขาย จะทำให้ “ออกออเดอร์ช้าเกินไปรึเปล่า”
จะมีคำถามเข้ามาตลอดเกี่ยวกับอินดิเคเตอร์ประเภท Moving Average เพราะบางคนจะสังเกตว่าอินดิเคเตอร์ประเภทนี้กว่าจะเกิดสัญญาณต้องรอให้มั่นใจและเกิดแนวโน้มนั้นจริง ๆ ถึงจะเกิดสัญญาณขึ้น และบางครั้งพอเข้าออเดอร์แล้วราคาก็เปลี่ยนทิศทางไปแล้ว ทำให้ต้อง Cut Loss ในออเดอร์นั้นไปเลย
*ข้อแนะนำ* เทรดเดอร์ต้องสังเกตว่า เรากำลังเทรดใน Time Frame ไหนอยู่ บางคนใช้ MACD ใน Time Frame ที่สั้นเกินไป เช่น TF M1 / M5 / M15 เมื่อใจเราจะเทรดใน TF สั้นแบบนี้ แสดงว่าการเทรดของเราจะเป็นสไตล์ Scalping กินกำไรสั้น ๆ ไม่ได้ดูแนวโน้มของราคา แต่เราต้องทำความเข้าใจว่า MACD เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ควบคู่กับเทรนด์ ดังนั้น การเทรดใน TF สั้น ๆ จะไม่เหมาะนะครับ
ตัวอย่างการซื้อ (Buy)
ตัวอย่างการเข้าซื้อ ให้หาเส้น 2 เส้นที่อยู่ด้านล่าง และดูการตัดขึ้น เมื่อตัดขึ้นแล้ว เราสามารถเข้าซื้อได้ วาง S/L ไว้ที่ Low หากหลุดโลว์เราจะปล่อยทันที และตั้ง Target Price ไว้ที่แนวต้าน (เทรดเดอร์บางคนออกออเดอร์เมื่อเส้น MACD ตัดลง … อันนี้ตามแต่สะดวกครับ)
ตัวอย่างการขาย (Sell)
มองหาการตัดลงของเส้น MACD เมื่อตัดลงแล้ว เปิดออเดอร์ Sell ให้ตั้ง Stop Loss ที่ราคา High ก่อนหน้า และ Target Price ที่แนวรับ ในตัวอย่างผมหาอันที่มันลงไปถึง Target Price (1) และ (2) ได้ เทรดเดอร์บางท่านจะออกเมื่อ MACD ตัดขึ้น (แต่ส่วนตัวผมจะวาง Target Price ตามแนวรับเอาครับ)
ข้อแนะนำ
✓ ใช้ใน Time Frame ใหญ่หน่อย เพื่อดูแนวโน้มราคาได้ดีขึ้น
✓ เลือกคู่เงิน หรือ หุ้นที่ไม่ได้มีความผันผวนมากนัก เพราะผลิตภัณฑ์ที่มีความผันผวนในวันมาก จะได้กำไรจากการเทรดสั้นในวันมากกว่า ดังนั้น หากเทรดในตลาด Forex ให้หาคู่เงินที่มีความผันผวนน้อยกว่าคู่หลัก ๆ หากในตลาดหุ้น หลีกเลี่ยงหุ้นเก็งกำไรในวัน
✓ ตั้ง Stop Loss และ Target Price สำหรับทุกออเดอร์
✓ แนะนำอ่านเพิ่มเติมเรื่องแนวรับแนวต้านที่นี่
เป็นไงกันบ้างครับสำหรับอินดิเคเตอร์ MACD น่าจะเหมาะกับคนที่เทรดยาว ๆ หน่อย หวังว่าทุกคนจะชอบบทความนี้นะครับ