Green Bond คืออะไร
เทรนด์รักษ์โลกยังคงมาแรง หลายคนเห็นถึงความสำคัญปัญหาภาวะโลกร้อน และอยากมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาโลกของเราให้ดียิ่งขึ้น จึงมี Green Bond เกิดขึ้น หรือที่เรียกว่า ‘ตราสารหนี้สีเขียว’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ESG Bond หรือเรียกอีกอย่างว่า ‘ตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม’
ผู้ออก Green Bond อาจเป็นได้ทั้ง ภาครัฐบาล ภาคเอกชน หรือสถาบันการเงิน ที่ต้องการระดมทุนเพื่อโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น โครงการพลังงานหมุนเวียน การบำบัดน้ำเสีย การจัดเก็บขยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การขนส่งด้วยพลังงานสะอาดเป็นต้น
Green Bond ช่วยยกระดับภาพลักษณ์องค์กร ดึงดูดนักลงทุนกลุ่มที่ให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อม และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ส่วนนักลงทุนก็มีสิทธิได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจและมีความภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
กระแส Green Bond ในต่างประเทศ
Green Bond ได้รับความนิยมจากนักลงทุนอย่างล้นหลามเมื่อเทียบกับหุ้นกู้แบบปกติ มูลค่าการออก Green Bond ทั่วโลกเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง มูลค่าสะสมในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 อยู่ที่ 55 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงแซงหน้ามูลค่าสะสมของทั้งปี 2563 ที่ 2.48 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทิศทาง Green Bond ในอาเซียน
ตลาด Green Bond ในอาเซียนมีสัดส่วนราว 2-3% ของมูลค่าการออก Green Bond ของโลก เพราะประเทศในอาเซียนเพิ่งเริ่มออก Green Bond เป็นครั้งแรกเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา แต่ในประเทศต่าง ๆ เริ่มมาเป็น 10 ปีแล้ว
แต่มูลค่าการออก Green Bond ในอาเซียนเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะชะลดตัวลงบ้างเนื่องจาก covid-19
- สิงคโปร์ เสนอขาย Green Bond ที่มีอายุ 50 ปี มูลค่าระดมทุนประมาณ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำเงินระดมทุนมาใช้ต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็ได้รับความสนใจซื้อจองเป็นจำนวนมากเช่นกัน
- อินโดนีเซียในการออกตราสารหนี้อิสลามสีเขียว (Green Sukuk) ในปี 2561 มูลค่า 1.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อระดมทุนไปใช้ลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- มาเลเซีย เริ่มมีการออก Green sukuk มาตั้งแต่ปี 2017 ส่วนใหญ่เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
Green Bond ในไทย
สำหรับประเทศไทยตลาด Green Bond เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง มูลค่าการออก Green Bond ในปี 2563 อยู่ที่ 1,039 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นราว 20% จากปีก่อน การออก Green Bond ส่วนใหญ่มาจากภาคเอกชนเป็นหลัก เช่น
- บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ได้ออกหุ้นกู้เพื่อโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ-ใต้ มูลค่ารวม 1.3 หมื่นล้านบาท
- บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ได้ออกหุ้นกู้เพื่อโครงการพลังงานหมุนเวียน
- บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ออกหุ้นกู้มูลค่ารวม 1 หมื่นล้านบาทเพื่อใช้ในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม
Reference : LINK