CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: ตัดเกรดงบประมาณด้านเศรษฐกิจปี 67 ตรงไหนปัง ตรงไหนพัง
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Opinion > ตัดเกรดงบประมาณด้านเศรษฐกิจปี 67 ตรงไหนปัง ตรงไหนพัง
Opinion

ตัดเกรดงบประมาณด้านเศรษฐกิจปี 67 ตรงไหนปัง ตรงไหนพัง

CTD admin
Last updated: 2024/03/12 at 9:32 AM
CTD admin Published January 21, 2024
Share

ในฐานะประชาชนไทยคนหนึ่ง ผู้เขียนมักจะมีคำถามเสมอว่า “ภาษีเราไปไหน?” ซึ่งคำตอบคร่าว ๆ ที่เราพอจะหาได้ ก็จะอยู่ร่างในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่สำนักงบประมาณจัดทำขึ้นทุกปี และสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างดุเด็ดเผ็ดร้อนไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

และถึงแม้ตัวงบประมาณประจำปีของไทยจะซับซ้อน รายละเอียดเยอะ แต่ในช่วง 3-4 ปีหลัง สำนักงบประมาณได้จัดทำงบประมาณเพื่อประชาชน ซึ่งได้ย่อยข้อมูลหนาปึ้กหลายสิบเล่มที่บรรดา สส. ต้องศึกษากันก่อนอภิปราย มาเป็นอินโฟกราฟิกเข้าใจง่าย ทำให้เราพอเห็นภาพชัดขึ้นว่าภาษีเราไปไหน ช่วยใครบ้าง

และในบทความนี้ ผู้เขียนจะเลือกดูงบประมาณด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในเอกสารงบประมาณปี 2567 แล้วจะพยายาม “ตัดเกรด” ว่างบประมาณด้านไหน “ปัง” หรือ “พัง” บ้างครับ

คมนาคมและโลจิสติกส์ (123,447 ล้านบาท) : B

นี่น่าจะเป็นส่วนที่งบประมาณจัดออกมาได้ค่อนข้างสมเหตุสมผล เพราะโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่ดี ย่อมนำมาสู่เศรษฐกิจที่แข็งแรงในอนาคต โดยในงบส่วนนี้มีทั้งงบการพัฒนาสนามบิน 14 แห่ง รวมถึงรถไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่งของประเทศในอนาคตได้แน่นอน นอกจากนี้ ยังมีงบพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์อีก 2,600 คน ถือว่าเป็นการปูรากฐานของประเทศได้ไม่เลว

แต่ส่วนที่ขัดใจผู้เขียนเล็กน้อย น่าจะเป็นงบพัฒนาทางหลวงแผ่นดิน รวมถึงทางพิเศษส่วนต่อขยายต่าง ๆ ระยะทางรวมกว่า 3,500 กิโลเมตร ซึ่งมีคำถามว่า การสร้างถนนเพิ่ม ในประเทศที่โครงข่ายถนนค่อนข้างดีอยู่แล้วอย่างไทย ประชาชนจะได้ประโยชน์แค่ไหน แทนที่จะนำงบไปพัฒนาขนส่งมวลชน เช่น รถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะตอบโจทย์ทั้งการลดรายจ่ายประชาชน ลดต้นทุนการขนส่ง และประหยัดเวลาการเดินทางได้ดีกว่า

การท่องเที่ยว (7,384 ล้านบาท) : B

ในส่วนงบพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจสำคัญอีกตัวของไทย สิ่งที่น่าชื่นชมคือการให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยววิถีชุมชนผ่านการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว OTOP และการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนรวมถึงการท่องเที่ยวลดคาร์บอน ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์โลกที่การตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมดีขึ้นเรื่อย ๆ

แต่ก็มีงบประมาณบางรายการที่ผู้เขียนก็ยังมีคำถาม เช่น งบประมาณจัดการแข่งขันโมโต้จีพี ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าการแข่งขันดังกล่าวมีผู้ชมมากมาย และสร้างรายได้ให้กับประเทศไม่น้อย แต่ก็มีคำถามตามมาว่า การแข่งขันที่สร้างเม็ดเงินมหาศาลอย่างโมโต้จีพีจำเป็นต้องรับการอุดหนุนจากรัฐอีกหรือไม่ และงบประมาณจุดนี้เป็นการ “เอื้อ” ประโยชน์ให้แก่บุรีรัมย์ สถานที่ตั้งของสนามช้าง อินเตอร์แนชันแนล เซอร์กิต มากเกินไปหรือเปล่า

เขตเศรษฐกิจพิเศษ (8,560 ล้านบาท) : D

งบประมาณด้านนี้ ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC หนึ่งในโครงการเรือธงของรัฐบาลประยุทธ์ ที่รัฐบาลเพื่อไทยเลือกจะสานต่อ

คือถ้าพลิกดูเนื้อในของงบประมาณส่วนนี้แบบเผิน ๆ ก็อาจดูไม่มีปัญหานัก เพราะมีทั้งงบการถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงการก่อสร้างโรงพยาบาล ศูนย์การแพทย์ และด่านศุลกากรในเขต EEC

แต่ผู้เขียนมีคำถามว่า การลงทุนใน EEC มึความคุ้มค่าจริงหรือ ต่างชาติเข้ามาลงทุนมากจริงไหม อุตสาหกรรมในประเทศไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างชาติมากแค่ไหน ประเทศต้องสูญเสียรายได้จากการยกเว้นภาษีและให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนต่างชาติไปเท่าไร และประชาชนในพื้นที่ EEC ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้จริงหรือเปล่า

ซึ่งคำถามเหล่านี้เป็นสิ่งที่ค้างคาใจตั้งแต่สมัยรัฐบาลประยุทธ์ มาจนถึงรัฐบาลเศรษฐา และการยังเติมงบต่อเนื่องไปให้โครงการที่มีแต่เครื่องหมายคำถามนี้ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจะถูกใจผู้เขียนเท่าไร

ส่งเสริม SMEs (8,700 ล้านบาท) : F

ปัจจุบัน SMEs ของไทยมีมูลค่ารวมกันราว 6.44 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของ GDP ทั้งประเทศ แต่การจัดสรรงบประมาณในการส่งเสริม SMEs เพียงราว ๆ 0.2% ของงบประมาณทั้งหมด เป็นการสะท้อนชัดเจนว่า ประเทศไทยแทบไม่ได้ให้ความสำคัญกับอีกหนึ่งเครื่องยนต์สำคัญนี้เลย

ปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อที่เป็นปัญหาเรื้อรังของ SMEs ไทย แทบไม่ได้รับการแก้ไขผ่านงบประมาณ โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ซึ่งควรจะเป็น “ที่พึ่ง” ของ SMEs ที่เข้าไม่ถึงแหล่งทุนจากธนาคารพาณิชย์ กลับได้รับการจัดสรรงบประมาณเพียง 340 ล้านบาท ในขณะที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ซึ่งควรมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา SMEs กลับได้รับงบประมาณเพียง 18 ล้านบาท

ก็คงไม่เกินเลยไปนักที่จะบอกว่าการจัดสรรงบประมาณตรงส่วนนี้ “สอบตก” อย่างแรง และ SMEs ไทยก็คงต้องปากกัดตีนถีบต่อไปโดยหวังพึ่งภาครัฐไม่ได้

การเกษตร (50,000 ล้านบาท) : C

นี่เป็นงบประมาณส่วนที่การจัดสรรไม่แย่ เพราะเน้นไปทั้งการพัฒนาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ การเกษตรเชิงรุก และลดต้นทุนการผลิต โดยส่วนที่ขัดใจผู้เขียนน่าจะเป็นการพักหนี้เกษตรกร เพราะไม่ได้ตอบโจทย์การแก้ปัญหาของเกษตรกรอย่างยั่งยืนนัก

แต่คำถามที่ใหญ่กว่าคือ ประเทศไทยจำเป็นต้องสนับสนุนการเกษตรมากขนาดนั้นหรือไม่ เพราะในรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบสากลโลก เศรษฐกิจของประเทศควรยกระดับจากภาคส่วนที่มูลค่าเพิ่มต่ำ เช่น ภาคการเกษตร ไปสู่ภาคส่วนที่มูลค่าเพิ่มมากขึ้นเช่น ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการต่อไป

แต่กลายเป็นว่างบประมาณปี 67 กลับให้งบประมาณภาคการเกษตรมากกว่างบประมาณ SMEs และท่องเที่ยว (ภาคบริการ) รวมกันเสียอีก จึงมีคำถามว่าการจัดสรรงบประมาณเช่นนี้จะทำให้ประเทศพัฒนาถอยหลังหรือไม่ และรัฐบาลเพื่อไทยเลือกจะโอบอุ้มฐานเสียงของตน มากกว่า “มองไกล” ถึงการพัฒนาประเทศในระยะยาวหรือเปล่า

พัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต (3,900 ล้านบาท) : F

นี่คือการจัดสรรงบประมาณเศรษฐกิจในส่วนที่น่าผิดหวังที่สุด เพราะนอกจากตัวงบประมาณที่ได้จะต่ำเตี้ยเรี่ยดินเพียงประมาณ 0.1% ของงบประมาณทั้งหมดแล้ว บางรายการยังเหมือนตามเทรนด์ไม่ทัน เช่น โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเมตาเวิร์ส ซึ่งถึงแม้กระแสเมตาเวิร์สจะแรงมากในช่วงโควิดระบาด แต่หลังจากนั้นต้องเรียกว่า “เอาท์” ไปแล้ว

และอย่างที่กล่าวไปข้างต้น หากประเทศไทยต้องการขยับไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้น การจัดสรรงบประมาณเพียงหยิบมือเพื่อสร้าง “อนาคต” ให้ประเทศ ก็ต้องบอกว่าอนาคตของไทยริบหรี่เสียเหลือเกิน

ดิจิตัลวอลเล็ต (0 บาท) : F

หนึ่งในนโยบายที่เพื่อไทยหวังว่าจะเป็น “หมัดเด็ด” เพื่อแลนด์สไลด์ แต่อาจกลับกลายเป็น “หมัดน็อค” ที่จะทำให้เพื่อไทยเสียความนิยมเสียเอง เนื่องจากแหล่งเงินในการทำโครงการนี้ที่ทางเพื่อไทยยืนยันมั่นเหมาะก่อนเลือกตั้งว่าจะ “ไม่กู้” และจะใช้งบประมาณประจำปี กลายเป็นว่างบประมาณก็ไม่พอที่จะทำโครงการนี้ และเพื่อไทยต้องดิ้นรนหาแหล่งเงิน เริ่มจากจะใช้ช่องทางจากแบงค์รัฐ ซึ่งก็ถูกปิดตายไป จนล่าสุดน่าจะจบในรูปของการ “กู้” ตามที่หลายคนปรามาสไว้

งบส่วนนี้อาจไม่ได้สะท้อนความล้มเหลวของการจัดสรรงบประมาณ แต่เป็นการสะท้อนความล้มเหลวของพรรคเพื่อไทยในการรักษาสัจจะกับสาธารณชนมากกว่า

ถ้าจะสรุปสั้น ๆ ถึงการจัดสรรงบประมาณด้านเศรษฐกิจในปี 2567 ก็ต้องบอกว่า “ผิดหวัง แม้จะไม่ได้คาดหวัง” เพราะแทบไม่มีส่วนไหนของการจัดสรรที่ทำให้เราเห็นถึงวิสัยทัศน์ของประเทศในการสลัดตัวจากกับดักรายได้ระยะปานกลางเลย

เขียนโดย ธนากร ไพรวรรณ์

You Might Also Like

วัดกำลังอสังหาฯ ยามพบศึกหนัก แผ่นดินไหว vs สงครามการค้า บ้านแนวราบโต แต่ตลาดคอนโดตึกสูงสั่นคลอน

ไม่ใช่แค่แรงงานไทยมักง่าย แต่นายจ้างเกาหลีก็อยากได้ผีน้อย

ไม่เอาแอปจีน! รัฐเท็กซัสประกาศแบนทั้ง DeepSeek, RedNote, Lemon8 

แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2568 คาดยอดจัดส่งรถยนต์ EV โต 17%

TAGGED: ภาษี, เศรษฐกิจปี 67

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
CTD admin January 21, 2024
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article เกาหลีใต้ผงาดท้าวงการการ์ตูนโลก มันฮวา-Webtoon คลื่นลูกใหม่ที่มีผู้อ่านกว่าเดือนละ 85 ล้านบัญชีทั่วโลก
Next Article ส่องโมเดล “กระตุ้นการเพิ่มประชากรแบบญี่ปุ่น” แรงจูงใจต้องมี สวัสดิการต้องถึง คนจึงอยากมีลูก
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?