CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: พาไปดู เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต่างประเทศเขาแจกกันยังไง
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Opinion > พาไปดู เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต่างประเทศเขาแจกกันยังไง
Opinion

พาไปดู เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต่างประเทศเขาแจกกันยังไง

korlajeshop@gmail.com
Last updated: 2024/03/12 at 4:36 PM
[email protected] Published August 18, 2023
Share

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุกลายมาเป็นประเด็นสังคมเมื่อล่าสุดช่วงวันแม่ กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ออกระเบียบใหม่ของการแจกเบี้ยผู้สูงอายุ กำหนดให้ต้องพิสูจน์ความจน เพื่อรับเบี้ยยังชีพจากรัฐ จากเดิมที่เป็นสวัสดิการแบบถ้วนหน้า เพียงแค่ปีอายุ 60 ปีขึ้นไป ก็จะได้รับเบี้ยโดยต้องไม่ทับซ้อนกับสวัสดิการอื่นจากรัฐ เหล่านักการเมืองแสดงความคิดเห็นดือดถึงประเด็นนี้ว่าเป็นการลักไก่ของรัฐบาล ลดงบประมาณเพราะหาเงินไม่ได้ เป็นการจัดสรรค์งบประมาณที่ไม่เป็นธรรม จะทำให้ผู้สูงอายุเข้าถึงสิทธิ์ประโยชน์นี้ได้น้อยลง แต่ถึงอย่างไร ระเบียบใหม่นี้ยังต้องรอหลักเกณฑ์ที่แน่ชัดจากคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติออกมา เพื่อให้องค์กรส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ใช้ในการจ่ายให้กับผู้สูงอายุในท้องที่

โดยในวันนี้ Connect the Dots จะพาไปดูหลักเกณฑ์และสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในต่างประเทศว่าเขาจ่ายอย่างไร ได้เท่าไร แตกต่างกับไทยอย่างไรบ้าง

ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีประชากรผู้สูงอายุ 15.8% จากประชาการทั้งหมด 23 ล้านคน โดยออสเตรเลียถือว่าเป็นหนึ่งประเทศที่มีสวัสดิการที่ดี ในส่วนของการดูแลผู้สูงอายุจะมาจากเงินภาษีที่จ่ายตอนยังทำงานอยู่ รัฐจ่ายเบี้ยชราภาพให้โดยจำแนกตามประเภทคนชราโสดและมีคู่ ซึ่งถ้าโสดจะได้รับเบี้ยมากกว่าอยู่ที่ 1,064 ดอลลาร์สหรัฐต่อสองสัปดาห์ มีค่าพลังงานอีก 14.1 ดอลลาร์ ซึ่งตามระเบียบล่าสุดก็มีบวกเพิ่มให้อีก 37.5 ดอลลาร์ต่อสองสัปดาห์ รวม ๆ แล้วได้ประมาณปีละ 27,664 บวกเพิ่มกับอีก 975 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ถ้าเป็นคู่จะได้รวมกัน 1,604 ดอลลาร์และค่าพลังงาน 21.2 ดอลลาร์ บวกเพิ่มอีก 56.4 ดอลลาร์ต่อสองสัปดาห์ ทำให้รวมแล้วได้ปีละประมาณ 40,174 บวกกับอีก 1,466.4 ดอลลาร์

โดยเกณฑ์ในการจ่ายเบื้องต้นคือต้องเป็นประชากรอาศัยอยู่ในออสเตรเลียไม่ต่ำกว่า 10 ปี โดยอย่างน้อย 5 ปีจะต้องไม่ไปอาศัยอยู่ที่อื่น มีอายุตั้งแต่ 65-67 ปี ขึ้นไป และนอกจากนี้ก็มีเรื่องการพิสูจน์รายได้และทรัพย์สินคล้าย ๆ กับระเบียบใหม่ของไทย คือ ถ้าเป็นคนโสดต้องมีรายได้ไม่เกิน 2,332 ดอลลาร์ต่อสองสัปดาห์ และรายได้ทุกดอลลาร์ที่เกินจาก 204 ดอลลาร์ต่อสองสัปดาห์ จะถูกคิดมาหักเบี้ยชราภาพที่ได้ 50 เซนต์ต่อหนึ่งดอลลาร์ ถ้าไม่เกิน 204 ดอลลาร์ต่อสองสัปดาห์ ก็ไม่หักเลย ถ้าเป็นคู่อาศัยอยู่ด้วยกันจะต้องมีรายได้รวมต่อสองสัปดาห์ไม่เกิน 3,568 ดอลลาร์ ส่วนที่เกินจาก 360 ดอลลาร์จะถูกหักจากเบี้ยชราภาพ 50 เซนต์ต่อหนึ่งดอลลาร์ หากไม่เกิน 360 ดอลลาร์ก็จะไม่ถูกหักเลย
ซึ่งรายได้เฉลี่ยของออสเตรเลียอยู่ที่ประมาณคนละ 2,500 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อสองสัปดาห์ นั่นหมายความว่า ถ้ามีรายได้ต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยก็เข้าเกณฑ์ได้รับเบี้ยแล้ว

และในส่วนของการประเมินรายได้ คนชราโสดที่มีบ้านเป็นของตัวเอง มีทรัพย์สินไม่เกิน 301,750 ดอลลาร์สหรัฐ หากไม่มีบ้านเป็นของตัวเองอยู่ที่ 543,750 ดอลลาร์สหรัฐ คนชราที่อยู่เป็นคู่ หากมีบ้าน ต้องมีทรัพย์สินรวมไม่เกิน 451,500 ดอลลาร์สหรัฐ หากไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ไม่เกิน 693,500 ดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากเงินเบี้ยชราภาพแล้ว ผู้ได้รับสิทธิ์สามารถได้รับสิทธิประโยชน์อื่น ๆ จากทากรัฐอีกด้วย ทั้งด้านส่วนลดการรักษาพยาบาล การดูแลด้านสุขภาพ เงินสนับสนุนผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล เงินสนับสนุนผู้ดูแล ฯลฯ

มาดูสวีเดน ประเทศที่ได้ขึ้นชื่อว่าสวัดิการรัฐดีที่สุดในโลกบ้าง ปัจจุบันสวีเดนมีผู้สูงอายุ 19.9% จากจำนวนประชากรกว่า 10 ล้านคน จริง ๆ สวีเดนเป็นประเทศที่สนับสนุนให้ทุกคนเตรียมพร้อมสำหรับการเกษียณและใช้ชีวิตในยามชราด้วยตนเองได้อยู่แล้ว จึงมีกองทุนบำนาญมากมาย แต่แน่นอนว่ารัฐก็มีสวัสดิการที่มาช่วยเหลืออย่างเต็มที่

ในส่วนสวัสดิการของผู้สูงอายุ ที่เริ่มได้รับได้ตั้งแต่อายุ 62 ปีขึ้นไป แต่จะได้เงินบำนาญรับรอง (Guarantee Pension) เมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไปเท่านั้น และต้องอาศัยอยู่ที่สวีเดนเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 40 ปี แต่ถ้าอยู่น้อยกว่านั้นจะได้บำนาญส่วนนี้น้อยลง และตอนที่รับสิทธิ์จะต้องอยู่ในสวีเดนอย่างน้อย 3 ปี หรือประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรป (EEA) แต่ต้องอยู่ในสวีเดนอ่างน้อย 1 ปี ยังมีบำนาญรายได้ ที่จะหัก 16% ของรายได้ต่อปี สมทบกับเงินจากนายจ้างด้วย รวมทั้งภาษีอื่น ๆ ที่จะถูกนำมาจ่ายให้หลังเกษียณ ขึ้นอยู่กับรายได้แต่ละคน อาจจ่ายให้ตั้งแต่เดือนละ 10,000-22,500 โคโรนา สำหรับผู้ที่ไม่เข้าข่ายได้รับบำนาญใด ๆ เลยแต่เป็นพลเมืองสวีเดน ก็มีการสนับสนุนด้านการจัดหาที่อยู่และการเงินผู้สูงอายุ ซึ่งจะได้รับเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป โดยจำนวนเงินที่ได้ก็จะขึ้นอยู่กับรายได้ ทรัพย์สิน ค่าที่อยู่ และไม่ใช่แค่เงินเท่านั้น แต่ทางรัฐจะดูแลเรื่องสุขภาพ การรักษาโรคตามเงื่อนไขของแต่ละเขต การจัดหาที่อยู่อาศัย รวมถึงบางครอบครัวจะได้เงินสนับสนุนในการดูแลผู้สูงอายุด้วย ด้วยเงื่อนไขที่น้อยมาก ๆ ก็ทำให้สวัสดิการของรัฐเข้า ถึงประชากรได้ 100% และประชาชนก็พร้อมที่จะจ่ายภาษีเกือบ 50% ของรายได้ เพราะสุดท้ายแล้วอย่างไรรัฐก็จะตอบแทนและดูแลพวกเขาอย่างดี

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขึ้นแท่นสังคมผู้สูงอายุ มีประชากรผู้สูงอายุถึง 28.2% จากจำนวนประชากร 126.8 ล้านคน เป็นที่ 1 ของโลก โดยคนญี่ปุ่นอายุตั้งแต่ 20-59 ปี ทุกคนจะต้องจ่ายเงินค่าประกันตน เพื่อเป็นบำนาญพื้นฐานจ่ายในกรณี พิการ ชรา หรือเสียชีวิต จ่ายประมาณคนละ 16,520 เยนต่อเดือน จ่ายต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปี เมื่ออายุ 65 ปีจะได้รับเงินบำนาญส่วนนี้ราวปีละ 795,000 บวกลบตามเงินสมทบที่จ่าย รายได้ การยกเว้นการจ่ายจากเงื่อนไขพิเศษอื่น ๆ ซึ่งสามารถขอรับบำนาญเร็วขึ้นตั้งแต่อายุ 60 ปีเลยก็ได้ แต่จะได้น้อยลง เพียง 76% ของเรตที่จะได้ หรืออาจชะลอการรับบำนาญไปเมื่ออายุ 75 ปี ก็จะได้รับเพิ่มขึ้นเป็น 184% ของเงินที่จะได้หากเริ่มรับตอนอายุ 65 ปี และนอกจากนี้ยังมีแผนบำนาญเสริมที่ให้เลือกจ่ายเพิ่มอีก 400 เยนต่อเดือนเพื่อตอนรับบำนาญจะได้เรตต่อปีคือ 200 เยนคูณด้วยจำนวนเดือนที่จ่ายเพิ่มมาเพิ่มเติมคือมีประกันการดูแลระยะยาว (Long-Term Care Insurance) ที่ญี่ปุ่นได้นำมาใช้ตั้งแต่ปี 2000 เป็นสวัสดิการส่งเสริมคุณภาพและดูแลชีวิตผู้สูงอายุแบบระยะยาว ที่ดูแลตั้งแต่กลุ่มผุ้มีอายุตั้งแต่ 40-64 ปี และ 65 ปีขึ้ไป โดยงบประมาณในส่วนนี้จะได้รับการสับสุจากภาครัฐครึ่งหนึ่งและอีกครึ่งหนึ่งหักจากเงินบำนาญกับเงินจ่ายเบี้ย นอกจากนี้ยังมีการจัดหางาที่เหมาะสมให้กับผุ้สูงอายุ ซึ่งแม้จะมีรายได้ต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยแต่ยังช่วยให้ผู้สูงอายุได้มีอะไรทำ เป็นประชากรกลุ่มที่ยังมีศักยภาพในการขับเคลื่อนสังคมต่อไปได้

ในภาพรวมเราจะเห็นได้ว่าแต่ละประเทศมีระเบียบและหลักเกณฑ์ในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแตกต่างกันไป แต่หัวใจสำคัญอาจไม่ใช่มากน้อยแค่ไหน อยู่ที่ความครอบคลุมและเข้าถึงประชากรผู้สูงอายุให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ใจว่าจะไม่มีใครถูกทิ้งในวันและในวัยที่ลำบาก ทั้งนี้การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุของไทยจะยังเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม จนกว่าหลักเกณฑ์ใหม่จะออกมา ซึ่งทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ก็ชี้ว่างบประมาณสำหรับเบี้ยผู้สูงอายุในปีหน้าต้องปรับเพิ่มเป็น 110,000 ล้านบาท เพื่อให้เพียงพอ แต่เรื่องหลักเกณฑ์ใหม่ที่จะใช้ยังไม่ได้มีการกำหนดให้ทางคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเคาะออกมา เพราะเป็นเรื่องที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาร่วมพิจารณาด้วย ซึ่งก่อนเลือกตั้งได้เห็นนโยบายที่หลายพรรคชูไว้ว่าจะเพิ่มเบี้ยให้ถึง 3,000-4,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่ตอนนี้จ่ายกันแค่หลักร้อย ต้องคอยติดตามว่า รัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นพรรคไหนบ้าง จะทำได้ตามที่สัญญาไว้กับประชาชนหรือไม่

You Might Also Like

วัดกำลังอสังหาฯ ยามพบศึกหนัก แผ่นดินไหว vs สงครามการค้า บ้านแนวราบโต แต่ตลาดคอนโดตึกสูงสั่นคลอน

ไม่ใช่แค่แรงงานไทยมักง่าย แต่นายจ้างเกาหลีก็อยากได้ผีน้อย

ไม่เอาแอปจีน! รัฐเท็กซัสประกาศแบนทั้ง DeepSeek, RedNote, Lemon8 

แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2568 คาดยอดจัดส่งรถยนต์ EV โต 17%

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
[email protected] August 18, 2023
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article เคยไปเที่ยวญี่ปุ่นหรือยัง? แหกดรามา ญี่ปุ่นยืนที่ 1 จุดหมายท่องเที่ยวของคนไทย เที่ยวปีละหลายแสนคนจนเคยแตะหลักล้าน
Next Article สำรวจ 2 ธุรกิจ “ชินวัตร” อสังหาฯ-ร.พ. ในตลาดหุ้นไทย เป็นอย่างไรในวันที่ทักษิณกลับบ้าน
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?