CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: บทเรียนจากซากปรักหักพังหลังจบ “สงครามฟาสต์ฟู้ด” ลดแหลกสะใจ สุดท้ายคุ้มไหม?
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Opinion > บทเรียนจากซากปรักหักพังหลังจบ “สงครามฟาสต์ฟู้ด” ลดแหลกสะใจ สุดท้ายคุ้มไหม?
Opinion

บทเรียนจากซากปรักหักพังหลังจบ “สงครามฟาสต์ฟู้ด” ลดแหลกสะใจ สุดท้ายคุ้มไหม?

CTD admin
Last updated: 2024/10/01 at 8:44 AM
CTD admin Published May 31, 2024
Share

ก่อนหน้านี้เพิ่งมีปรากฏการณ์ทางการตลาดอาหารฟาสต์ฟู้ดเกิดขึ้นในไทย เมื่อเหล่าแบรนด์ใหญ่อย่าง เดอะพิซซ่า คอมปะนี (The Pizza Company), พิซซ่า ฮัท (Pizza Hut) และ เบอร์เกอร์คิง (Burger King) ห้ำหั่นกันด้วยโปรโมชันลดราคากระหน่ำ แม้ทั้งหมดหวังสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับแบรนด์ แต่กลับมีผลข้างเคียงหลายอย่างตามมาด้วย และเมื่อสงครามสงบลง ท่ามกลางซากปรักหักพังเหลือบทเรียนอะไรทิ้งไว้ให้เราเรียนรู้กันบ้าง 

วันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา เมื่อพิซซ่าคอมปะนีจัดโปรโมชันหนึ่งวัน “พิซซ่า 99 บาท” ก็นับเป็นการจุดชนวนสงครามอาหารฟาสต์ฟู้ดขึ้น โดยในตอนแรกมันเริ่มที่สงครามพิซซ่าก่อน เพราะเพียงหนึ่งวันหลังจากนั้น แบรนด์คู่ปรับตัวฉกาจ พิซซ่าฮัท ก็ประกาศโปรโมชันคล้ายกันออกมา แต่ถูกกว่า 1 บาท ในโปรโมชัน “98 บาท” และยังจัดต่อเนื่องถึง 2 วัน พร้อมเงื่อนไขที่ต่างกันเล็กน้อย แต่ช่วยให้ได้เปรียบคู่แข่งอย่างมาก

“พิซซ่าคอมปะนีวางกับดักตัวเอง” จะพูดแบบนี้ก็คงไม่ผิด ไม่รู้เพราะความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ แต่เงื่อนไขการซื้อพิซซ่าในโปรโมชันของพิซซ่าคอมปะนีไม่ได้มีการกำหนดจำนวนถาดต่อคำสั่งซื้อเอาไว้ ซึ่งนั่นคือจุดเล็ก ๆ ที่จะนำไปสู่หายนะครั้งใหญ่ในแคมเปญนี้ เพราะทำให้ลูกค้าหนึ่งคนจะสั่งกี่ถาดก็ได้ นอกจากจะมีลูกค้าที่ทั้งสั่งไปตุนหลายถาด ก็ยังมีลูกค้าที่สั่งไปเลี้ยงพนักงานหลายสิบถาด และที่มากกว่านั้นคือรับหิ้วพิซซ่าเป็นร้อยถาด! นั่นทำให้คนที่ไปต่อคิวรอเป็นร้อยต้องรอนานและมีคนที่ไม่ได้พิซซ่ากลับบ้านในวันนั้น บางคนก็ต้องรอมารับวันหลัง แม้ในเพจแบรนด์จะออกตัวไว้ว่า “เราเตรียมแป้งพิซซ่าให้ทุกคนไว้เพียงพอแน่นอน ไม่มีหมดครับ” และ “ลดแรงขนาดนี้..ซื้อแค่ถาดเดียวจะไหวเหรอออ?? ถ้าซื้อแค่นี้..ระวังจะคุยกับเค้าไม่รู้เรื่องนะ!!”

พอตัวเปิดสะดุดล้มให้ดูเป็นตัวอย่าง พิซซ่าฮัทจึงตัดสินใจปิดปากหลุมกับดักเดิมที่พิซซ่าคอมปะนีเหยียบไป จำกัดจำนวนไม่เกิน 5 ถาดต่อคำสั่งซื้อ และมีการเปิดให้สั่งจองออร์เดอร์ล่วงหน้าก่อนหนึ่งวันผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และเบอร์โทรศัพท์ของพิซซ่าฮัท เพื่อให้แต่ละสาขาได้มีการเตรียมสินค้าเอาไว้ให้เพียงพอ แต่แม้จะคิดว่าพร้อมมากแค่ไหน พอเอาเข้าจริงก็อาจไม่ง่ายแบบนั้น

หลังประกาศโปรโมชันไปไม่นานระบบการสั่งซื้อของพิซซ่าฮัทก็ล่ม ทำให้ลูกค้าจำนวนมากไม่สามารถสั่งซื้อล่วงหน้าได้ และการรับมือกับจำนวนออร์เดอร์มหาศาลก็ไม่สามารถจัดการได้ดี ทำให้ลูกค้าบางส่วนที่ไปต่อคิวซื้อที่หน้าร้านไม่ได้รับสินค้าในวันนั้น ต้องนัดวันมารับทีหลังไม่ต่างจากที่พิซซ่าคอมปะนีต้องทำ รวมทั้งหลายสาขาก็ปิดรับออร์เดอร์เร็วมากด้วย

ในสงครามพิซซ่าทั้งสองแบรนด์ต่างโดนทัวร์ลูกค้าที่ได้รับความไม่สะดวกจากแคมเปญรุมทึ้งไม่ต่างกัน ในจังหวะนั้นที่ผู้บริโภคกำลังเฝ้ารอว่าอีกแบรนด์ดังอย่าง โดมิโน พิซซ่า (Domino’s Pizza) จะเข้ามาฉวยโอกาสตอนไหน แต่กลายเป็นว่าโดมิโนเลือกที่จะเมินเฉยต่อการทำสงครามด้วยแคมเปญที่สุดขั้วเกินไปแบบนี้ ขอเลือกที่จะจัดโปรโมชันที่สมเหตุสมผลเพื่อให้ลูกค้าประทับใจ 

แม้ดูเหมือนว่าสงครามกำลังจะจบลง ก็มีอีกแบรนด์เข้ามาทำให้มันไม่จบที่สงครามพิซซ่าอีกต่อไป แต่ลุกลามจนกลายเป็น “สงครามฟาสต์ฟู้ด” เมื่อ เบอร์เกอร์คิง ประกาศจัดโปรโมชัน “29 บาท” เฉพาะวันที่ 29 พฤษภาคม มีสินค้าที่ร่วมรายการทั้งเบอร์เกอร์หมู/ไก่ ไอศกรีมซันเดย์ เฟรนช์ฟรายส์ เทมปุระนักเก็ตส์ และแฮชพราวน์ ซึ่งเปิดให้สั่งทานที่ร้านและกลับบ้าน รวมถึงรับที่ร้าน (Self-Pick-up) ด้วย และแน่นอนว่าจากบทเรียนก่อนหน้า ทางแบรนด์ไม่ลืมที่จะจำกัดจำนวนสินค้าไม่เกิน 50 รายการต่อคำสั่งซื้อ 

เบอร์เกอร์คิงมีเวลานานกว่าพิซซ่าฮัทในการโต้ตอบด้วยโปรโมชัน ทำให้พยายามเตรียมการทุกอย่างไว้เป็นอย่างดี และด้วยลักษณะสินค้าที่ใช้เวลาทำน้อยกว่า ผลิตในปริมาณที่มากกว่าได้แล้ว ก็ดูเหมือนทุกอย่างน่าจะไปได้สวย 

แต่อย่างที่เขาว่า “สงครามนำมาซึ่งความสูญเสีย” สุดท้ายก็ไม่วายพบเจอชะตากรรมไม่ต่างกับสองแบรนด์ก่อนหน้า การรันออร์เดอร์ก็ยังไม่ดีพอที่จะผลิตเบอร์เกอร์และของทานเล่นปริมาณมหาศาลได้ในเวลาเพียงหนึ่งวัน จนต้องปิดรับออร์เดอร์ผ่านบริการรับที่ร้านไปในเวลาไม่กี่ชั่วโมง อีกทั้งยังมีปัญหาสต๊อกวัตถุดิบไม่เพียงพอจนเบอร์เกอร์หมดทุกสาขา ทำให้ลูกค้าหลายคนก็ต้องผิดหวังไป  แต่ในภาพรวมก็ยังถือว่าจัดการได้ค่อนข้างดีกว่าสองแบรนด์ก่อนหน้า (เพราะคนกดโกรธน้อยมากแหละ)

การตลาดแบบลดราคาลงมากจากปกติในช่วงเวลาที่จำกัด เป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความเร่งด่วนในการซื้อ ใช้เหตุและผลในการตัดสินใจน้อยลง เพราะคิดว่าอย่างไรก็คุ้มจึงมีแนวโน้มจะซื้อมากขึ้น ซึ่งแคมเปญของทั้งสามแบรนด์ให้ผลแบบนั้นจริง ๆ แถมยังสร้างการรับรู้ได้ดีจนเกิดเป็นไวรัลทั่วโซเชียลมีเดีย ได้โปรโมตจากสื่อเพิ่มฟรี ๆ โดยไม่ต้องจ่าย

ถึงอย่างนั้น นอกจากผลประโยชน์ที่แบรนด์เหล่านี้ได้ สิ่งที่สงครามนี้หลงเหลือไว้คือร่องรอยของคววามไม่พอใจของผู้บริโภคจำนวนมากที่ได้รับความไม่สะดวกจากโปรโมชัน โดยเฉพาะกับสองแบรนด์พิซซ่า ถ้าถามว่า “มันก็ทำให้ลูกค้าจำนวนมากพอใจไม่ใช่เหรอ” มันก็ใช่ แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่ามีคนที่ต้องผิดหวังไม่น้อย สังเกตได้เลยว่าคนที่มาชมและให้กำลังใจส่วนใหญ่คือคนที่ซื้อทันและรอไม่นานนัก พูดง่าย ๆ คือสร้างความประทับใจได้จริง แต่ก็สร้างประสบการณ์ที่ไม่ดีไว้ด้วยพอ ๆ กัน

อีกอย่างคือเสียงคร่ำครวญจากเหล่าทหารตัวเล็ก ๆ ที่รบอยู่ในสนามจริง พนักงานประจำหน้าร้าน ผู้ซึ่งต้องวุ่นทำออร์เดอร์จำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น เพื่อให้แบรนด์คว้าชัยในสงครามนี้ พวกเขาทั้งเหนื่อยล้า และต้องแบกรับอารมณ์ของลูกค้าโดยตรง อีกทั้งด้วยวัฒนธรรมการให้ทิปที่ไม่ได้นิยมในไทย ก็อาจทำให้พวกเขาต้องเหนื่อยมากกว่าปกติโดยได้ค่าตอบแทนเท่าเดิม (ทางบริษัทควรรับผิดชอบเพิ่มค่าตอบแทนพิเศษให้ในส่วนนี้ ซึ่งก็อาจจะได้เป็นโบนัสประจำเดือน) 

นอกจากนี้การดึงดูดด้วยลูกค้าด้วยราคาถูกในช่วงเวลาสั้น ๆ ก็จะได้แค่ยอดขายระยะสั้น ไม่สามารถสร้างแบรนด์รอยัลตี้ได้จริง เพราะลูกค้าจะมาแค่ตอนมีโปรโมชันอาจพอชวนให้ลูกค้าหลายคนมาลองได้ แต่ถ้าสุดท้ายถ้ามันไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ มันก็จะขึ้นอยู่ที่ว่าคุณจะจัดโปรแบบนี้ได้บ่อยแค่ไหน ซึ่งแน่นอนว่าปีละครั้งยังเต็มกลืน เพราะการลดราคาบ่อย ๆ จะไม่ส่งผลดีต่อแบรนด์ แคมเปญแบบนี้น่ะทำเอามันก็พอ

You Might Also Like

วัดกำลังอสังหาฯ ยามพบศึกหนัก แผ่นดินไหว vs สงครามการค้า บ้านแนวราบโต แต่ตลาดคอนโดตึกสูงสั่นคลอน

ไม่ใช่แค่แรงงานไทยมักง่าย แต่นายจ้างเกาหลีก็อยากได้ผีน้อย

ไม่เอาแอปจีน! รัฐเท็กซัสประกาศแบนทั้ง DeepSeek, RedNote, Lemon8 

แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2568 คาดยอดจัดส่งรถยนต์ EV โต 17%

TAGGED: Burger King, Pizza, Pizza Hut, The Pizza Company

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
CTD admin May 31, 2024
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article TKN สยายปีกเติบโตต่างประเทศ เปิดตัว Distributor ในอินโดนีเซีย เร่งเครื่องขึ้นแท่นสู่ความเป็น Global Brand
Next Article สวนกระแสวันดื่มนมโลก “ดื่มนมเยอะ ๆ ร่างกายแข็งแรง?” การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อพยุงธุรกิจที่เกือบเจ๊ง
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?