CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: ทำไมเราควรหยุดสนับสนุน “การขอรับบริจาคค่าเทอม” ย้อนรอยเหตุการณ์ และสำรวจความมักง่ายทางการเงิน 
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Opinion > ทำไมเราควรหยุดสนับสนุน “การขอรับบริจาคค่าเทอม” ย้อนรอยเหตุการณ์ และสำรวจความมักง่ายทางการเงิน 
Opinion

ทำไมเราควรหยุดสนับสนุน “การขอรับบริจาคค่าเทอม” ย้อนรอยเหตุการณ์ และสำรวจความมักง่ายทางการเงิน 

CTD admin
Last updated: 2024/09/25 at 6:39 AM
CTD admin Published May 4, 2024
Share

ล่าสุดมีข่าวสาวชาวสกลนครเปิดรับบริจาคค่าเทอมเรียนแพทย์มอเอกชน หลังพยายามสอบมาแล้ว  7 ครั้งจนติด แต่ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม หลังจากที่ก่อนหน้านี้เพียงสองสัปดาห์ก็เพิ่งมีนักศึกษาคณะทันตแพทย์จากมหาวิทยาลัยเดียวกันมาขอรับบริจาคจ่ายค่าเทอม จนสังคมเริ่มระอา ตั้งแง่กับคนที่ขอโอกาสด้วยวิธีนี้ เพราะนี่เป็นครั้งที่เท่าไรแล้วก็ไม่รู้ที่มีคนออกมาขอเงินเรียน ลองไปดูกันว่าที่ผ่านมามีเคสไหนบ้าง และอะไรคือเหตุผลที่ไม่ควรสนับสนุนการกระทำแบบนี้

ย้อนไปก่อนหน้านั้นในปี 2560 ก็มีกรณีแบบเดียวกันของนักเรียนชายชาวบุรีรัมย์ที่สอบติดวิศวะเคมีที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ออกมาเล่าชีวิตรันทด แม่ตาย พ่อทิ้ง ไม่มีเงินเรียน จนมีคนรับอุปการะ และบริจาคถึง 8 แสนบาท  แต่ปรากฎว่าโดนแฉ ไม่ได้ยากจนจริง ใช้เงินฟุ้งเฟ้อ พ่อยังอยู่ด้วย และเป็นเสาหลักของครอบครัว  

ในปี 2564 ก็มีนักเรียนหญิงชาวกาฬสินธุ์ สอบติดแพทย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอรับบริจาคเพราะฐานะยากจน รับไปทั้งหมด 3 ล้านกว่าบาท แต่ภายหลังมีคนพบว่าน้องใช้ทั้ง iPad Pro และน้ำหอม Dior ซึ่งแม้ทางเจ้าตัวจะออกมาชี้แจงว่าไอแพดซื้อเพราะต้องเรียนออนไลน์ เลือกรุ่นดีเพราะอยากใช้ยาว ๆ น้ำหอมซื้อขวดเหลือมือสองมา และมีแผนนำยอดบริจาคส่วนเกินส่งต่อเป็นทุนให้รุ่นน้องต่อไป สังคมก็ยังคงคาใจอยู่ดี

ถ้ายังจำกันได้เมื่อต้นปี 2566 ก็มีกรณีของนักเรียนชายม.6 ที่จังหวัดพัทลุงสอบติดแพทย์ได้ที่มหาวิทยาลัยสงขลา แต่ขาดทุนทรัพย์ ครอบครัวยากจน จึงขอรับบริจาค ต่อมามีคนออกมาแฉว่าได้ยอดรวมหลักล้าน แต่ไม่มีการเปิดที่ชัดเจน และครอบครัวไม่ได้ยากจนจริง มีหลักฐานว่าทั้งแม่และตัวน้องนักเรียนเองใช้จ่ายฟุ้งเฟ้อ มีข้าวของราคาแพง

พอมาถึงกรณีของนักศึกษาทันตแพทย์ปี 5 มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ที่มาขอรับบริจาคค่าเทอม หลายคนก็ตั้งประเด็นว่าเรียนมาตั้ง 5  ปี จ่ายค่าเทอมละเกือบ 5 แสนมาได้ตลอด จะมาขออะไรเอาตอนใกล้จบ แม้ว่าเจ้าตัวจะชี้แจงว่ากู้จ่ายมาตลอด แต่พอเจอโควิด ทางบ้านเริ่มมีปัญหาจนจ่ายไม่ไหว

มาเคสล่าสุดของสาวสกลนครที่สอบติดแพทย์ ก็ปรากฏว่าเป็นมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นเหมือนเคสก่อนหน้า เหมือนทำตามกันมาเลย และเจ้าตัวเองก็จบสาธารณสุขมาก่อนแล้วด้วย ทำให้เห็นว่าจริง  ๆ แล้วการเรียนแพทย์ของเขาไม่ใช่เรื่องจำเป็น แต่เป็นความฝันอยากช่วยเหลือคน  และเลือกสอบมหาวิทยาลัยเอกชนที่ค่าเทอมแพงกว่ามาตั้งแต่แรก โดยไม่ได้คิดถึงเรื่องค่าใช้จ่ายมาก่อน น่าจะเป็นเพราะการแข่งขันที่ต่ำกว่า แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังสอบตั้ง 7 ปี ระหว่างนี้กลับไม่เคยประเมินความพร้อมของครอบครัวเลย

ในภาพรวมจะเห็นได้ว่าปัญหาหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่พอใจคือความโปร่งใสในการใช้จ่ายเงิน รวมถึงภูมิหลังของผู้รับบริจาค ที่หลายคนนำเงินไปใช้นอกเหนือจากการศึกษา และอาจไม่ได้อยู่ในฐานะที่ลำบากจริง ๆ ถึงอย่างนั้นประเด็นนี้ก็เบาไปเลยเมื่อเทียบกับเหตุผลสำคัญอย่างเรื่องของความมักง่าย

ความฝันของเด็กสักคน มันคือ “เรื่องส่วนตัว” ของเขา และมันเป็นภาระของครอบครัวที่จะต้องจัดการ หากทำไม่ได้ควรรู้จักประมาณตน รู้ว่าตัวเองเหมาะหรือไม่เหมาะกับอะไร ถ้าหากอยากได้ทุนทรัพย์เพื่อการศึกษาจริง ๆ ประเทศเรามีทุนมากมายรองรับอยู่แล้ว ทั้งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่นักศึกษาคณะแพทยศาสต์สามารถยื่นขอได้ง่ายมากเมื่อเทียบกับคณะอื่น ๆ ได้วงเงินถึง 2 แสนบาทต่อปี และยังมีทุนย่อยมากมายตามหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งการสมัครขอรับทุนเหล่านี้คือสิ่งที่คนขาดโอกาสจริง ๆ เขาทำกัน

อีกเรื่องที่เราไม่ควรมองข้ามคือการให้ความสำคัญกับอาชีพ เพราะยังมีเด็กไทยมากมายที่ไม่มีโอกาสได้ทำตามความฝันของตัวเอง ไม่ได้เรียนในคณะที่พวกเขาอยากเรียน เพียงเพราะเขาไม่ได้อยากเป็นหมอแบบที่สังคมให้คุณค่า มีทุนรองรับสำหรับนักเรียนแพทย์เยอะไปหมด แต่น้อยมากสำหรับอาชีพอื่น ๆ อาชีพหมอเป็นอาชีพที่มีเกียรติก็จริง แต่อาชีพอื่นก็ไม่ได้ด้อยกว่ากัน ทุกอาชีพมีคุณค่าต่อสังคม แล้วทำไมเด็กที่อยากเป็นหมอถึงควรจะได้โอกาสที่ดีกว่าเด็กที่ทำอาชีพอื่นล่ะ 

นี่แหละคือเหตุผลที่สังคมควรเลิกสนับสนุนการขอรับบริจาคค่าเทอมได้แล้ว ถ้าหากอยากช่วยต่อยอดอนาคตให้เด็กไทยจริง ๆ บริจาคเข้าไปที่หน่วยงานหรือกองทุนที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะจะดีกว่า เพราะมีการจัดการเรื่องเงินอย่างโปร่งใสและเป็นไปตามระบบ แถมยังช่วยกระจายโอกาสให้กับเด็กอีกมากมายที่เขาต้องการจริง ๆ ด้วย 

สุดท้ายนี้ทุกคนคิดเห็นกับเรื่องนี้กันอย่างไรลองคอมเมนต์บอกกันหน่อยนะครับ ไม่มีผิดไม่มีถูก แลกเปลี่ยนกันอย่างสร้างสรรค์ครับ

You Might Also Like

วัดกำลังอสังหาฯ ยามพบศึกหนัก แผ่นดินไหว vs สงครามการค้า บ้านแนวราบโต แต่ตลาดคอนโดตึกสูงสั่นคลอน

ไม่ใช่แค่แรงงานไทยมักง่าย แต่นายจ้างเกาหลีก็อยากได้ผีน้อย

ไม่เอาแอปจีน! รัฐเท็กซัสประกาศแบนทั้ง DeepSeek, RedNote, Lemon8 

แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2568 คาดยอดจัดส่งรถยนต์ EV โต 17%

TAGGED: การเงิน, ค่าเทอม

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
CTD admin May 4, 2024
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article ชวนดู “เธอฟอร์แคช สินเชื่อ…รักแลกเงิน” หนังน้ำดีสะท้อน “ปัญหาหนี้” ที่กัดกินชีวิตคนไทย
Next Article บ้านลูกโป่ง จาก “Up ปู่ซ่าบ้าพลัง” เปิดให้เข้าพักจริงแล้ว!
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?