CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: ทำไม “ซิงเกิลมัม” ถึงไม่เป็น “ตลาด” ที่ภาคธุรกิจสนใจ?
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Opinion > ทำไม “ซิงเกิลมัม” ถึงไม่เป็น “ตลาด” ที่ภาคธุรกิจสนใจ?
Opinion

ทำไม “ซิงเกิลมัม” ถึงไม่เป็น “ตลาด” ที่ภาคธุรกิจสนใจ?

CTD admin
Last updated: 2024/03/11 at 10:23 PM
CTD admin Published February 11, 2024
Share

ในปัจจุบัน กลุ่มคนใหม่ๆ เกิดขึ้นจำนวนมากในสังคม และกลุ่มคนพวกนี้ก็เป็น “ตลาด” ใหม่ๆ ที่นักการตลาดสนใจ ไม่ว่ามันจะเป็น กลุ่มคนโสด กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่ม “พ่อแม่หมาแมว” หรือกลุ่ม LGBTQ+ ทั้งหลาย

อย่างไรก็ดี กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจเช่นกันว่ามี “จำนวนเพิ่มขึ้น” ทั่วโลกคือกลุ่ม “ซิงเกิลมัม” หรือกลุ่ม “แม่เลี้ยงเดี่ยว” แบบตามสถิติมันเพิ่มขึ้นชัดแน่ๆ ทั่วโลก แต่นี่กลับเป็นกลุ่มที่แบรนด์ต่างๆ หรือกระทั่งนักการตลาดสนใจเลย ถ้าเทียบคนกลุ่มอื่นๆ ที่ว่ามา

คำถามคือทำไม?

คำตอบสั้นๆ เร็วๆ คือ นักการตลาดไม่ได้มองว่า “แม่เลี้ยงเดี่ยว” มีความต้องการต่างจาก “แม่” ตามจารีตอย่างมีนัยยะสำคัญ ดังนั้นสินค้าและบริการที่ตอบสนองแม่ปกติได้ ก็ย่อมตอบสนองแม่เลี้ยงเดี่ยวได้

และประการที่สอง ถ้าว่ากันตามสถิติ สิ่งที่แม่เลี้ยงเดี่ยวเป็นไม่ใช่แค่คนเลี้ยงลูกคนเดียว แต่เป็น “คนจน” เป็นส่วนใหญ่ และโดยทั่วไปตลาดก็ไม่ได้มีความสนใจจะมุ่งขายสินค้ากับกลุ่มประชากรใดที่ “จน” อยู่แล้ว

อันนี้คือคำตอบสั้นๆ แต่คำตอบยาวๆ เราต้องเข้าไปในโลกของแม่เลี้ยงเดี่ยวกัน

คือเราต้องเข้าใจจากนิยามก่อนว่าสิ่งที่เรียกว่า “แม่เลี้ยงเดี่ยว” ในทางประชากรศาสตร์หมายถึงหัวหน้าครอบครัวของ “ครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว” ซึ่งคือครอบครัวที่มีสองรุ่นคือรุ่นพ่อรุ่นแม่และรุ่นลูก โดยรุ่นพ่อรุ่นแม่มีสมาชิกแค่คนเดียว ซึ่งที่นิยมเรียก “แม่เลี้ยงเดี่ยว” เพราะปกติกว่า 80% ของครอบครัวแบบนี้ทั่วโลกนั้น สมาชิกจากรุ่นพ่อแม่นั้นจะเป็น “แม่”

และนี่เป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจอีกว่า ในทางเทคนิค “คุณแม่วัยใส” ถ้าไม่ได้เลี้ยงลูกเอง แต่อยู่ในครอบครัวใหญ่ที่มีตายายของลูกอยู่ด้วย แบบนี้ในทางสถิติก็จะถือเป็น “ครอบครัวขยาย” ปกติ

ส่วนถ้าตนไปทำงานหรือเรียนที่ในเมืองใหญ่ แล้วส่งลูกไปให้พ่อแม่ของตนหรือตายายของเด็กเป็นคนเลี้ยงที่บ้านนอก แบบนี้สิ่งที่ได้คือสองครัวเรือน หรือครอบครัวแบบคนเดียวของแม่ (ในกรณีที่อยู่คนเดียว) กับครอบครัวแหว่งกลาง (Skipped Generation Family) ที่มีรุ่นลูก แล้วข้ามไปรุ่นปู่ย่าตายายเลย ไม่มีรุ่นพ่อแม่

ในไทย กรณีแบบนี้จะพบเยอะมาก และนี่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ในทางสถิติ “ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว” นั้นเป็นสิ่งที่มีสัดส่วนลดลงในครอบครัวทั้งหมดรอบ 20-30 ปีที่ผ่านมา ดังที่ระหว่างปี 1987-2013 จำนวนครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวในไทยลดลงจาก 7.9% ของครอบครัวทั้งหมด เหลือเพียง 6.7%

แน่นอน จำนวนครอบครัวแบบนี้เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับประชากรรวมๆ แต่ครอบครัวแบบที่เพิ่มขึ้นมากกว่ามาก ๆ คือครอบครัวแบบคนเดียว กับครอบครัวแบบสองคนแต่ไม่มีลูก และก็ไม่แปลกที่ในทางการตลาดเค้าเลยไปสนใจ กลุ่มคนโสด และกลุ่ม DINK (Double Income No Kids) มากกว่า เพราะคนกลุ่มพวกนี้คือกลุ่มคนที่ขยายตัวขึ้นไม่พอ แต่ยังมีกำลังซื้อมากกว่าด้วย เพราะไม่ต้องมี “ลูก” เป็นภาระด้านการเงิน

จริงๆ แพทเทิร์นที่พบในไทยก็ไม่ใช่เรื่องประหลาดเลย เพราะในโลกนี้ ไปดูที่อื่นก็จะพบแพทเทิร์นคล้ายๆ กัน คือประเทศยิ่งรายได้สูง จำนวนแม่เลี้ยงเดี่ยวจะเยอะขึ้นก็จริง แต่จำนวนครอบครัวแบบคนเดียว กับครอบครัวสองคนแบบไม่มีลูกมันเพิ่มขึ้นเยอะกว่า (ซึ่งเราก็ต้องเข้าใจอีกว่า ลักษณะครอบครัวแบบนี้ก็เกิดได้ทั้งจาก Gen Y ที่เลือกจะเป็นโสด และ Baby Boomer หรือคนรุ่นก่อนนั้นที่ลูกโตแล้ว เลยเหลืออยู่กันแค่ตายาย ไปจนถึงมีคนใดคนหนึ่งจากไปก่อน ก็เลยเหลืออยู่เป็นคนแก่คนเดียว แต่นั่นคืออีกเรื่อง)

ซึ่งตรงนี้ก็ต้องเข้าใจอีกว่าในกระแส “คนมีลูกน้อยลง” ทั่วโลก อย่าว่าแต่ “แม่เลี้ยงเดี่ยว” เลย ครอบครัวปกติแบบพ่อแม่ลูก ภาคธุรกิจยังสนใจน้อยลงเลย เพราะเอาง่ายๆ ถ้าดูในทางสถิติจากฝั่งยุโรป ตอนนี้ครอบครัวที่มีลูกมีเพียงประมาณ 30% เท่านั้น ซึ่งเอาแค่ครอบครัวแบบคนเดียวยังถือเป็นสัดส่วนเยอะกว่าเลย ที่ประมาณ 35% ดังนั้นนักการตลาดหรือใครก็ตามที่จะขายของก็ย่อมสนใจกลุ่มหลังมากกว่ากลุ่มแรกอยู่แล้ว

ซึ่งในบริบทแบบนี้ ใครมันจะไปสนครอบครัวแบบ “แม่เลี้ยงเดี่ยว” ซึ่งทั่วๆ ไปจะมีสัดส่วนอยู่ประมาณแค่เพียง 1 ใน 5 หรือ 1 ใน 6 ของครอบครัวที่มีลูกด้วยซ้ำ?

และก็ต้องเข้าใจอีกว่านอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า “แม่เลี้ยงเดี่ยว” ไม่ได้มีพฤติกรรมการบริโภคต่อจากแม่แบบอื่น ๆ แล้ว ดังนั้นถ้าแม่เลี้ยงเดี่ยวจะต่างจากแม่ปกติก็คือการที่ไม่มี “พ่อ” มาช่วยจ่ายเงินเลี้ยงลูกมากกว่า และนอกจากนี้จริง ๆ ลักษณะครอบครัวแบบแม่เลี้ยงเดี่ยวก็จะหายไปทันทีเมื่อ “แม่เลี้ยงเดี่ยว” ได้ “พ่อ” ใหม่มาอยู่ด้วยและช่วยเลี้ยงลูกด้วย (ไม่ว่าจะแต่งงานหรือไม่)

ดังนั้นภาวะ “แม่เลี้ยงเดี่ยว” ทั้งในทางประชากรศาสตร์และการตลาด มันไม่ใช่ภาวะที่คงทนถาวรด้วยซ้ำ ซึ่งภาวะที่ไม่คงทนถาวรที่มีสัดส่วนทางประชากรที่น้อย ก็ไม่ใช่สิ่งที่ปกติ “ตลาด” จะให้ความสนใจอยู่แล้ว

หวังว่าจะได้คำตอบกันนะครับว่าทำไมโลกธุรกิจถึงไม่ได้ใส่ใจตลาด “ซิงเกิลมัม” มากนัก

ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มคนที่สนใจศึกษา “ซิงเกิ้ลมัม” จริงจังคือพวกอเมริกัน และพวกเค้าไม่ได้สนใจ “ซิงเกิ้ลมัม” ในฐานะ “ตลาด” เท่ากับ “ปัญหาสังคม” เพราะในอเมริกา “ซิงเกิลมัม” นั้นโยงกับปัญหาเชื้อชาติโดยตรง เพราะพวกเธอมีสัดส่วนเป็นคนดำเสียมาก โดยทางสถิติที่เค้าไปสำรวจอาชญากรคนดำในคุก เค้าก็พบว่าเกิน 80% นั้นโตมาจากบ้านที่ “ไม่มีพ่อ” หรือมีแม่เป็น “ซิงเกิลมัม” นั่นเอง

และถ้าจะพูดให้ตรงและแรงก็คือ คนอเมริกามองว่าครอบครัวซิงเกิลมัมคนดำ คือแหล่งผลิตอาชญากรนั่นเอง มันเลยเป็นสิ่งที่เป็น “ปัญหาสังคม”

ซึ่งข้อถกเถียงที่น่าสนใจและสังคมไทยน่าจะเรียนรู้เอาไว้ก็คือ ในอเมริกามีการพยายามทำให้ “ซิงเกิลมัม” ไม่ใช่เรื่องผิดและไม่ใช่ตราบาปอย่างจริงจังในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก็แน่นอน ผลที่ได้คือซิงเกิลมัมเยอะขึ้นมหาศาล แต่สิ่งที่ตามมาแบบที่หลายคนไม่คาดก็คือ เด็กที่โตมากับครอบครัวแบบนี้ส่วนใหญ่จะโตมายากจน และเข้าวังวนอาชญากรรม

หรือพูดง่ายๆ ปัจจุบันในอเมริกาเค้ากำลังตั้งคำถามว่าการเชิดชู “ซิงเกิลมัม” นั้นสิ่งที่ได้การผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำและเพิ่มปัญหาอาชญากรรมหรือไม่?

แน่นอน ฝ่ายสนับสนุนซิงเกิลมัมก็จะยกตัวอย่างลูกที่โตมากับซิงเกิลมัมแล้วได้ดี ซึ่งก็มีตัวอย่างมากมาย แต่ประเด็นคือในทางสถิติในอเมริกา (และจริงๆ คือในโลกรวมๆ ด้วย) ซิงเกิลมัมคือกลุ่มคนยากจนจริง ๆ เพราะถ้ามั่งคั่งอยู่โสดไปไม่นานก็มักจะหาสามีใหม่ได้ไม่ยาก ดังนั้นการ “จำต้องเป็น” ซิงเกิลมัมมันมาจากความยากจน และการที่ต้องเลี้ยงลูกไปด้วยก็ยิ่งทำให้ยากจนไปอีก และการเลี้ยงลูกด้วยทรัพยากรจำกัดในสังคมอเมริกัน มันก็ชัดเจนว่าลูกมักจะไม่มีทางโตมาสู้คนที่เลี้ยงลูกจากทรัพยากรของทั้งฝั่งแม่และพ่อได้ และทำให้ยากจนวนไปอีกรุ่นเป็นอย่างน้อย และอย่างแย่ที่สุดก็คือหลุดไปในวังวนของอาชญากรรม

และในแง่นี้ ในทางนโยบาย เค้าเลยอยากให้รัฐพิจารณาเพิ่มงบทำนอง “ครอบครัวเข้มแข็ง” ที่ปกติจะได้งบน้อยกว่างบประมาณในกลุ่มช่วยเหลือซิงเกิลมัมเป็น 10 เท่าตัว

แต่ก็นี่แหละครับ เรื่องนี้ว่ากันได้ยาว แต่ประเด็น “ซิงเกิลมัม=หญิงคนดำยากจน” อันเป็นประเด็นเฉพาะของอเมริกานี่ ก็เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้นักการตลาดฝั่งอเมริกันไม่ได้สนใจคนกลุ่มนี้เท่าไร และพอฝั่งอเมริกาไม่สนใจยกประเด็นขึ้นมา ก็ไม่แปลกนักที่นักการตลาดบ้านเราจะไม่สนใจกลุ่มนี้เช่นกันในที่สุด เพราะเทรนด์ด้านการตลาดส่วนใหญ่ เราก็เอาจากอเมริกามาพูดทั้งนั้น

เขียนโดย อนาธิป จักรกลานุวัตร

You Might Also Like

วัดกำลังอสังหาฯ ยามพบศึกหนัก แผ่นดินไหว vs สงครามการค้า บ้านแนวราบโต แต่ตลาดคอนโดตึกสูงสั่นคลอน

ไม่ใช่แค่แรงงานไทยมักง่าย แต่นายจ้างเกาหลีก็อยากได้ผีน้อย

ไม่เอาแอปจีน! รัฐเท็กซัสประกาศแบนทั้ง DeepSeek, RedNote, Lemon8 

แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2568 คาดยอดจัดส่งรถยนต์ EV โต 17%

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
CTD admin February 11, 2024
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article ขายจีนได้ = รอด? ทำไมใคร ๆ ก็อยากขายในตลาดจีน
Next Article HBA ลุยงานมหกรรมใหญ่แห่งปี “รับสร้างบ้านและวัสดุ Focus 2024” จัดเต็ม 9 วัน บูมกำลังซื้อไตรมาสแรก คาดยอดสะพัด 4,500 ล้าน
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?