CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: จะรอดไหม? California เตรียมคิดค่าไฟตามรายได้ ถ้าไทยจะหันมาใช้บ้าง น่าสนใจหรือเปล่า?
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Opinion > จะรอดไหม? California เตรียมคิดค่าไฟตามรายได้ ถ้าไทยจะหันมาใช้บ้าง น่าสนใจหรือเปล่า?
Opinion

จะรอดไหม? California เตรียมคิดค่าไฟตามรายได้ ถ้าไทยจะหันมาใช้บ้าง น่าสนใจหรือเปล่า?

korlajeshop@gmail.com
Last updated: 2024/03/12 at 3:47 PM
[email protected] Published October 6, 2023
Share

มีข่าวดีจากการประชุมครม. (คณะรัฐมนตรี) นัดแรกวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบให้ลดค่าไฟตั้งแต่งวดเดือนกันยายนยาวยันธันวาคมลง จาก 4.10 บาท/กิโลวัตต์ เหลือ 3.99 บาท/กิโลวัตต์ แม้ว่ากฟผ. เองจะยังแบกหนี้แสนล้านอยู่ก็ตาม

ถึงอย่างนั้นก็อาจไม่ได้ทำให้อะไร ๆ มันง่ายขึ้นนัก เพราะการที่ค่าไฟปรับลงไม่กี่สตางค์สำหรับผู้มีรายได้ไม่มากมันก็อาจไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เม็ดเงินที่จ่าย โดยรวมมันก็คงน้อยลงเพียงไม่กี่บาท กลับกันสำหรับผู้ที่มีรายรับสูงก็อาจไม่ได้รับผลกระทบที่หนักหน่วงเท่าจากการขึ้นหรือลงของค่าไฟ เพราะยังไงก็จ่ายไหว (ก็ถ้าไม่นับในภาคธุรกิจนะ เพราะยังไงทุกบาทคือต้นทุน) นั่นอาจดูไม่แฟร์เท่าไรสำหรับคนที่มีรายได้น้อย

แต่นั่นไม่ใช่กับ แคลิฟอร์เนีย (California) สหรัฐอเมริกา ที่เขากำลังท้าท้ายระบบสาธารณูปโภคแบบเดิม ๆ ด้วยการเก็บค่าไฟฟ้าแบบคงที่ตามรายได้ของแต่ละคน ไม่ใช่แค่ว่าใช้เท่าไรจ่ายเท่านั้นเพียงอย่างเดียว ซึ่งบอกเลยว่าร่างกฎหมายออกมาอย่างจริงจังแล้ว และงานนี้สะเทือนทั่วทั้งรัฐแน่นอน

ร่างกฎหมายดังกล่าวถูกเสนอโดยนักวิจัยจาก University of California ที่ Berkeley องค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่แสวงหาผลกำไร ‘Next 10’ เสนอให้มีการแบ่งการจัดเก็บค่าพลังงานออกเป็นสองส่วน คือ ค่าบริการคงที่ตามขั้นรายได้ และ ค่าบริการผันแปรตามปริมาณที่ใช้ ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านเรียบร้อยแล้วเมื่อช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมา มีผลให้ California Public Utilities Commission หรือ CPUC ยืนยันการเก็บค่าธรรมเนียมแบบคงที่ตามระดับรายได้ของประชาชน

โดยกฎหมายนี้มีจุดประสงค์ให้ประชาชนสามารถจ่ายค่าพลังงานไหว และสร้างเสถียรภาพในการเก็บเงิน หรือง่าย ๆ ก็คือให้คนจ่ายค่าพลังงานได้ตามกำลังและจะได้ไม่ต้องค้างชำระนี่แหละ หวังว่าจะช่วยลดความเลื่อมล้ำในระบบค่าไฟได้ในภาวะที่ค่าไฟกำลังขึ้น

ค่าไฟขึ้นเพราะโลกร้อน?

จากผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่ทำให้อากาศทั่วโลกเปลี่ยนแปลง แคลิฟอร์เนียตระหนักดี และที่ผ่านมาได้เริ่มนำการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลมหรือแสงอาทิตย์ จนสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 1 ใน 4 ของพลังงานทั้งรัฐ

แต่นั่นก็ยังไม่มากพอ เพราะอุณหภูมิในแคลิฟอร์เนียยังสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งร้อนและแห้งจนทำให้เสี่ยงเกิดไฟป่า จากสายไฟเก่าเสื่อมสภาพของผู้ผลิตพลังงาน ทำให้บริษัทเหล่านี้ต้องเร่งแก้ไขอัปเกรดโครงข่ายพลังงานของพวกเขาเพื่อรับมือกับความร้อนและความเสี่ยงไฟป่า

ในปัจจุบันกลุ่มธุรกิจพลังงานที่มีนักลงทุนเป็นเจ้าของ มีผู้เล่นอยู่ 3 รายใหญ่คือ
– Pacific Gas & Electric (PG&E)
– Southern California Edison (SCE)
– San Diego Gas & Electric (SDG&E)

ซึ่งกินส่วนแบ่งตลาดกว่า 3 ใน 4 ของรัฐ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้แหละที่มีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง

นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ต้นทุนพลังงานสูงขึ้น และทำให้ค่าไฟฟ้าที่ผู้บริโภคต้องจ่ายมันพุ่งตามด้วยนั่นเอง เฉลี่ยราว 27 เซนต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง เกือบสองเท่าของค่าไฟเฉลี่ยของทั้งอเมริกา

และด้วยค่าไฟที่สูงลิ่วทำให้หลายคนที่พยายามจะช่วยโลกด้วยการลดคาร์บอน เปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ไฟฟ้า อาจต้องเปลี่ยนความคิด เพราะการพึ่งพาไฟฟ้าเป็นหลักอาจทำให้พวกเขาต้องจ่ายมากกว่า

เก็บเงินระบบใหม่ ใครได้ ใครเสีย?

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ร่างกฎหมายระบบค่าพลังงานใหม่ถูกเสนอ เพื่อเข้ามารับมือกับค่าไฟที่เพิ่มขึ้นอีกที แต่แม้จะเป็นระบบที่เข้ามาเพื่อแก้ปัญหา ก็ใช่ว่าทุกคนจะถูกใจ เพราะมันไม่ใช่ระบบที่มีแต่คนได้ แต่มีคนเสียด้วย

ผู้สนับสนุนกฎหมายนี้ชี้ว่าระบบนี้คือสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยให้ประชากรที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงพลังงานพื้นฐานได้ เพราะที่ค่าไฟฟ้าของรัฐยังขึ้นแล้วขึ้นอีกอยู่ตลอด

ทางผู้บริหารของ SDG&E เองก็ดูจะพอใจและเห็นดีเห็นงามกับระบบนี้แหละ เขากล่าวว่า “มันจะเปลี่ยนราคาค่าไฟสำหรับผู้บริโภคไปเลย จะช่วยให้ผู้ที่มีรายได้น้อยประหยัด” และชี้ว่า “กลุ่มรายได้น้อย-ปานกลางจะประหยัดขึ้นทันที และกลุ่มรายได้สูงเองก็จะได้ผลประโยชน์ในที่สุด”

ทางผู้ผลิตอย่าง SCE ก็ได้ประเมิณแล้วว่าเมื่อมีการเก็บค่าไฟตามขั้นรายได้แบบคงที่ ปริมาณการใช้ไฟจะลดลงถึง 1 ใน 3 สอดคล้องกับที่มีรายงานว่าผู้ใช้ไฟของ SDG&E ที่จ่ายค่าไฟสูงที่สุดในทวีปอเมริกา ใช้ไฟลดลง 42 %

แต่ในขณะเดียวกันก็มีประชาชนมากมายที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีนี้และออกมาต่อต้าน

ฝั่งที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่าระบบนี้จะกัดกินการอนุรักษ์พลังงานและมันไม่แฟร์เลยกับคนที่พยายามใช้ไฟอย่างประหยัด บางคนออกมาบอกว่าครอบครัวของตัวเองพยายามใช้น้ำไฟอย่างประหยัดมาโดยตลอด แม้แต่ยอมอยู่โดยไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ เพื่อจะได้จ่ายค่าไฟน้อยหน่อย แต่การเข้ามาของระบบค่าไฟแบบคงที่จะทำให้พวกเขาต้องจ่ายมากขึ้นกว่าที่เคย

ด้านนักเศรษฐศาสตร์พลังงาน Ahmad Faruqui ออกมาเตือนว่าระบบนี้อาจเหมือนเป็นการผลักภาระให้กลุ่มคนที่พยายามประหยัดพลังงาน โดยเฉพาะคนที่มีรายได้สูง ซึ่งมันจะขัดกับเป้าหมายของรัฐที่พยายามอนุรักษ์พลังงาน โดยผู้บริโภคกลุ่มที่มีรายได้สูง ถ้าจ่ายอยู่ที่ 50 ดอลลาร์ต่อเดือน ค่าไฟของพวกเขาอาจพุ่งขึ้นถึง 140%

ประชาชนบางส่วนออกมาบอกว่า “อาจล้มเลิกแผนติดโซลาร์เซลล์แล้ว” เพราะนอกจากจะต้องจ่ายค่าโซเซลล์มหาศาล ก็ยังคงต้องจ่ายค่าไฟในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งหักลบอย่างไรก็ไม่คุ้ม (ที่แคลิฟอร์เนียก็มีโครงการให้ขายไฟจากแสงอาทิตย์ให้ภาครัฐด้วยเหมือนกัน เพื่อเชิญชวนให้คนหันมาใช้และผลิตพลังงานสะอาด) แต่ในฝั่งของผู้ประกอบกิจการโซลาร์เซลล์ก็บอกว่า “ถ้าใช้ระบบนี้จริงก็แย่หน่อย แต่ก็ไม่ได้กังวลอะไร เพราะในระยะยาวโซลาร์เซลล์คุ้มอยู่แล้ว”

ทั้งนี้คำถามสำคัญจากประชาชนก็คือ มันใช่เรื่องไหมที่ค่าปรับปรุงโครงข่ายพลังงานมันต้องมาบวกในค่าบริการ ทำไมไม่หักไปจากภาษีเงินได้ที่ต้องจ่ายอยู่แล้วล่ะ เพราะนั่นก็จ่ายตามขั้นรายได้เหมือนกัน แบบนี้น่ะมันเหมือนเพิ่มภาระให้ผู้บริโภคมากกว่า แต่ทางภาครัฐก็ไม่ได้ออกมาชี้แจงเรื่องนี้แต่อย่างใด

แม้ว่าตัวระบบเองจะยังไม่เป็นรูปเป็นร่างมากพอที่จะบอกได้ว่ารายได้เท่านี้ต้องเสียเท่าไรกันแน่ แต่ตามที่โฆษกของ CPUC กล่าว จะมีการลงมติเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าวในไตรมาสแรกของปี 2024 และหลังจากนั้นจะมีเวลาในการอนุมัติแผนดังกล่าว หรือร่างขึ้นใหม่ภายในเดือนกรกฎาคม 2024

จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้วระบบนี้เป็นความพยายามแก้ปัญหาใหญ่ที่สุ่มเสี่ยงใช่เล่นเลย เพราะตัวระบบเองแม้ว่าจะดูดีและอาจช่วยเหลือคนกลุ่มหนึ่งได้ไม่น้อย แต่ก็อาจสร้างภาระอันหนักอึ้งให้ที่เหลือเช่นกัน ไหนจะต้นตอของปัญหาค่าไฟขึ้นที่สุดท้ายประชาชนต้องมาแบกรับแบบงง ๆ อีก

ก็ไม่แปลกใจที่จะมีทั้งคนชอบและไม่ชอบ แล้วทุกคนคิดว่าระบบนี้เป็นอย่างไรบ้าง จะรอดไหม จะให้ผลดีอย่างที่คิดหรือเปล่า

แล้วถ้าหากประเทศไทยจะเก็บค่าไฟคงที่ตามค่าแรงแบบนี้บ้างล่ะ ซื้อไหม ลองคอมเมนต์แลกเปลี่ยนกันดูครับ

You Might Also Like

วัดกำลังอสังหาฯ ยามพบศึกหนัก แผ่นดินไหว vs สงครามการค้า บ้านแนวราบโต แต่ตลาดคอนโดตึกสูงสั่นคลอน

ไม่ใช่แค่แรงงานไทยมักง่าย แต่นายจ้างเกาหลีก็อยากได้ผีน้อย

ไม่เอาแอปจีน! รัฐเท็กซัสประกาศแบนทั้ง DeepSeek, RedNote, Lemon8 

แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2568 คาดยอดจัดส่งรถยนต์ EV โต 17%

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
[email protected] October 6, 2023
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article รัฐ ตระกูลไทย แม่ทัพการตลาดของ Food Passion ผู้มุ่งสร้าง Brand Love ให้คนรักได้อย่าง Bar B Q Plaza
Next Article NISSIN จาก “เจ้าแรก” ในวันที่อาหารขาดแคลนสู่ “เจ้าใหญ่” ในวันที่ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านบาท
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?