ตอนแรกเหมือนว่า สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ จะปรับโปรแกรมการแข่งขันฟุตบอลไทยลีกให้ไปเริ่ม ก.ย.63 และเตะข้ามปีไปจบ พ.ค.64 ตามมติของสโมสรเมื่อ 14 เม.ย. ได้อย่างสะดวกโยธิน แต่ทำไปทำมาเส้นทางกลับสะดุด เมื่อทรูวิชั่นส์ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ออกมาสะกิด ส.ลูกหนังไทย ให้ทำตามสัญญาอย่างเคร่งครัด พร้อมขอสงวนสิทธิ์การจ่ายเงินค่าสิทธิประโยชน์ หากไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงไว้
ในมุมของทรูต้องการให้ไทยลีกจบลงในปีนี้ หากเลยไปปีหน้าก็ถือว่าผิดสัญญาที่ได้ตกลงกัน แต่ ส.บอลก็ยืนยันที่จะแข่งจบในปีหน้า พร้อมส่งหนังสือสอบถามแนวทางปฏิบัติต่างๆ 5 กรณี กระทั่งการสื่อสารอย่างเป็นทางการล่าสุด ทรูวิชั่นส์ส่งหนังสือตอบกลับ ยืนยันจะรับสัญญาณถ่ายทอดสดถึงวันที่ 25 ต.ค.63 ตามสัญญาเดิมถ้าจะให้ถ่ายถึงวันที่ 31 ธ.ค.63 ต้องเจรจาสัญญาฉบับใหม่ ส่วนแมตช์ตั้งแต่ 1 ม.ค.64 ถึง พ.ค.64 ยินดีให้สมาคมฯหาผู้รับสัญญาณรายอื่น นอกจากนี้ ยังขอเจรจาลดมูลค่าฯ จากการที่สมาคมฯลดทีมสโมสรในไทยลีก จาก 18 ทีม ลงเหลือ 16 ทีม ในฤดูกาล 2019 ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาร่วมกัน
รองประธานบริษัทไทยลีก ชี้แจงว่าสัญญาลิขสิทธิ์ระหว่างสมาคมกับทรูวิชั่นส์ควรจะหมดไปตามฤดูกาลแข่งขันเนื่องจากเหตุสุดวิสัยและหวังว่า ทรูไม่ใช้ประเด็นนี้มาเป็นเหตุที่จะพิจารณาปรับลดเงินค่าลิขสิทธิ์เพราะจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสโมสรฟุตบอลทุกระดับ และวงการฟุตบอลไทย และเชื่อว่าแฟนบอลที่เป็นลูกค้าของทรูวิชั่นส์เองก็อยากจะชมฟุตบอลไทยครบทุกนัดจนจบฤดูกาลแข่งขัน
กรวีร์ ปริศนานันทกุล รองประธานบริษัท ไทยลีก จำกัด เปิดเผยว่าข้อถกเถียงในเรื่องสัญญาลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดไทยลีก ระหว่าง สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และทรูวิชั่นส์ นั้นมาจากการตีความข้อสัญญาไม่ตรงกัน ซึ่งทรูมองว่าสัญญาจะหมดลงเมื่อจบปี 2563 แต่ในความจริงสัญญาควรจะต่อเนื่องไปจนฤดูกาลแข่งขันจบสิ้น
“โปรแกรมดังกล่าวเกิดขึ้นจากสโมสรมีมติร่วมกัน เมื่อ 14 เมษายน 2563 จากนั้นสมาคมมีหนังสือแจ้งไปยังทรู ถ้าหากไม่เห็นด้วยและต้องการคัดค้านให้แจ้งภายใน 15 วัน ทรูแจ้งว่าได้รับหนังสือแล้ว แต่ก็ไม่ได้มีการตอบกลับมา”
“ต่อมาทรูมีความเห็นต่างจากสมาคม เรื่องสัญญาลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ที่ระบุไว้ระหว่างปีการแข่งขัน 2560-2563 ซึ่งในความหมายควรจะเป็นฤดูกาลแข่ง และเมื่อมีเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถจัดการแข่งขันได้จนถูกเลื่อนออกไปอย่างเช่นในครั้งนี้ที่เกิดการระบาดของโควิด-19 สัญญาลิขสิทธิ์เองก็ควรเลื่อนไปจบตามฤดูกาล”
“สำหรับเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นโดยไม่อาจต้านทานได้ ไม่อาจคาดหมายได้ หรือเกิดจากเหตุภายนอก เช่น ภัยธรรมชาติ โรคระบาด เหตุจลาจล กฎหมายหรือคำสั่งของรัฐ ตามกฎหมายสากลถือว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้”
“การที่ฟุตบอลแข่งขันไม่ได้ในช่วงที่ผ่านมาไม่ใช่เพราะสมาคมฯ ไม่พร้อมจัดการแข่งขัน แต่เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นำมาสู่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งสมาคมจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของรัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ใช่ประเด็นของการจงใจหรือมีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญา หวังว่าทางทรูจะเข้าใจเหตุผลความจำเป็นดังกล่าว”
“ตามบทสัมภาษณ์ของทรูที่บอกว่าสมาคมไม่เคยแจ้งเรื่องกำหนดการต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเลื่อนการแข่งขันออกไปเป็นช่วงเดือนกันยายน นั้น สมาคมได้ส่งหนังสือยืนยันแจ้งการเปลี่ยนแปลงการแข่งขันตามมติในที่ประชุมให้ทรูทราบด้วย ผมเข้าใจว่าทางทีมผู้บริหารของทรูรับทราบเรื่องดังกล่าว อีกทั้งทรูเองก็มีผู้บริหารที่อยู่ในสภากรรมการที่รับทราบความเคลื่อนไหวต่างๆ อยู่ตลอด”
“อย่างไรก็ตาม จากปัญหาที่เกิดขึ้นทางสมาคมก็เข้าใจในความจำเป็นของทรู ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้นัดวันเจรจาหาทางออกเรื่องนี้ในวันที่ 24 กรกฎาคม ซึ่งผมอยากให้เป็นการเจรจากันอย่างสร้างสรรค์ และหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะหาข้อยุติที่ลงตัวกันได้ ที่ผ่านมาทางทรูก็สนับสนุนวงการกีฬาฟุตบอลมาด้วยดีโดยตลอด ขณะที่สมาคมเองก็พร้อมจะเดินหน้าหาทางแก้ไขปัญหาให้การจัดแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพกลับมาแข่งขันอีกครั้ง”
ตอนนี้แฟนๆฟุตบอลไทย และ สมาชิกทรูวิชั่นส์ก็ได้แต่หวังว่าปัญหานี้จะยุติได้โดยเร็ว เพราะ เรื่องนี้อาจมีผลกระต่อการรับชมถ่ายทอดฟุตบอลได้
หากสนใจเปิดพอร์ตตลาดหุ้นไทย
สำหรับนักลงทุนที่สนใจเปิดพอร์ตตลาดหุ้นไทยกับ KTBST ขอคำปรึกษาได้ ที่นี่ เพราะ KTBST มีค่าธรรมเนียมต่ำ เป็น “ สถาบันการเงิน ” ในประเทศไทยที่มีความโดดเด่นในการให้บริการลูกค้า นอกจากนั้นยังเป็นตัวช่วยให้ผู้ถือหุ้น “เติบโตอย่างยั่งยืน” และมีส่วนช่วยสังคมในการ “ พัฒนาตลาดทุน ”
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
ที่มา
#CISThai
Line Official: https://lin.ee/jO65rNq
Website: https://connectthedotsth.com/
FB Fanpage: https://www.facebook.com/CreativeInvestmentSpace