CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน แนะ 3 เทคนิค ‘ปกป้อง – ดูแล – ปรับปรุง’ บ้านในภาวะน้ำท่วม
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Opinion > สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน แนะ 3 เทคนิค ‘ปกป้อง – ดูแล – ปรับปรุง’ บ้านในภาวะน้ำท่วม
Opinion

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน แนะ 3 เทคนิค ‘ปกป้อง – ดูแล – ปรับปรุง’ บ้านในภาวะน้ำท่วม

CTD admin
Last updated: 2024/11/07 at 4:43 AM
CTD admin Published November 7, 2024
Share

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน (HBA) แนะ 3 เทคนิค ‘ปกป้อง-ดูแล-ซ่อมบ้าน’ ในสถานการณ์น้ำท่วม เปิดโหมดเตรียมตัวล่วงหน้า เน้นความปลอดภัยเมื่อเผชิญน้ำท่วม พร้อมแนวทางปรับปรุงสู่ ‘บ้านน่าอยู่’ หลังน้ำลด

นายวรวุฒิ กาญจนกูล กรรมการกิตติมศักดิ์ สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน (Home Builder Association : HBA) เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมไม่ได้เกิดจากฝนที่ตกหนักในช่วงมรสุมเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลายปัจจัย ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โครงสร้างพื้นฐานของเมืองออกแบบมารองรับน้ำที่ตกลงมาปริมาณมากได้อย่างจำกัด ขณะที่เส้นทางการระบายน้ำออกจากพื้นที่ต้องใช้เวลามากกว่า 1 – 2 วัน ส่งผลกระทบพื้นที่เศรษฐกิจ พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่การค้าและบริการอย่างเช่นโรงแรม โรงพยาบาล ไปจนถึงบ้านของประชาชน

ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำในภาพใหญ่ระดับจังหวัดอาจเป็นเรื่องที่ยากเกินกว่าจะควบคุม แต่สิ่งที่แต่ละบ้านสามารถทำได้ คือ เตรียมความพร้อม เกาะติดสถานการณ์ความเคลื่อนไหว และแจ้งเตือนจากหน่วยงานภาครัฐ  รวมถึงวางแผนรับมือเพื่อดูแลบ้านของตัวเองจากน้ำท่วมให้ได้มากที่สุด โดยวิธีการมีหลายระดับ ตั้งแต่การเตรียมพร้อมก่อนน้ำท่วม จนถึงการป้องกันในระหว่าง และแนวทางการฟื้นฟูบ้านหลังน้ำท่วม 

เตรียมพร้อม ‘ก่อนน้ำท่วม’

นายวรวุฒิ กล่าวว่า แต่ละบ้านควรตรวจสอบระบบระบายน้ำเพื่อให้แน่ใจว่ารางน้ำ ฝาท่อระบายน้ำ บ่อพักน้ำ และท่อระบายน้ำรอบบ้านอยู่ในสภาพดี ไม่มีสิ่งอุดตัน และหมั่นทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงก่อนฤดูฝน

การยกของสำคัญขึ้นที่สูงก็มีความสำคัญ โดยทำการเคลื่อนย้ายของใช้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และเอกสารสำคัญขึ้นไปไว้บนที่สูง เพื่อป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วม

นอกจากนี้ ให้เตรียมถุงทรายไว้ล่วงหน้าสำหรับใช้กั้นเป็นกำแพงเมื่อน้ำมาถึง จากนั้นติดตั้งวาล์วกันน้ำย้อนกลับในท่อระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมย้อนกลับเข้ามาในบ้าน และหาวิธีอุดท่อน้ำต่าง ๆ เพื่อป้องกันน้ำย้อนเช่นกัน โดยในบางพื้นที่อาจต้องตัดสินใจยกพื้นบ้านให้สูงขึ้น ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง อย่างไรก็ดีวิธีนี้จะทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าบ้านจะไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

สำหรับแนวทางที่แต่ละบ้านสามารถเตรียมพร้อมรับมือได้ มีทั้งการทำประกันภัยบ้านและทรัพย์สิน เพื่อลดความเสียหายทางการเงินหากเกิดน้ำท่วม การติดตั้งระบบเตือนภัยน้ำท่วม เช่น เซนเซอร์ตรวจจับระดับน้ำ หรือ สมัครรับข่าวสารเตือนภัยจากทางการ และการเตรียมแผนอพยพหากเกิดน้ำท่วมฉับพลัน รู้เส้นทางหนีภัย และจุดรวม พร้อมทั้งตรวจสอบโครงสร้างบ้าน รอยร้าว  หรือ จุดที่อาจมีน้ำรั่วซึม เมื่อพบก็ทำการซ่อมแซมให้เรียบร้อย

‘ระหว่างน้ำท่วม’ ยึดความปลอดภัยมาก่อน

เมื่อน้ำท่วมเข้าบ้าน นายวรวุฒิ ย้ำว่า ควรปิดระบบไฟฟ้าและแก๊สในทันที เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าช็อตและไฟไหม้ พร้อมกันนี้ให้หลีกเลี่ยงเข้าไปบริเวณที่มีน้ำท่วมขังโดยเฉพาะในเวลากลางคืนเพราะอาจมีสิ่งปนเปื้อน กระแสไฟฟ้ารั่ว สัตว์เลื้อยคลานที่มีพิษหรืออันตรายอื่น ๆ จากนั้นติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ หน่วยงานบรรเทาสาธารณะภัย  เพื่อขอความช่วยเหลือ

เทคนิคกู้บ้านพัง ‘หลังน้ำท่วม’

สำหรับบ้านที่ประสบปัญหาน้ำท่วม เมื่อน้ำลดลงแล้ว นายวรวุฒิ กล่าวว่า ควรรีบตรวจสอบความเสียหายของบ้านและทรัพย์สินอย่างละเอียด จากนั้นทำความสะอาดบ้านพร้อมฆ่าเชื้อโรคในบ้านอย่างทั่วถึง เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง

ทั้งนี้ ก่อนลงมือซ่อมแซมควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบบ้าน ระบบไฟฟ้าและแก๊สให้เรียบร้อยก่อนเริ่มกลับมาใช้งานตามปกติ โดยงานซ่อมแซมนั้นขึ้นอยู่กับความเสียหายของแต่ละบ้าน เช่นในกรณีที่น้ำท่วมถึงเพดานให้ตรวจสอบความเสียหาย ถ้าฝ้าเปื่อยและอมน้ำควรรื้อออกแล้วเปลี่ยนแผ่นใหม่

การซ่อมแซมบานประตูไม้ที่บวมและผุพังจากการแช่น้ำเป็นเวลานาน ควรทิ้งไว้ให้แห้งก่อนลงมือซ่อมแซม แต่หากพบว่ามีความเสียหายมากจนใช้การไม่ได้อาจต้องเปลี่ยนใหม่ ในส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับความเสียหายให้ไล่ความชื้นออกจากเฟอร์นิเจอร์ให้มากที่สุด จากนั้นปล่อยให้แห้งสนิทค่อยนำกลับมาใช้งาน ส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่ติดตั้ง Built in มีความจำเป็นต้องตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างและสายไฟ หากพบว่าผุพังให้ทำการรื้อออกแล้วทำขึ้นมาใหม่

ทั้งนี้ ภายหลังจากทำความสะอาดและซ่อมแซมบ้านแล้ว ควรปล่อยให้บ้านแห้งสนิทอย่างน้อย 1 เดือนก่อนทาสีใหม่ รวมทั้งการตรวจเช็คท่อและบ่อพักว่ามีขยะติดอยู่หลังจากน้ำท่วมหรือไม่ โดยให้ทำการตรวจสอบและซ่อมแซมให้เรียบร้อย

“การป้องกันน้ำท่วมบ้านเป็นกระบวนการที่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้า โดยปฏิบัติตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจะช่วยลดความเสียหาย และเพิ่มความปลอดภัย เพื่อซ่อมแซมและปรับปรุงบ้านให้กลับมาอยู่ในสภาพที่สวยงามและน่าอยู่เหมือนเดิม” นายวรวุฒิ กล่าว

You Might Also Like

วัดกำลังอสังหาฯ ยามพบศึกหนัก แผ่นดินไหว vs สงครามการค้า บ้านแนวราบโต แต่ตลาดคอนโดตึกสูงสั่นคลอน

7 Checklist ต้องรู้ ก่อนเริ่มสร้างบ้านให้มีคุณภาพ เพราะบ้านคือจุดเริ่มต้นของความสุข

HBA งัดกลยุทธ์สู้ภาวะเศรษฐกิจ ลุยจัดใหญ่ ‘งานรับสร้างบ้าน Focus2025’

ไม่ใช่แค่แรงงานไทยมักง่าย แต่นายจ้างเกาหลีก็อยากได้ผีน้อย

TAGGED: HBA, ซ่อมบ้าน, น้ำท่วม, สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
CTD admin November 7, 2024
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article เปิด Crypto Playbook โดย ดร.กร พูนศิริวงศ์ จาก Binance TH
Next Article อเมริกาจะแพงกว่าที่เคย? เรื่องสยองของสงครามการค้า จาก Trump
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?