CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: ส่องตลาดชุดนักเรียนมูลค่า 7,000 ล้านบาทในช่วงวิวาทะ “ยกเลิกเครื่องแบบ”
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Business > ส่องตลาดชุดนักเรียนมูลค่า 7,000 ล้านบาทในช่วงวิวาทะ “ยกเลิกเครื่องแบบ”
Business

ส่องตลาดชุดนักเรียนมูลค่า 7,000 ล้านบาทในช่วงวิวาทะ “ยกเลิกเครื่องแบบ”

connectthedots admin
Last updated: 2024/03/12 at 12:02 PM
connectthedots admin Published June 26, 2023
Share


เครื่องแบบนักเรียนกลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้งในช่วงสองสามวันที่ผ่านมา จากกรณีที่ น้องหยก เด็กหญิงวัย 15 ปี ผู้เคยถูกดำเนินคดีมาตรา112 ใส่ชุดไปรเวทไปโรงแรียนเพื่อเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพในการแต่งกาย ถูกโรงเรียนห้ามไม่ให้เข้าเรียนจนต้องปีนรั้วโรงเรียนเข้าไปถึง 2 วันติด ทั้งยังมีข่าวว่าโรงเรียนไล่น้องออกจนสังคมเปิดประเด็นถกเถียงกันยกใหญ่
•
การเรียกร้องให้ยกเลิกการบังคับแต่งชุดเครื่องแบบนักเรียนมีการพูดถึงมาหลายปี หากจะย้อนดูก็อาจจะนับว่าเริ่มเป็นที่ถกเถียงกันตั้งแต่ต้นปี 2562 จากการที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนได้มีนโยบายให้นักเรียนใส่ชุดไปรเวทมาโรงเรียนได้ทุกวันอังคาร ตลอด 1 ภาคเรียน ทำให้สังคมเริ่มพูดถึงเรื่องนี้ ก่อนที่ในปี 2563 กลุ่มนักเรียนเลวจะออกมาเรียกร้องต่อกระทรวงศึกษาธิการให้มีการปฏิรูปการศึกษาไทย และหนึ่งในข้อเรียกร้องคือ ให้ยกเลิกการบังคับแต่งชุดนักเรียน ในช่วงเปิดเรียนในวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ก็ได้มีการรณรงค์ “1 ธันวาบอกลาเครื่องแบบ” ให้นักเรียนที่มีอุดมการณ์เดียวกันใส่ชุดไปรเวทไปโรงเรียนอีกด้วย โดยเหตุผลส่วนใหญ่คือเรื่องของสิทธิและเสรีภาพในการแต่งกาย ต่อต้านอำนาจที่โรงเรีนใช้บังคับการแสดงออกถึงตัวตนของเด็ก จนถึงในช่วงการเลือกตั้งที่ผ่านมา
•
พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงจากประชาชนมากที่สุดและกำลังอยู่ในช่วงจัดตั้งรัฐบาลอย่างพรรคก้าวไกล ก็มีนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาให้ยกเลิกการบังคับแต่งเครื่องแบบนักเรียนด้วย และล่าสุดก็มีกรณีของน้องหยกที่ทำให้เรื่องนี้เป็นที่ถกเถียงกันอีกครั้ง
•
แต่นอกเหนือจากประเด็นเรื่องสิทธิและเสรีภาพซึ่งเป็นหัวใจหลักของกระแสการเรียกร้องให้ยกเลิกเครื่องแบบนักเรียนแล้ว ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าประเด็นรองอย่างเรื่องของค่าใช้จ่ายก็อาจเป็นเหตุผลหลักของใครหลายคนที่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้น
•
ในภาคของการเงินส่วนบุคคล คงปฏิเสธไม่ได้ว่าค่าเครื่องแบบนักเรียนก็เป็นต้นทุนอย่างหนึ่งในการศึกษา และเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองต้องแบกรับอยู่เสมอ ยิ่งเด็กในวัยกำลังโตอย่างช่วงประถมหรือมัธยมต้นอาจต้องซื้อใหม่อยู่บ่อย ๆ หรือแม้แต่การย้ายโรงเรียน ทำให้ต้องซื้อเครื่องแบบใหม่
•
โดยในช่วงเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2566 ที่ผ่านมา ราคาชุดนักเรียนในท้องตลาดปรับขึ้นราว ๆ 20% จากต้นทุนที่สูงขึ้นและภาวะเศรษฐกิจ จากเดิมที่เคยมีราคาต่อชุดที่ประมาณ 300-600 กว่าบาทสำหรับชุดนักเรียนประถม และ 400-1,800 กว่าบาทสำหรับชุดนักเรียนมัธยม ปรับขึ้นเป็น ประมาณ 400-700 กว่าบาทสำหรับชุดนักเรียนประถม และ 500-2,000 กว่าบาทสำหรับชุดนักเรียนมัธยม และเด็กหนึ่งคนอาจใช้ตั้งแต่ 3-5 ชุด ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นไม่น้อย ทั้งนี้ยังไม่รวมรองเท้านักเรียนที่แตกต่างกันออกไปตามเครื่องแบบที่ใส่ คู่ละ 200-300 กว่าบาท อีกคนละ 2-3 คู่ ค่าใช้จ่ายโดยรวมในการซื้อหนึ่งครั้งแล้วก็อาจสูงถึงคนละ 4,000-6,000 กว่าบาท ซึ่งทั้งชุดและรองเท้าอาจต้องซื้อใหม่ทุก 1-2 ปี หรือเร็วกว่านั้นตามการเติบโตของเด็ก
•
แม้จะมีการสนับสนุนจากภาครัฐ โดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ขอความร่วมมือให้ภาคเอกชนช่วลดราคาเพื่อแบ่งเบาค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง และกรมการค้าภายในได้จัดโครงการลดราคาชุดนักเรียนสูงสุดถึง 85% แต่ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นการบรรเทาทุกข์แค่ช่วงหนึ่งเท่านั้น ผู้ปกครองบางส่วนหรือใครหลาย ๆ คนเลือกที่ประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วยการส่งต่อชุดกันในครอบครัวหรือเครือญาติ นำไปเลาะชื่อแล้วปักใหม่แทนการซื้อซึ่งก็ยังมีค่าใช้จ่ายอยู่ดี หากมีการยกเลิกเครื่องแบบนักเรียนเกิดขึ้น สิ่งที่จะหายไปก็คงจะเป็นภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในส่วนนี้
•
หากเรามาดูในภาคธุรกิจ ตลาดชุดนักเรียนซึ่งประกอบไปด้วย 3 เจ้าใหญ่ชื่อคุ้นหูอย่าง ตราสมอ น้อมจิตต์ และสมใจนึก มีมูลค่าตลาดเมื่อปี 2562 รวมกว่า 7,000 ล้านบาท และตลาดรองเท้านักเรียนต่างหากที่ 5,000 ล้านบาท แต่ก็เหมือนหลาย ๆ ธุรกิจที่หนีไม่พ้นพิษโควิด-19 รายได้ในปี 2564 ของทั้ง 3 แบรนด์หดตัวกว่า 20% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และไม่ใช่แค่เจ้าของแบรนด์เท่านั้น ร้านค้าปลีกบางส่วนก็มียอดขายที่ลดฮวบไปราว 70% จากความต้องการชุดนักเรียนที่ลดลงในช่วงของการเรียนออนไลน์ ซึ่งแน่นอนว่าหากยกเลิกการบังคับแต่งเครื่องแบบนักเรียน ตลาดนี้จะได้รับผลกระทบโดยตรงแม้ว่าจะไม่ใช่การยกเลิกเครื่องแบบไปเลย แต่เมื่อไม่ใช่สิ่งจำเป็น ความต้องการของตลาดย่อมลดลงเป็นธรรมดา สิ่งที่จะหายไปอีกอย่างก็คือรายได้ของธุรกิจนี้
•
ในเรื่องของเม็ดเงิน ฝั่งที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ก็คงเป็นผู้ปกครองที่ได้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการศึกษาของลูก ๆ ไปไม่น้อย แต่ทางภาคธุุรกิจคงได้ผลที่ตรงกันข้าม แม้ว่าจะยังไม่มีการประเมินว่ามูลค่าตลาดจะได้รับความเสียหายและลดลงไปมากน้อยเพียงใดจากความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นนี้ แต่หากนโยบายนี้เกิดขึ้นจริง ตัวเลขที่หายไปจะส่งผลต่อการมีอยู่อย่างมั่นคงมาตลอดหลายสิบปีของตลาดนี้อย่างแน่นอน
•
เหล่าแบรนด์ชุดนักเรียนอาจต้องเตรียมรับสถาณการณ์นี้โดยวางแผนธุรกิจให้ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยอาจต้องพิจารณาการผลิตสินค้าที่หลากหลาย ในเมื่อชุดนักเรียนเองอาจไม่สามารถเป็นรายได้หลักอีกต่อไป โอกาสจะไปตกอยู่ที่เสื้อผ้าแฟชั่นและเสื้อผ้าอเนกประสงค์มากขึ้น ก็อาจเป็นช่องทางที่ธุรกิจเหล่านี้จะได้เติบโตหรือเตรียมตัวย้ายตลาด แม้ว่าในตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นจะมีการแข่งขันสูงอยู่แล้วแต่ก็อาจเป็นทางรอดที่ดูจะเป็นไปได้มากที่สุด เพราะแบรนด์รองเท้านักเรียนเจ้าใหญ่อย่าง นันยาง ก็ได้ล่วงหน้าไปก่อนแล้ว โดยการผลิตไลน์สินค้าที่หลากหลายไม่ใช่แค่รองเท้านักเรียนเท่านั้น แต่ยังมีรองเท้าผ้าใบอเนกประสงค์ รองเท้าแฟชั่นมากมาย และยังมีรองเท้าแตะช้างด้าวสุดฮิตที่อาจเป็นคู่โปรดของใครหลาย ๆ คน คุณจั๊ก จักรพล จันทวิมล ทายาทอาณาจักรนันยางได้ให้สัมภาษณ์กับกรุงเทพธุรกิจว่า “นันยางไม่ได้เกิดมาจากการบังคับใส่เครื่องแบบนักเรียน แต่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภค หากเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นก็ต้องดูที่ผู้บริโภค ถ้าผู้บริโภคไปที่ไหน เราก็ต้องไปที่นั่น”
•
ส่วนการเรียกร้องให้ยกเลิกการบังคับใส่เครื่องแบบนักเรียนจะเป็นไปในทิศทางใด และสร้างความเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน คงต้องรอติดตามและปรับตัวไปพร้อมกัน
•
เขียนโดย ทักษ์ ทัพสุริย์
•
สามารถติดตามความเคลื่อนไหว connect the dots ได้ที่
Facebook : Connect the Dots
YouTube : www.youtube.com/@th.connectthedots
และทาง Spotify Podcast : connectthedotsth
#Connectthedots
•
ที่มา
เปิดมูลค่าตลาดเครื่องแบบนักเรียน “มูลค่าหมื่นล้านบาท” : PPTVHD36
เปิดรายได้ กำไร 3 แบรนด์ชุดนักเรียนไทย วัยรุ่นจีนฮิต จวีจิ้งอี โพสต์คิดถึง | ประชาชาติธุรกิจ | LINE TODAY
‘ราคาชุดนักเรียนปี 66’ แพงขึ้นกี่บาท ร้านไหนราคาน่ารัก เซ็กได้ที่นี่ (komchadluek.net)
“กรุงเทพคริสเตียน” สุดคึกคัก เด็กแต่งชุดไปรเวทมาเรียนวันแรก! : PPTVHD36
กลุ่มนักเรียนเลวตระเวนติดไวนิล “1 ธันวาบอกลาเครื่องแบบ” หลายจุด (thairath.co.th)
“นันยาง“ แบรนด์รองเท้าสุดเก๋า! ที่ไม่ยอมตกเทรนด์ – YouTube 

You Might Also Like

PTG โชว์ยอดขาย Non-Oil โต 32.2% กาแฟพันธุ์ไทย ขยายสาขาได้เฉลี่ย 1.5 สาขา/วัน

AOT ราคาเท่าไหร่ถึงเรียกว่าถูก?

เอพี ไทยแลนด์ โชว์ผลประกอบการ Q1/68 ยอดขายพุ่งทะลุ 12,110 ล้าน ย้ำศักยภาพทางการเงินแข็งแกร่ง

SET – Nasdaq ลงนาม MOU เสริมศักยภาพตลาดทุนไทยด้วยเทคโนโลยี

TAGGED: ชุดนักเรียน, ธุรกิจ

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
connectthedots admin June 26, 2023
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article ทำไมไอทีวีถึงอยู่ในใจคนและไม่หายไปไหนกว่า 16 ปี
Next Article ซาอุฯจะเป็นเจ้าภาพบอลโลก!! เปิดเบื้องหลังดีล (ไม่)ลับทำไมถึงทุ่มเงินจ้าง โรนัลโด้- เบนเซม่า
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?