CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: การแตกพาร์ คือ อะไร?
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Investment (Closed) > กูรูลงทุน > อับดุลลงทุน ถามมาตอบได้ > การแตกพาร์ คือ อะไร?
อับดุลลงทุน ถามมาตอบได้

การแตกพาร์ คือ อะไร?

connectthedots admin
Last updated: 2022/12/10 at 4:03 PM
connectthedots admin Published August 13, 2020
Share

สวัสดีครับ วันนี้ทีมอับดุลลงทุนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหุ้นมาฝาก ผมว่าการลงทุนไม่ใช่เรื่องยากแต่จะลงทุนให้ได้กำไรและมีความเสี่ยงน้อยเป็นเรื่องยาก ถ้าหากนักลงทุนมีพื้นฐานความรู้ไม่แน่นพอ โดยวันนี้จะมาพูดถึง “การแตกพาร์” 

การแตกพาร์ คือ อะไร?

การแตกพาร์ (Stock Split) คือ การเพิ่มสภาพคล่องให้กับตัวหุ้นเพื่อให้มีการซื้อ-ขายหุ้นในจำนวนมากขึ้น โดยทุนจดทะเบียนเท่าเดิม ราคาหุ้นลดลง แต่จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นในสัดส่วนเท่ากัน ซึ่งคนส่วนใหญ่จะชอบเข้าใจผิดว่าการแตกพาร์ เป็นการเพิ่มมูลค่าของหุ้น แต่จริงๆแล้วมูลค่าของหุ้นยังเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ปันผลก็เช่นเดียวกัน และไม่ได้มีผลต่อปัจจัยพื้นฐานของบริษัทแต่อย่างใด ผมจะยกตัวอย่างเรื่องการแตกพาร์ให้เข้าใจกันง่ายๆอีกรอบนะครับ เช่น หุ้น C หนึ่งหุ้นราคา 100 บาท แต่หุ้น C อยากเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อ-ขายมากขึ้น จึงแตกพาร์เหลือราคาหุ้นละ 20 บาท ดังนั้นตอนนี้นักลงทุนสามารถซื้อหุ้นได้จำนวน 5 หุ้นในราคา 100 บาท เพราะฉะนั้น ถ้าบริษัทมีการแตกพาร์เมื่อไหร่ เราไม่ต้องกลัวไป เพราะมูลค่าหุ้นที่เราถือนั้นยังคงเท่าเดิมอยู่ เพียงแต่มันอาจจะเปลี่ยนรูปแบบของหุ้นไปบ้างนั่นเอง

ทำไมต้องแตกพาร์

1. เพิ่มสภาพคล่อง

เนื่องจากการแตกพาร์นั้นจะทำให้เราได้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น ดังนั้นเราก็อาจถือโอกาสนำหุ้นที่ถูกแบ่งจากการแตกพาร์บางส่วนออกมาขายได้ และทำให้เราซื้อหุ้นง่ายขายหุ้นคล่องกว่าเดิม นอกจากนั้นการที่จำนวนหุ้นในระบบมากขึ้นนั้น ก็ส่งผลให้สภาพคล่องโดยรวมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

2. สามารถซื้อขายหุ้นได้ง่ายขึ้น

เนื่องจากการแตกพาร์จะทำให้ราคาหุ้นลดลง ทำให้เรามีโอกาสที่จะเป็นเจ้าของหุ้นได้ง่ายขึ้น เพราะว่าเราไม่จำเป็นต้องลงทุนด้วยเงินจำนวนมากอีกต่อไป ซึ่งบริษัทใหญ่ๆ เช่น หุ้นในกลุ่ม SET50 ก่อนแตกพาร์จะมีราคาหุ้นอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก ทำให้นักลงทุนที่จะเข้าซื้อแต่ละครั้งต้องใช้เงินจำนวนมาก โดยนักลงทุนรายย่อยได้แค่มองตาปริบๆแต่เอื้อมไม่ถึง ฉะนั้นจำนวนหรือสัดส่วนการถือหุ้นของรายย่อยจึงต่ำ เมื่อแตกพาร์แล้วราคาหุ้นที่เคยสูงติดเพดาน ระดับหลักร้อยหรือหลายร้อยบาทต่อหุ้น ก็ลดลงมาอยู่หลักสิบบาทต่อหุ้น ทำให้นักลงทุนรายย่อยยิ้มออก เพราะ เข้ามาร่วมแจมได้ ทำให้ภาพรวมสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้นก็มีมากขึ้น

ข้อเสียของการแตกพาร์

ถีงแม้ว่าการแตกพาร์จะช่วยเพิ่มสภาพคล่อง และ ซื้อ-ขายหุ้นได้ง่ายขึ้น แต่ทุกการกระทำย่อมมีผลตามมา…เนื่องจากปริมาณหุ้นที่เพิ่มมากขึ้น นักลงทุนเพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทต้องทำข้อตกลงกับนักลงทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การแตกพาร์จำนวนหุ้นที่เยอะเกินไป อาจหวือหวาแค่ช่วงแรกเท่านั้น แต่ในระยะยาวอาจทำให้ราคาหุ้นไม่ขยับไปไหน แต่บางบริษัทไม่ต้องการนักลงทุนรายย่อย ต้องการแต่ขาใหญ่เท่านั้น จึงไม่แตกพาร์เพราะไม่ต้องการให้มีการทำราคาหรือซื้อขายโดยนักเก็งกำไรในกระดานมากจนเกินไปนั้นเอง! อย่างไรก็ตามการแตกพาร์ถูกมองว่าเป็นการปั่นหุ้น ถึงขั้นมีวลีเด็ดในหมู่นักลงทุนว่า “ถ้าอยากให้มีการปั่น เก็งกำไร หรือสวิงมากๆ ต้องแตกพาร์อยู่เรื่อยๆ”

ถึงแม้การแตกพาร์จะมีทฤษฎีและเหตุผลที่ชัดเจน แต่ผมคิดว่าการแตกพาร์เป็นเรื่องของจิตวิทยาล้วนๆ และไม่ได้มีผลอะไรเลยในการเพิ่มมูลค่าของหุ้น โดยเฉพาะนักลงทุนระยะยาวจะรู้ว่าการแตกพาร์ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะมูลค่าหุ้นยังเท่าเดิม ปันผลเท่าเดิมแต่ได้จำนวนหุ้นที่มากขึ้น ในทางกลับกันนักเก็งกำไรระยะสั้น อาจจะมีการเก็งกำไรตามจังหวะตลาดบ้าง

ผมพูดมาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนคงมีคำถามในใจว่า…มีการแตกพาร์แล้ว มีการรวมพาร์ไหม? คำตอบคือ มีการรวมพาร์ครับ โดยวันนี้ทีมอับดุลลงทุนขอแถมความรู้เพิ่มเติมเรื่องการรวมพาร์อีกนิดให้นักลงทุนได้เข้าใจกันคร่าวๆนะครับ

การรวมพาร์ (Reverse Stock Split)

การรวมพาร์ (Reverse Stock Split) ก็คือการรวมหุ้นให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและหุ้นในระบบจะมีจำนวนลดลง ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่มูลค่าหุ้นของเราก็ยังคงเท่าเดิม หรือพูดง่ายๆก็คือ การรวมพาร์จะทำผลที่ตรงกันข้ามกับการแตกพาร์ ยกตัวอย่างเช่น หุ้น A มีราคา 20 บาทต่อหุ้น ต่อมาหุ้น A อยากให้หุ้นในระบบมีจำนวนลดลง จึงทำการรวมพาร์ให้หุ้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 100 บาทต่อหุ้น 

ทำไมต้องรวมพาร์

1. เพื่อภาพลักษณ์ราคาที่ดีขึ้น

ถึงแม้หุ้นจะมีประวัติดีขนาดไหน แต่ถ้าราคาถูกไป คงมีหลายคนลังเลที่จะลงทุนอยู่บ้าง จนบางครั้งผู้บริหารต้องตัดสินใจรวมพาร์เพื่อทำให้ราคาดูดีขึ้น เพราะ ราคาก็มีผลต่อภาพลักษณ์ และคนส่วนใหญ่มีแนวคิดที่ยึดติดว่าหุ้นราคาแพงๆคือหุ้นชั้นดี 

2. ลดจำนวนผู้ถือหุ้นลง

บางครั้งการมีจำนวนผู้ถือหุ้นมากเกินไปทำให้บริษัทต้องทำข้อตกลงกับนักลงทุนเพิ่มขึ้น ถ้าตกลงกันไม่ราบรื่นอาจจะมีผลเสียตามมาได้ ดังนั้นการลดจำนวนผู้ถือหุ้นลงก็อาจจะส่งผลดีในเชิงบริหารก็ได้ เพราะว่าผู้ถือหุ้นใหญ่จะได้มีสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลต่ออำนาจตัดสินใจในบริษัทที่สะดวกขึ้นด้วย

ทั้งนี้ การรวมพาร์อาจถูกมองว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ดีของบริษัทก็ได้ เพราะปกติบริษัทจะไม่รวมพาร์ตามอำเภอใจแน่ๆ นอกเสียจากว่าราคาหุ้นนั้นตกต่ำเกินไป ซึ่งมักจะมาจากผลประกอบการที่แย่ลงต่อเนื่อง แต่ยังไงก็ตาม มูลค่าหุ้นก็จะยังเท่าเดิมอยู่ดี ดังนั้นการรวมพาร์น่าจะเป็นเรื่องของจิตวิทยาเหมือนการแตกพาร์เช่นกัน

หากสนใจลงทุนในหุ้นต่างประเทศ

นักลงทุนสามารถลงทุนในหุ้นต่างประเทศกับ eToro ได้ ที่นี่ เพราะ eToro เป็นโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือโดยได้รับความไว้วางใจภายใต้การกำกับของ FCA และ CySec และนักลงทุนสามารถมั่นใจได้ว่าเงินทุนของท่านได้รับการคุ้มครองด้วยโปรโตคอลความปลอดภัยชั้นนำของอุตสาหกรรมอย่างมั่นคงปลอดภัย นอกจากนั้นคุณจะได้รับความเป็นส่วนตัวระดับสูง เพราะ เราจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

#CISThai

Line Official: https://lin.ee/jO65rNq

Website: https://connectthedotsth.com/

FB Fanpage: https://www.facebook.com/CreativeInvestmentSpace

You Might Also Like

วิกฤติธนาคารกระทบอย่างไรต่อคริปโต

หนังสือที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ แนะนำให้อ่าน

F-Score คืออะไร ? ส่องบริษัทไหนจะเจ๊งไม่เจ๊งผ่าน F-Score

เทคนิคเลือกหุ้นเพื่อการเกษียณ

TAGGED: การรวมพาร์, การแตกพาร์, ทำไมต้องรวมพาร์, ทำไมต้องแตกพาร์

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
connectthedots admin August 13, 2020
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเล็กน้อย แต่มีแนวโน้มว่าจะอ่อนค่าลงไปอีก
Next Article หุ้น คือ อะไร?
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?