หลักสูตร “Personal Branding Mastery for Business Leader” ใน session ของวันที่ 26 ตุลาคม ที่มาผ่าน คลาสของ ‘คุณอ้น ปฤณ จำเริญพานิช’ ได้มาร่วมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการใช้ AI และเครื่องมือดิจิทัลเพื่อเสริมสร้าง Personal Brand อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมให้การเรียนรู้กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลที่ตอบโจทย์กับผู้นำยุคใหม่
AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่แวดวงธุรกิจและอุตสาหกรรมให้ความสนใจกันเป็นอย่างมาก ซึ่ง AI ก็ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเรามากกว่าที่คิด
คุณอ้นได้บรรยายไว้ในคลาสว่า AI นั้นสามารถสร้างรูปภาพให้เราได้ดีขึ้น โดย Midjourney 300 บาท สามารถ Gen AI ได้ประมาน 200 กว่ารูป และมันใช้งานง่ายมาก โดย AI แต่ละตัวก็มีความถนัดและความฉลาดที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
– Sora AI by Open AI : ช่วย Text to image generated เพียงแค่พิมพ์อธิบาย รอการเปิดตัวในสิ้นปี 2024 นี้
– Luma AI / Kling AI : ช่วยเจนการ์ตูนและรูปภาพได้ด้วยคำอธิบาย ที่สำคัญไม่ต้องเจอค่าผลิตและค่า PDPA และสามารถทำภาษาไทยได้ สามารถเป็น AI Influencers
– GPT-4 Omni : วิเคราะห์รูปภาพ และ ช่วยการตลาดได้
– Suno : ช่วยสร้างเสียงร้องและเสียงเพลงได้ฟรี วันละ 10 เพลง
– Gemini / Copilots : เก่งในด้านของเอกสาร back office แต่ก็ยังไม่สามารถวิเคราะห์ได้เก่งเท่า ChatGPT
– Claude : เก่งภาษาไทยด้านคอนเทนต์มาก ๆ เปรียบเสมือนทีม copywriter
– Perplexity : คล้าย google ซึ่งหลักการทำงานของมันคือจะไปค้น google ให้ประมาน 10 link แล้วจากนั้นจะอ่าน ช่วยวิเคราะห์และสรุป พร้อมมีการอ้างอิงจากสิ่งที่อ่านมา
[Gen AI for business summary] มีการสรุปการใช้ AI ในแต่ละตัว ว่าช่วยในเรื่องไหนได้ดี ดังนี้
– Claude – copywriter
– Perplexity – marketing research
– Gemini – back office / mix work
– Copilot – secretary
– ChatGPT – Intern trainee
[ChatGPT]
การใช้งานของ ChatGPT นั้นจะต้องสั่งงานโดยละเอียด คุยลงลึก และไม่คุยกว้าง ๆ ที่สำคัญคือต้องเปิดห้องคุยทีละหัวข้อ AI จึงจะค่อย ๆ เรียนรู้พฤติกรรมคำถามของเราให้เก่งขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะต้องใส่ข้อมูลและอธิบายให้เยอะก่อนจะใช้งาน และเมี่อ AI ตอบมาให้ถามจี้ (prompt) ถามลงลึกไปเรื่อย ๆ โดยเคล็ดลับคือ “Input ข้อมูลตัวเราเองให้มากสุดเพื่อให้ AI ค้นหาได้”
แต่ถึงอย่างนั้นการ Input ข้อมูลเกี่ยวกับตัวของเราเองก็มีข้อเสียคือบางที่เราไม่ได้อยากให้ผู้อื่นนำข้อมูลของเราไปใช้ แต่เราอยากให้ AI รู้จักเราเพียงเท่านั้น ซึ่งข้อเสียนี้ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการตั้งค่าภายในแอพพลิเคชั่น
คุณอ้นยังได้ให้เคล็ดลับการใช้ AI เล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้อีกว่า “รูปภาพที่สร้างโดย AI นั้นไม่มีลิขสิทธิ์ สามารถนำไปใช้ได้เลย และจะไปจดลิขสิทธิ์ไม่ได้ ยกเว้น เราไปปรับแต่งด้วยพลังคนด้วยจึงจะสามารถจดได้ ในด้านของ Mega prompt structure ให้สั่งไปเลย ถ้าผิดให้ดุมัน แล้วสั่งใหม่ หรือชวนคุยเหมือนเพื่อน ให้เล่นบ่อย ๆ ถามมันทุกวัน ฝึกความสงสัย ถาม AI ให้ช่วยคิด prompt ก็ยังได้”
ทั้งนี้ AI เปรียบเสมือนคน ๆ หนึ่ง แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นไอเดียเกรด C และ AI ยังขาดความใส่ใจ อารมณ์ขัน รสนิยม รวมถึงจิตนาการที่อาจจะยังไม่เทียบเท่ากับมนุษย์ แต่ก็ต้องยอมรับว่า AI สามารถช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นและประหยัดเวลาได้จริง ๆ