ราคาพาร์ คือ ราคาที่แสดงทุนเริ่มต้นของบริษัทเมื่อตอนจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ หรือก็คือ “ราคาต้นทุนเริ่มต้นของบริษัท”
ตัวอย่างการคำนวณ
คำนวณจาก การนำมูลค่าทุนจดทะเบียนมาหารด้วยจำนวนหุ้นที่บริษัทออก
ยกตัวอย่างเช่น
● หุ้น A มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 50 ล้านหุ้น ราคาพาร์ของหุ้น A คือ 2 บาท
● หุ้น B มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 200 ล้านหุ้น ราคาพาร์ของหุ้น B คือ 0.5 บาท
ราคาพาร์ ควรสูงหรือต่ำ
จริงๆ แล้ว ราคาพาร์บอกอะไรเราไม่ได้เลย บอกได้แค่ว่าเงินเริ่มต้นก่อตั้งบริษัทมีเท่าไหร่ และบริษัทมีหุ้นทั้งหมดกี่หุ้นเท่านั้น บอกไม่ได้ว่าหุ้นตัวนั้นถูกหรือแพง ดีหรือไม่ดี
ซึ่งเมื่อบริษัทดำเนินธุรกิจไปเรื่อยๆ มูลค่าทรัพย์สินของบริษัทก็จะเปลี่ยนไป โดยราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาด จะขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงาน
“หุ้นแตกพาร์” คืออะไร?
หุ้นแตกพาร์ คือ การเพิ่มจำนวนหุ้นโดยการทำให้ราคาพาร์หุ้นตัวนั้น ๆ ลดลง แต่เมื่อนำราคาพาร์กับจำนวนหุ้นมาคำนวณรวมกันทั้งหมดก็จะได้มูลค่าเท่าเดิมก่อนแตกพาร์
เกิดอะไรขึ้นเมื่อหุ้นแตกพาร์
1. ราคาหุ้นลดลง เพิ่มโอกาสการซื้อขาย นักลงทุนรายย่อยสามารถจับต้องได้ง่าย
2. จำนวนหุ้นมากขึ้น เพิ่มสภาพคล่องในการลงทุน ซื้อขายง่ายขึ้นกว่าเดิม
Reference
https://www.krungsri.com/th/krungsri-the-coach/investments/investment-knowledge/definitions-of-par-price
https://knowledge.bualuang.co.th/knowledge-base/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2-par-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B9%84%E0%B8%89%E0%B8%99/