CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: อ้วนแล้วหนักหัวใคร? คนไทย 1 ใน 4 น้ำหนักเกิน เสี่ยงกระทบ GDP ร่วงเกือบ 5 %
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Opinion > อ้วนแล้วหนักหัวใคร? คนไทย 1 ใน 4 น้ำหนักเกิน เสี่ยงกระทบ GDP ร่วงเกือบ 5 %
Opinion

อ้วนแล้วหนักหัวใคร? คนไทย 1 ใน 4 น้ำหนักเกิน เสี่ยงกระทบ GDP ร่วงเกือบ 5 %

CTD admin
Last updated: 2024/12/20 at 9:43 AM
CTD admin Published December 20, 2024
Share

Mintel บริษัทด้านข้อมูลระดับโลกเผยผลวิจัยในรายงาน Weight Management Diets – Thai Consumer – ปี 2024 พบว่าคนไทย 25% ระบุว่ามีน้ำหนักเกินหรืออ้วน มีเพียง 11% เท่านั้นที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และยังพบว่าคนไทยให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ (69%) มากกว่าสุขภาพ (65%)

นอกจากนี้ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขยังพบว่าในปี 2566 คนไทยเกือบครึ่งหนึ่งต้องเผชิญปัญหาโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน และนั่นอาจส่งผลให้ GDP ของประเทศหดตัวถึง 4.9%

ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นปัญหาใหญ่ด้านสุขภาพที่กำลังเกิดขึ้นกับคนไทย ซึ่งไม่ได้ส่งผลแค่ต่อด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านเศรษฐกิจด้วย

ว่าแต่อ้วนแล้วมันส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจได้อย่างไร?

ผลิตภาพของแรงงาน

คนที่มีน้ำหนักเกิน หรือป่วยโรคอ้วนมักจะมีปัญหาสุขภาพตามมาอยู่เสมอ แม้อ้วนแล้วแข็งแรงจะมีอยู่จริงแต่ก็ไม่ใช่ทุกเคส เพราะงานวิจัยจำนวนมากพบว่าคนอ้วนอย่างไรก็มีความเสี่ยงโรคหัวใจ เบาหวาน เส้นเลือดในสมองแตก ฯลฯ มากกว่า ทำให้อาจจะพูดได้ว่าในระยะยาวแล้ว อ้วนก็ไม่ได้แข็งแรงนั่นแหละ จึงทำให้คนอ้วนอาจต้องลาป่วยมากกว่า และด้วยปัญหาสุขภาพก็อาจทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผลิตผลที่ได้จากการทำงานน้อยลง

ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ

ในประเทศที่รัฐบาลมีสวัสดิการด้านสาธารณสุขให้กับประชาชน งบประมาณด้านสาธารณสุขส่วนหนึ่งก็ถูกนำไปใช้จ่ายกับโรคอ้วนและโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ตามมา คิดเป็น 13.2% ของงบประมาณสาธารณสุขทั่วโลกหรือกว่า 29 ล้านล้านบาท

สำหรับภาคธุรกิจก็นับเป็นต้นทุนที่ต้องเสีย ทั้งจากต้นทุนประกันสุขภาพ และความเสียหายจากแรงงานที่ป่วยเรื้อรัง

สูญเสียทรัพยากรบุคคล

ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในประเทศไม่ใช่เงินหรือแร่อะไร แต่เป็นประชากรที่อาศัยและขับเคลื่อนประเทศนี่แหละ และโรคอ้วนคืออุปสรรคสำคัญที่เข้ามาทำลายทรัพยากรนี้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเผยว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรคอ้วนปีละกว่า 20,000 คน และองค์กรอนามัยโลกพบว่าทั่วโลกมีคนเสียชีวิตจากโรคอ้วนหรือเบาหวานอย่างน้อยปีละ 2.8 ล้านคน ในยุคปัจจุบันที่อัตราการเกิดต่ำแบบนี้ คนยิ่งเป็นสิ่งที่ทดแทนได้ยากมาก

ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมบางประเภท

การบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพเพิ่มขึ้นอาจทำให้รายได้ของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปและฟาสต์ฟู้ดเพิ่มขึ้นในระยะสั้น แต่ทำให้ต้นทุนทางสุขภาพของสังคมเพิ่มขึ้นในระยะยาว

ส่วนอุตสาหกรรมสุขภาพและฟิตเนส แม้จะมีโอกาสทางธุรกิจที่ตอบโจทย์เทรนด์สุขภาพที่ตามมา แต่ผลลัพธ์ในภาพรวมเศรษฐกิจอาจไม่เพียงพอที่จะชดเชยความเสียหายที่เกิดจากโรคอ้วนได้

ผลกระทบทางอ้อม

การเป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน อาจทำให้ครอบครัวต้องแบกรับภาระค่ารักษาพยาบาลอาจลดการบริโภคสินค้าและบริการอื่น รวมถึงการออมในระยะยาว และอาจส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนกลุ่มที่มีรายได้น้อยมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนสูงกว่า เพราะเข้าถึงอาหารสุขภาพและบริการด้านสุขภาพที่จำกัด ตามที่ข้อมูลจาก Mintel เผยว่าคนไทยจำนวนมากมุ่งมั่นกับการกินเพื่อสุขภาพ แต่เงินที่มีจำกัดเป็นอุปสรรคสำคัญ ส่งผลให้วงจรความยากจนดำเนินต่อไป

ไม่ใช่แค่ไทยเท่านั้นที่ต้องเผชิญความเสี่ยงผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากโรคอ้วน ประเทศเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลกอย่างสหรัฐอเมริกาก็ยังต้องเผชิญกับปัญหานี้อย่างหนัก 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่ชาวอเมริกันมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขกว่าปีละ 1.73 แสนล้านดอลลาร์

เพราะฉะนั้นถ้าจะพูดว่า “อ้วนแล้วมันหนักหัวใคร” ข้อมูลนี้ก็คงพอเป็นคำตอบให้ได้ประมาณหนึ่ง

แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าคนอ้วนเขาผิด คนอ้วนเขาไม่ดี หรือต้องไปเบลมคนอ้วนกันหมด เพราะจริง ๆ แล้วสาเหตุที่คนอ้วนมันมาจากหลากหลายปัจจัยมาก ๆ ไม่ใช่แค่กินตามใจปากเท่านั้น อาจต้องพิจารณาทั้งนโยบายด้านสุขภาพ อาหาร ความรู้ด้านโภชนาการในประเทศ หรือแม้แต่วนกลับมาที่เศรษฐกิจเองที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถบริโภคของดี ๆ ได้ เรื่องนี้ก็ต้องเห็นใจกันหน่อย

อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้ก็ไม่ได้แสดงถึงความเสี่ยงเท่านั้น แต่ยังเผยให้เห็นโอกาสของภาคธุรกิจที่สามารถเข้ามาคว้าไว้ได้ ผ่านแคมเปญด้านสุขภาพ ทั้งในแง่ของการบริโภคอย่างเหมาะสมและการออกกำลังกายอย่างเพียงพอ แต่ก็อย่าลืมว่าเรื่องราคาคงไม่ใช่สิ่งที่จะเข้ามาทำให้ฉาบฉวยแล้วกอบโกยไปได้ เพราะด้วยกำลังซื้อทำจำกัดทำให้ผู้บริโภคชาวไทยไม่ได้พร้อมจ่ายขนาดนั้น

You Might Also Like

วัดกำลังอสังหาฯ ยามพบศึกหนัก แผ่นดินไหว vs สงครามการค้า บ้านแนวราบโต แต่ตลาดคอนโดตึกสูงสั่นคลอน

“เอกา โกลบอล” ประเมินธุรกิจบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร รับมือนโยบาย ‘ทรัมป์’

นโยบายประชานิยม กับดักความจน ตัวการพังเศรษฐกิจไทย?

YLG ชี้ทองคำแกว่งตัวกรอบบน รับดอลลาร์อ่อนค่า ลุ้นแตะ 3,000 ดอลลาร์

TAGGED: GDP, Mintel, กระทรวงสาธารณสุข, เศรษฐกิจ, โรคอ้วน

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
CTD admin December 20, 2024
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article ‘บมจ.โรงพยาบาลนครธน’ เข้าเทรดวันแรกใน SET ชู 3 โครงการเพิ่มศักยภาพเติบโต มุ่งสู่การเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลชั้นนำระดับประเทศ
Next Article “แพลททินัม ฟรุ๊ต” ยื่นไฟลิ่งเสนอขาย 200 ล้านหุ้น เข้า SET
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?