CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: January Effect ทฤษฏีตลาดหุ้นขาขึ้นในเดือนมกราคมจริงหรือมั่ว?
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Investment > January Effect ทฤษฏีตลาดหุ้นขาขึ้นในเดือนมกราคมจริงหรือมั่ว?
Investment

January Effect ทฤษฏีตลาดหุ้นขาขึ้นในเดือนมกราคมจริงหรือมั่ว?

CTD admin
Last updated: 2024/03/11 at 9:16 PM
CTD admin Published January 5, 2024
Share

เข้าสู่เดือนแรกของปีใหม่อย่างเดือนมกราคมแบบนี้ หลายคนคงคาดหวังไว้ให้อะไรดี ๆ เกิดขึ้นแน่นอน รวมถึงเหล่านักลงทุนหลายคนที่เชื่อใน “January Effect” หรือทฤษฎีที่ว่าตลาดหุ้นจะปรับตัวขึ้นในทุกเดือนมกราคม

ฟังดูเผิน ๆ ก็เหมือนจะเป็นเรื่องล้อเล่น เพราะเรื่องของหุ้น การลงทุนมันมีปัจจัยมากมายที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงความเคลื่อนไหวของตลาด การที่ตลาดปรับตัวรูปแบบเดิมซ้ำ ๆ ทุกปีมันจะเป็นไปได้อย่างไร แต่อันที่จริงแล้ว เรื่องนี้มันมีหลักการ ถึงเรียกว่าเป็นทฤษฎีได้ แต่เหตุและผลจะฟังขึ้นแค่ไหน พิสูจน์ได้จริงไหม

ที่มาที่ไปของ January Effect มาจากตลาดหุ้นฝั่งสหรัฐฯ ในปี 1942 นู่นแหละ เมื่อที่ปรึกษาการเงิน Sidney B. Wachtel เขาไปสังเกตเห็นว่าข้อมูลหุ้นย้อนหลังถึงปี 1925 หุ้นขนาดเล็กมีประสิทธิภาพดีกว่าหุ้นบริษัทใหญ่ ๆ ในตลาดช่วงเดือนมกราคม โดยเฉพาะในช่วงครึ่งเดือนแรก ซึ่งต่อมาก็มีการศึกษามากมายที่ยืนยันแนวโน้มของทฤษฎีนี้

แล้วมันเกิดจากอะไร ทำไมต้องเดือนมกราคม

สาเหตุสำคัญของการที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นในเดือนมกราคม หลัก ๆ จะมาจาก

[ภาษี]
นักลงทุนขายหุ้นที่ขาดทุนเพื่อลดภาษีในช่วงสิ้นปี แล้วกลับมาซื้อหุ้นใหม่ในเดือนมกราคม เพราะในบางประเทศมีนโยบายที่สามารถนำผลขาดทุนไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ แล้วเมื่อใช้ประโยชน์จากการลดหย่อนแล้วก็กลับเข้ามาซื้อใหม่

[โบนัส]
เหล่านักลงทุนที่ทำงานประจำไปด้วยได้รับโบนัสในช่วงสิ้นปี จึงนำเงินส่วนนั้นมาซื้อหุ้นในตลาดช่วงเดือนมกราคม

[กำไร]
นักลงทุนมักขายหุ้นบางส่วนเพื่อทำกำไรในช่วงสิ้นปีก่อนหยุดยาว อาจเพื่อการนำไปใช้จ่ายหรือปรับแต่งพอร์ต และกลับมาซื้ออีกครั้งในช่วงเดือนมกราคม

[แต่งหน้าร้าน]
บรรดากองทุนใหญ่ต่าง ๆ จะทำ Window Dressing หรือแต่งรายงานประจำปีใด้ผลประกอบการออกมาดี ก็จะขายหุ้นประสิทธิภาพต่ำออกไปในช่วงสิ้นปี และกลับมาซื้อหุ้นคุณภาพดีเพิ่มขึ้นในเดือนมกราคม ก่อนจะมีการแบ่งปันผลในเดือนมีนาคม

[จิตวิทยาปีใหม่]
นักลงทุนหรือคนที่สนใจเรื่องการลงทุนหลายคนเชื่อว่าเดือนมกราคมเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับการเริ่มลงทุน หรือแม้แต่การเริ่มทำตาม New Year Resolutions ด้านการลงทุน ด้วยการซื้อหุ้นตุนไว้ในพอร์ต เพราะนี่คือช่วงปีใหม่ อะไรดี ๆ มักจะเกิดขึ้นเสมอ

[ช้อนปลายปีราคาดีน่าซื้อ]
ในช่วงปลายปีมักมีการ Sell-Off หุ้นในราคาถูก ซึ่งอาจไม่ได้มาจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัท ซึ่งดึงดูดนักลงทุนที่ต้องการซื้อในราคาที่ถูกกว่า พอซื้อมากเข้าก็ส่งผลให้หุ้นเหล่านั้นมีราคาสูงขึ้นในเดือนมกราคม
โดยรวมแล้วจะเห็นว่าไอเดียสำคัญของการที่ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้นในเดือนมกราคมมาจากการเทขายช่วงปลายปี ตลาดเลยอาจปรับตัวลงมาบ้าง และแห่กันซื้อกันตลอดช่วงปลายปีจนถึงเดือนมกราคม ตลาดจึงปรับตัวขึ้นและคึกคักเป็นพิเศษ


แล้วมันเป็นไปตามนั้นจริงไหม

คำตอบคือ จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะจริง ที่บอกอย่างนี้เพราะอยากให้เห็นว่าแม้เรื่องของสถิติมันจะย้อนดูและพิสูจน์กันได้ แต่ในโลกการลงทุน สถิติของวันวานไม่สามารถการันตีผลในอนาคต และแม้ว่าแนวคิดเรื่อง January Effect จะมีต้นกำเนิดมาจากตลาดหุ้นอเมริกา แต่ตลาดนั้นกลับเป็นไปตามแนวโน้มของทฤษฎีน้อยกว่าตลาดหุ้นไทย ซึ่งรับแนวคิดนี้มาทีหลังเสียด้วยซ้ำ

ในหลาย ๆ งานวิจัยเกี่ยวกับ January Effect ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ หรือ S&P500 ในช่วง 10 ปี พบว่ามี January Effect เกิดขึ้นราว40% ซึ่งแทบไม่ต่างกับโอกาสในการโยนเหรียญออกหัวก้อย และค่าเฉลี่ยผลตอบแทนอยู่แค่ที่ 0.2-0.3%

รวมถึงในตลาดหุ้นประเทศอื่น ๆ อย่างยุโรป ญี่ปุ่น หรือจีนก็เกิดขึ้นไม่บ่อยและผลตอบแทนค่อนข้างน้อยถึงติดลบด้วยซ้ำ

ตัดภาพมาที่ตลาดหุ้นไทย หรือ SET ช่วง 10 ปีย้อนหลังมี January Effect เกิดขึ้นกว่า 70% และมีผลตอบแทนราว 1.85% เลย

นั่นหมายความว่า จริง ๆ แล้วทฤษฎีนี้ค่อนข้างสอดคล้องกับตลาดหุ้นไทย แต่อีกนัยก็หมายความว่ามันไม่ได้เป็นทฤษฎีที่ครอบคลุมและเชื่อได้มากขนาดนั้น

และในปัจจุบันนี้ตลาดต่าง ๆ มีการปรับตัวตามยุคสมัยและเทรนด์การลงทุนที่เปลี่ยนไป ในภาพรวมเห็นได้ว่าการเกิดขึ้นของ January Effect นั้นลดลงอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตามคนที่เชื่อใน January Effect อาจใช้มันเป็นตัวบ่งชี้ว่าตลาดหุ้นในปีนั้นจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลง แต่ไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่ ผลกระทบนี้อาจไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เนื่องจากมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อตลาดหุ้นมากมาย ไม่ควรพึ่งพาทฤษฎีนี้เป็นหลักในการตัดสินใจลงทุน แต่ควรพิจารณาสภาพตลาดและปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อผลตอบแทนของหุ้นอย่างรอบคอบ อย่าให้ใครมาจูงจมูกจนตกเป็นเหยื่อของทฤษฎีนี้ได้ง่าย ๆ ถ้าไม่อยากพอร์ตแดง

ด้วยความปรารถนาดีจาก Connect the Dots

You Might Also Like

“เอกา โกลบอล” ประเมินธุรกิจบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร รับมือนโยบาย ‘ทรัมป์’

Webull ชูจุดแข็งท่ามกลางตลาดผันผวน ด้วย Daily Interest รับดอกเบี้ย 3.5% ต่อปี

นโยบายประชานิยม กับดักความจน ตัวการพังเศรษฐกิจไทย?

TISA แนวคิดใหม่ของตลาดหลักทรัพย์ฯ “ซื้อหุ้น ได้ลดหย่อนภาษี” หวังช่วยหนุนตลาดหุ้นไทย

TAGGED: การลงทุน, การลงทุนยุคใหม่, การลงทุนโลก, ความรู้การลงทุน, ตลาดหุ้น, นักลงทุน, ลงทุน, สินทรัพย์, หุ้น, เศรษฐกิจ

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
CTD admin January 5, 2024
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ผู้ปลุกปั้นเบียร์ช้าง
Next Article ผ่ากระแสวีแกน – แพลนต์-เบสด์ จุดเริ่มต้นมาจากไหน? ตกลงควรกินไหม? กินแล้วทั้งเราและโลกได้ประโยชน์อะไร?
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?