CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: รู้จัก ‘ภาวะเงินเฟ้อ’ ก่อนที่เงินในกระเป๋าของคุณจะหายไปอย่างไม่รู้ตัว
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Investment (Closed) > รู้จัก ‘ภาวะเงินเฟ้อ’ ก่อนที่เงินในกระเป๋าของคุณจะหายไปอย่างไม่รู้ตัว
Investment (Closed)

รู้จัก ‘ภาวะเงินเฟ้อ’ ก่อนที่เงินในกระเป๋าของคุณจะหายไปอย่างไม่รู้ตัว

connectthedots admin
Last updated: 2023/07/01 at 5:27 AM
connectthedots admin Published April 6, 2022
Share

“คุณคิดว่าเงินจำนวน 100 บาท ในปัจจุบัน และ 5 ปีก่อน มีค่าเท่ากันหรือเปล่า?”

แน่นอนว่าสำหรับคนที่อยู่ในวัยทำงาน คงจะไม่รู้สึกเช่นนั้นอย่างแน่นอน หากสังเกตุจากราคาของอาหารตามสั่งเมื่อ 5 ปีก่อน เมื่อเปรียบเทียบกับในปัจจุบันแล้วนั้น ดูเหมือนว่าเงิน 100 บาท จะไม่สามารถทำให้คุณอิ่มท้องได้เหมือนเมื่อก่อนเสียแล้ว โดยแม้ว่าการขึ้นราคาของสินค้า และบริการนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย แต่หนึ่งในปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ราคาสิ่งของเครื่องใช้แพงขึ้นนั่นคือ ‘ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation)’ ภาวะเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นไปทั่วทุกมุมโลก และรอคอยการแก้ไข

และก่อนที่จะไปถึงวิธีป้องกันไม่ให้เงินในบัญชีของคุณต้องมลายหายไป Creative Investment Space จึงอยากจะขอปูพื้นฐานถึงความหมาย, สาเหตุ และผลกระทบของการเกิดเงินเฟ้อเสียก่อน เพื่อที่จะได้เข้าใจว่าเงินเฟ้อนั้นส่งผลต่อตัวคุณทั้งทางตรง และทางอ้อมอย่างไรกันบ้าง

“ภาวะเงินเฟ้อคืออะไร?”

ภาวะเงินเฟ้อคือ ภาวะที่สินค้า และบริการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ‘ของแพงขึ้น’ นั่นเอง ดังนั้นการปล่อยให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อมากขึ้นเรื่อยๆ ย่อมส่งผลต่อปากท้องของประชาชน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานเข้ามากำกับดูแล เพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อนจากภาวะข้าวยากหมากแพง

โดยในประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงก็คือ ‘กระทรวงพานิชย์’ ผู้ดูแลด้านราคาของสินค้า และบริการไม่ให้แพงเกินไป และ ‘ธนาคารกลาง’ ที่ใช้นโยบายทางการเงินที่เรียกว่า ‘อัตราดอกเบี้ยนโยบาย’ และ ‘การควบคุมปริมาณของเงินในระบบ’ เพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ และไม่ผันผวนจนเกินไป โดยเชื่อว่าการปล่อยให้เกิดอัตราเงินเฟ้อเล็กน้อย จะช่วยให้สภาพเศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างเหมาะสม 

ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดเงินเฟ้อนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งหมด 3 ประการ ได้แก่ 

1. ความต้องการในการซื้อสินค้า และบริการของประชาชนเพิ่มขึ้น (Demand-Pull Inflation)

การที่สินค้า และบริการไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ผู้ขายทำการปรับขึ้นราคาตามกลไกของตลาด 

2. ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (Cost-Push Inflation)

การที่ราคาค่าแรง และต้นทุนดิบมีการปรับตัวสูงขึ้น จนทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จึงทำการขึ้นราคาสินค้า และบริการ 

3. นโยบายการคลังแบบผ่อนคลาย (Expansionary Fiscal Policy)

หรือคือการกำหนดนโยบายที่มีผลกระทบต่อเงินในระบบของประเทศ ผ่านการใช้อัตรานโยบายดอกเบี้ยที่ช่วยลดต้นทุนการกู้ยืมของธนาคาร ทำให้ธนาคารสามารถปล่อยกู้ให้กับเอกชนได้มากขึ้น หรือการทำมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing/QE) การเพิ่มเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาล โดยหวังกระตุ้นให้ประชาชนหันมาจับจ่ายใช้สอยเงินเพื่อให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้น โดยส่วนมากแล้วนั้น นโยบายการคลังแบบผ่อนคลายจะถูกใช้ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจของประเทศมีการหดตัว

ดังนั้นเมื่อสินค้า และบริการปรับตัวขึ้นสูงขึ้นส่งผลให้เงินในกระเป๋าของคุณนั้นสามารถจับจ่ายใช้สอย ซื้อสิ่งของได้น้อยลง หรือพูดง่ายๆ คือ เงินของคุณด้อยมูลค่าลงนั่นเอง ดังนั้นผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อมากที่สุดคือ ‘บุคคลที่ได้รับรายได้เท่าเดิม ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อขยายตัวสูงขึ้นตลอดเวลา’

ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจของประเทศได้ ในเมื่อเงินของเรากำลังด้อยมูลค่าลง สิ่งที่จำเป็นจะต้องทำเพื่อรักษาความมั่งคั่งของคุณไว้ได้คือ ‘การหารายได้ให้มากขึ้น’ ซึ่งทางเลือกที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ ‘การลงทุนนั่นเอง’ 

เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วจึงมีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนให้เรามีเงินมากขึ้นกว่าเดิม หรืออย่างน้อยต้องเท่ากับมูลค่าของเงินที่สูญเสียไปจากเงินเฟ้อ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในสิ่งใดจะต้องคำนวนหา ‘อัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนที่แท้จริง (Real interest rate)’ เพราะต้องอย่าลืมว่าผลตอบแทนที่เราได้จากการลงทุนนั้นจำเป็นจะต้องนำมาหักลบกับ ‘อัตราเงินเฟ้อ (Interest rate)’ นักลงทุนจะได้เลือกสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้

ยกตัวอย่างเช่น หากอัตราผลตอบแทนดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร A อยู่ที่ 2% ต่อปี และในปี 2564 อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1.23% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของคุณจะอยู่ที่ 0.77% เท่านั้น นันหมายความว่าภายในปี 2564 หากอัตราผลตอบแทนการลงทุนของคุณอยู่น้อยกว่า 1.23% จะทำให้เงินที่คุณลงทุนไปด้อยมูลค่าลงอยู่ดี โดยสินทรัพย์ที่ได้รับความนิยมในการลงทุนเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อก็ได้แก่ ทองคำ, หุ้น, คริปโตเคอร์เรนซี่, กองทุนรวม,พันธบัตรรรัฐบาล และอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ 

จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากสำหรับนักลงทุน ในการติดตามแนวทางการกำหนดนโยบายทางการเงิน และสภาพเศรษฐกิจของประเทศ เพราะนอกจากเพื่อให้ทราบถึงอัตราเงินเฟ้อแล้วนั้น การขึ้นลงของราคาสินทรัพย์บางตัวยังขึ้นอยู่ปัจจัยเหล่านี้อีกด้วย นักลงทุนจึงควรที่จะต้องศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนอย่างรอบด้าน เพื่อที่จะได้ ‘ตั้งเป้าหมาย’ และ ‘วางแผนลงทุน’ ของตัวเองให้เหมาะสม

ที่มา:

https://www.blockdit.com/posts/60505a8945e06509dcca3b37

https://www.investopedia.com/articles/investing/081315/9-top-assets-protection-against-inflation.asp

https://www.bot.or.th/App/FinancialLiteracy/ExchangeRate/01_01_contentdownload_inflation.pdf

https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/226-the-effect-of-inflation-to-investment-asset

https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/how-to-invest-win-inflation.html

https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/981231

You Might Also Like

“เอกา โกลบอล” ประเมินธุรกิจบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร รับมือนโยบาย ‘ทรัมป์’

Bitcoin ช่วยป้องกันเงินเฟ้อได้ดี ท่ามกลางการจัดระเบียบโลก

นโยบายประชานิยม กับดักความจน ตัวการพังเศรษฐกิจไทย?

YLG ชี้ทองคำแกว่งตัวกรอบบน รับดอลลาร์อ่อนค่า ลุ้นแตะ 3,000 ดอลลาร์

TAGGED: การลงทุน, การลงทุนโลก, ความรู้การลงทุน, รายได้, ลงทุน, สินทรัพย์, เงินเฟ้อ, เศรษฐกิจ, เศรษฐกิจโลก

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
connectthedots admin April 6, 2022
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article Stablecoin คืออะไร?
Next Article แนวรับแนวต้าน และทิศทางของตลาด
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?