ในยุคที่เราคุ้นเคยกับธุรกิจที่เปิดบริการ 24 ชั่วโมง อย่างร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ศูนย์การค้า ฟิตเนส ฯลฯ แต่ถ้าย้อนไป50ปีที่แล้ว ในยุคที่ห้างสรรพสินค้าไม่ได้มากมาย โทรทัศน์ยังมี3-4ช่อง กรุงเทพฯบางพื้นที่ยังเป็นที่นาที่สวนมากมาย และตลาดสดเองก็ยังเป็นสถานที่มีคนไปจับจ่ายซื้อของเป็นหลัก
•
ถ้ามีคนบอกว่า คิดเปิดซุปเปอร์มาร์เก็ต 24 ชั่วโมง แน่นอน ใครได้ยินคงคิดว่า ใครที่ไหนมันจะไปซื้อของดึกๆดื่นๆ แต่นั่นไม่ใช่ความคิดของคุณสมศักดิ์ ตีระพัฒนกุล หรือ แฟรงค์ ลิม ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ เติบโตและจบการศึกษาชั้นมัธยมที่ฮ่องกง ก่อนจะย้ายมาตั้งถิ่นฐานในไทย ผู้ก่อตั้งฟู้ดแลนด์ ผู้สร้างตำนานซูเปอร์มาร์เก็ต เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง แห่งแรกในไทยและในเอเชีย ซึ่งปิดมาตั้งแต่ปี 2515
•
ฟู้ดแลนด์ เป็นซูเปอร์มาร์เก็ต 24 ชั่วโมงแห่งแรกของไทย และเอเชียก่อตั้งโดยคุณสมศักดิ์ ตีระพัฒนกุล ที่เห็นโอกาสทางธุรกิจ จากการเดินทางไปทำงานต่างประเทศทั่วโลกในฐานะลูกน้องของบริษัทข้ามชาติกว่า 15 ปี
•
ขณะนั้น ซูเปอร์มาร์เก็ตในไทยแห่งแรก คือ เจนี สโตร์ เปิดกิจการเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม2494 ที่ถนนพระราม 4 ตรงข้ามวังสระปทุม โดยคุณเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง นักธุรกิจชาวไทย
•
ส่วนเมื่อ50ปีที่แล้ว คุณสมศักดิ์พบว่า มีซูเปอร์มาร์เก็ตเพียงแห่งเดียวคือ เดลี เลน อยู่ที่ย่านชิดลม ซึ่งถือเป็นธุรกิจใหม่และมีคู่แข่งรายเดียว ทำให้คุณสมศักดิ์หุ้นกับเพื่อน 7 คน เปิดซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งแรกที่เพลินจิต ในปี 2515 โดยยังไม่ได้ใช้ชื่อว่า ฟู้ดแลนด์ แต่ชื่อว่า เพลินจิต ซูเปอร์มาร์เก็ต มีจุดเด่นคือ เป็นห้องกระจกปิดประตู ติดแอร์ และเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง แห่งแรกในไทยและเอเชีย
•
เพียง 6 เดือน ร่วมหุ้นกับเพื่อนอีก1 กลุ่ม เปิดพัฒน์พงศ์ ซูเปอร์มาร์เก็ต อยู่ในซอยพัฒน์พงศ์
แต่เนื่องจากนี่คือธุรกิจใหม่ แม้แต่คนมีฐานะ ก็ไม่กล้าเข้าไป เพราะทั้งติดแอร์และปิดประตูกันแอร์ออก และไม่รู้จักว่า มันคือร้านอะไร และคุณสมศักดิ์ยังไม่เชี่ยวชาญในธุรกิจนี้
•
ในปี 2517 จึงว่าจ้างมืออาชีพชาวฮ่องกง เป็นกรรมการผู้จัดการมาบริหาร พร้อมกับการ Take Over หรือ ซื้อกิจการ เดลี เลน มาบริหารเอง กลายเป็นสาขาที่ 3 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อใหม่ทั้งหมดเป็นฟู้ดแลนด์นั่นเอง
•
“ฟู้ดแลนด์” (Foodland) หมายถึง “ดินแดนอาหาร” สื่อถึงจุดแข็งด้านการเป็นศูนย์รวมวัตถุดิบปรุงอาหาร โดยมีสินค้ากลุ่มอาหารถึง 85% เช่น แผนกเนื้อสัตว์ cold cut ไวน์ ช็อกโกแลต เพราะการเปิดบริการตลอด24ชั่วโมง ทำให้คงรักษาคุณภาพ และความสด รวมทั้งสามารถมาซื้อได้ตลอดเวลา
•
ในอดีตฟู้ดแลนด์ขยายสาขาค่อนข้างช้า ก่อนที่ทายาทรุ่นที่ 2 อธิพล ตีระสงกรานต์ จะเข้ามาบริหาร จนปัจจุบันมี 24 สาขา ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด รวมทั้งธุรกิจดาวรุ่งของฟู้ดแลนด์ นั่นคือ ถูกและดี ร้านอาหารตามสั่งแบบ QSR (Quick Service Restaurant) ที่เปิด 24 ชั่วโมงเช่นกัน
•
ถูกและดี กลายเป็นอีก 1 ดาวรุ่งของธุรกิจฟู้ดแลนด์ที่สามารถเติบโตปีละ 10% ส่วนซุปเปอร์มาร์เก็ตอยู่ที่ปีละ 3-4% โดยเฉพาะเมนู ที่แจ็คสัน หวัง ศิลปินชื่อดัง แนะนำ คือ ข้าวผัดอเมริกันและซุปข้าวโพด เมื่อปี 2565
•
เดิมถูกและดี คือ มุม Coffee Shop เพื่อให้คุณสามีมานั่งรอภรรยาระหว่างช้อปปิ้งซื้อของเข้าบ้าน ก่อนจะพัฒนาเป็นเมนูและร้านอาหาร คอนเซ็ปต์ว่า “ปรุงสดใหม่ ที่คุ้มค่า คุ้มราคา สามารถรับประทานได้ทุกวัน” ที่สามารถนำวัตถุดิบภายในซูเปอร์มาร์เก็ต สร้างสรรค์เป็นเมนูอาหารกว่า 100 เมนู ตั้งแต่ 70 ถึง 200 บาท
•
นอกจากนี้ ฟู้ดแลนด์ยังมี ไส้กรอกแบรนด์ Butcher’s choice เบเกอรี่แบรนด์ Oven Fresh และ ร้านอาหารที่รับสิทธิ์แฟรนไชส์มาจากต่างประเทศด้วยอย่าง Tim Ho Wan
•
ส่วนผลประกอบการของบริษัท ฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัด
ปี 2563 รายได้รวม 5,721 ล้านบาท กำไรสุทธิ 198 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้รวม 5,846 ล้านบาท กำไรสุทธิ 212 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้รวม 5,827 ล้านบาท กำไรสุทธิ 212 ล้านบาท
•
ส่วนผลประกอบการของบริษัท ถูกและดี จำกัด
ปี 2562 รายได้รวม 663 ล้านบาท กำไรสุทธิ 30 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้รวม 492 ล้านบาท กำไรสุทธิ 9 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้รวม 356 ล้านบาท ขาดทุน 23 ล้านบาท
•
แม้ฟู้ดแลนด์จะอยู่ในตลาดซุปเปอร์มาร์เก็ตมากว่า 50 ปี ผ่านเหตุการณ์ต่างๆมามาย แต่การปรับตัวคือสิ่งสำคัญที่สุด โดย อธิพล ตีระสงกรานต์ ผู้บริหารฟู้ดแลนด์ ระบุว่า วิกฤตที่เกิดขึ้น ต้องปรับกลยุทธ์และหาทางแก้ไข ทั้งตรึงราคาสินค้าและจัดโปรโมชั่นแรง เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค
•
ส่วนโมเดลร้านในรูปแบบ Grab & Go หรือร้านขนาด 50-60 ตารางเมตร เน้นขายสินค้าประเภทเค้ก แซนด์วิช สลัด และเบเกอรี่ หรือ รูปแบบร้านที่มีฟู้ดแลนด์และถูกและดี รวมทั้งคอมมูนิตี้มอลล์ใหม่บนถนนรามอินทรา คือสิ่งที่ต้องรอความคืบหน้าต่อไป
•
การบุกเบิกเริ่มต้นเป็นรายแรกก็ว่ายากแล้ว การรักษาให้ยังคงอยู่ ให้ขยายและเติบโต ในทุกสภาวะคือสิ่งที่ยากเช่นกัน และการปรับตัว ไม่หยุดนิ่ง คือสิ่งที่จะทำให้ธุรกิจไม่มีข้อจำกัด และกระบวนท่านั่นเอง
•
สามารถติดตามความเคลื่อนไหว connect the dots ได้ที่
Facebook : Connect the Dots
YouTube : www.youtube.com/@th.connectthedots
และทาง Spotify Podcast : connectthedotsth
#Connectthedots
•
ที่มา
https://workpointtoday.com/the-story-of-foodland/
https://www.thepeople.co/read/12984
https://www.salika.co/…/21/somsak-teerapattakul-foodland/
https://www.posttoday.com/politics/393871
https://www.bangkokbiznews.com/business/699517