CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: วิกฤตอาหารแพง
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Investment (Closed) > วิกฤตอาหารแพง
Investment (Closed)

วิกฤตอาหารแพง

connectthedots admin
Last updated: 2023/07/01 at 5:33 AM
connectthedots admin Published July 14, 2022
Share

หนึ่งในวิกฤติที่ทุกคนน่าจะรู้สึกได้ และทำให้การใช้ชีวิตของหลายคน หนืดๆ ฝืดๆ ไป นั่นก็คือ การที่สินค้าอุปโภคบริโภคแข่งกันขึ้นราคา ทั้งน้ำมัน ของใช้ในชีวิตประจำวัน และอาหาร ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อมนุษย์ ที่ยังต้องกินต้องใช้แบบเราโดยตรง

.

วันนี้เราจะพาทุกคนมาจับตามองวิกฤตินี้ และดูที่มาที่ไป ผลกระทบที่มีต่อทั้งในและนอกประเทศ เพื่อเข้าใจสถานการณ์ และมองหาโอกาสในการลงทุนจากวิกฤตินี้กัน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตอาหารแพง

  • สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกวัตถุดิบทางการเกษตรรายใหญ่ของโลก เช่น ข้าวสาลี คิดเป็น 30% ของตลาดโลก น้ำมันพืชจากเมล็ดดอกทานตะวัน คิดเป็น 80% ของตลาดโลก ข้าวโพด คิดเป็น 19% ของตลาดโลก
  • ราคาปุ๋ยแพง เพราะรัสเซียเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบที่ใช้ในการทำปุ๋ยรายใหญ่ประกาศระงับการส่งออกปุ๋ยไปต่างประเทศ
  • ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้มีการโหมปลูกพืชพลังงานทดแทนซึ่งเบียดบังพื้นที่เพาะปลูกอาหาร
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสภาวะโลกร้อน ทำให้ผลผลิตตกต่ำ เช่น อินเดียเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรง พื้นที่พื้นที่ปลูกข้าวสาลีในจีนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งใหญ่ ความแห้งแล้ง น้ำท่วม และไฟไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมของแคลิฟอร์เนียและยุโรปตอนใต้ 
  • การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่งและการค้าหยุดชะงัก 

ผลกระทบวิกฤตอาหารโลก

  • องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูล ดัชนีราคาอาหารพุ่งขึ้นเกือบ 30% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนเมษายน 2565 และธนาคารโลกคาดการณ์ว่า ปี 2565 ราคาสินค้าทั่วโลกจะปรับตัวสูงขึ้น 37% สูงสุดในรอบ 60 ปี
  • ผลกระทบส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้ที่รายได้น้อย เพราะการซื้ออาหารคิดเป็นอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายครัวเรือนทั้งหมด จากข้อมูลของธนาคารโลก ผู้คน 10 ล้านคนถูกผลักให้เข้าสู่ความยากจนขั้นรุนแรงทั่วโลกสำหรับราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 1 เปอร์เซ็นต์
  • เมื่อราคาอาหารสูงขึ้น แต่ประชาชนยังมีรายได้เท่าเดิมหรือน้อยลง นำไปสู่ปัญหาความอดอยากและขาดสารอาหาร ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาของประชากร โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลา
  • ในประเทศเอเชียแปซิฟิก FAO ระบุว่า มีผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติอาหารแพงและการขาดแคลนอาหารมากถึง 1,800 ล้านคน และยังมีคนเป็นโรคขาดสารอาหารที่เรียกกันว่า โรคผอมแห้ง มากถึง 40 ล้านคน เพิ่มจาก 31 ล้านคนเมื่อปีที่ผ่านมา
  • ความไม่มั่นคงทางอาหารเป็นสาเหตุของความไม่สงบทางสังคมและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ เมื่อราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นมักก่อให้เกิดการประท้วง และอาจลุกลามเป็นสงครามกลางเมืองในอนาคต

ผลกระทบในประเทศไทย

  • ในเดือน มีนาคม 2565 กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เงินเฟ้อเท่ากับ 104.79 เพิ่มขึ้น 5.73% ถือเป็นตัวเลขที่สูงสุดในรอบ 13 ปี นับจากปี 2551 สาเหตุมาจากราคาน้ำมัน สูงขึ้นถึง 31% ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น 40 % รวมถึงราคาอาหาร โดยเฉพาะผักสด เพิ่มเกือบ 10 % เนื้อหมู เนื้อไก่ เพิ่มขึ้น 5.74 % ไข่ไก่ ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง เพิ่มขึ้น 6 %เพราะวัตถุดิบราคาอาหารสัตว์ก็แพงมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ร้านค้าหลายร้านต้องติดป้ายขอขึ้นราคาอาหารเนื่องจากวัตถุดิบแพงขึ้นจนไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่ราคาขายแบบเดิมได้
  • นอกจากราคาอาหาร แก๊สหุงต้ม LPG ค่าโดยสารรถสาธารณะ ค่าทางด่วน ก็ปรับราคาขึ้นตาม

ในแง่ดี ประเทศไทยถือเป็นผู้ผลิตอาหารอันดับต้นๆ ของโลก จึงมีความพอเพียงของอาหารในการบริโภคภายในประเทศ และหากมองในมุมวิกฤตที่เกิดขึ้นถือเป็นโอกาสดีในการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร การส่งออกสินค้าเกษตร 4 เดือนแรก ปี 2565 (มกราคม – เมษายน 2565) เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับปี 2564 ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยสินค้าเกษตรไทย สามารถส่งออกไปโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.22

การแก้ไขปัญหาระดับสากล

  • ธนาคารโลกได้ประกาศแผนรับมือวิกฤติความมมั่นคงด้านอาหารโลก โดยอัดฉีดงบประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่โครงการด้านเกษตรกรรม, โภชนาการ, การคุ้มครองทางสังคม, น้ำ และการชลประทาน เพื่อแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหารตลอดช่วง 15 เดือนข้างหน้า และขอความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในการรับมือกับวิกฤติความมั่นคงด้านอาหาร รวมถึงกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ พยายามเพิ่มปริมาณพลังงานและผลผลิตปุ๋ย ช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มอัตราการเพาะปลูกและปริมาณผลผลิต รวมถึงยกเลิกนโยบายระงับการส่งออกและนำเข้า
  • คณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรปหรืออียู ก็กำลังทบทวนร่างนโยบายการปฏิรูปเกษตรกรรมครั้งใหญ่ระหว่างชาติสมาชิกอียู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
  • รัฐบาลแถบละตินอเมริกา รวมไปถึงประเทศคาบสมุทรแคริบเบียนรวม 17 ชาติ ได้จัดประชุมเกี่ยวกับอาหารร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้วิกฤติที่กำลังรุมเร้า โดยลงนามข้อตกลงเพื่อส่งเสริมภาคเกษตรในภูมิภาคและให้ธนาคารเอกชนปล่อยกู้ในภาคเกษตรสูงถึง 10% ของวงเงินและสินทรัพย์ที่มีและยังวิจารณ์กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ที่อุดหนุนภาคเกษตร จำกัดการเผยแพร่เทคโนโลยีจนส่งผลกระทบต่อชาติยากจน ข้อตกลงยังเรียกร้องให้ร่างแผนปฏิบัติการภายใน 30 วัน เพื่อเพิ่มผลผลิตอาหารท้องถิ่นในภูมิภาค จัดตั้งตลาดภายในและระหว่างประเทศ จำหน่ายสินค้าราคายุติธรรมต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค

Reference:

https://www.thansettakij.com/economy/526226

http://ftawatch.org/node/14011

https://www.prachachat.net/economy/news-933096

https://www.prachachat.net/economy/news-949275

You Might Also Like

Globlex เสิร์ฟหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง KIKO-Basket-KIKO ผลตอบแทน 7-15% ต่อปี 

Pi เผยผลงานปี 67 พร้อมรุกกลยุทธ์ปี 68 ยกระดับบริการการลงทุนครบวงจร

Finnomena Funds เปิดตัวพอร์ตลงทุนใหม่ Dynamic Contrarian Model Portfolio : ย่อ-ซื้อ ขึ้น-ขาย เท่าทันทุกโอกาสที่เปลี่ยนแปลง

ความรู้คู่การลงทุนสร้างความเชื่อมั่นในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลได้อย่างไร?

TAGGED: การลงทุน, การลงทุนยุคใหม่, การลงทุนโลก, เศรษฐกิจโลก

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
connectthedots admin July 14, 2022
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article บทเรียนการล่มสลายของ Crypto Hedgefund
Next Article หุ้นวัฎจักร
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?