CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: ยื่นภาษีเงินได้ปี 2567 ลดหย่อนอะไรได้บ้าง?
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Finance > ยื่นภาษีเงินได้ปี 2567 ลดหย่อนอะไรได้บ้าง?
Finance

ยื่นภาษีเงินได้ปี 2567 ลดหย่อนอะไรได้บ้าง?

CTD admin
Last updated: 2024/12/24 at 11:03 AM
CTD admin Published December 24, 2024
Share

สิ้นปีแบบนี้ก็ถึงเวลาคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีกันแล้วว่าช่วงยื่นภาษีเดือนมกราคม-มีนาคมปีหน้าเราจะต้องจ่ายภาษีกันเท่าไร ในคอนเทนต์นี้จะรวบรวมรายการลดหย่อนภาษีที่คุณสามารถใช้ได้สำหรับรายได้ในปี 2567

ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว

– ส่วนตัว 60,000 บาท

– คู่สมรส (ไม่มีรายได้) 60,000 บาท

– บุตร 30,000 บาท/คน (คนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี 61 ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท)

– ค่าคลอดบุตร 60,000 บาท/ท้อง

– ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ (อายุ 60 ปีขึ้นไป, เงินได้ไม่เกิน 30,000) 30,000 บาท/คน

– ค่าเลี้ยงดูผู้พิการ/ทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท

ประกัน

– ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์ ไม่เกิน 100,000 บาท

– ประกันสุขภาพ 25,000 บาท

รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท

– ประกันสุขภาพพ่อแม่ ไม่เกิน 15,000 บาท

– ประกันชีวิตคู่สมรส (ไม่มีรายได้) ไม่เกิน 10,000 บาท

– ประกันสังคม ไม่เกิน 9,000 บาท

– ประกันชีวิตแบบบำนาญ สูงสุด 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท

บริจาค

กลุ่มการศึกษา/กีฬา/มูลนิธิด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อน *สำหรับบริจาคผ่าน e-Donation เท่านั้น

บริจาคสถานพยาบาลของรัฐ ลดหย่อน 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10%ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อน

บริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

บริจาคพรรคการเมือง ไม่เกิน 10,000 บาท

ลงทุน/ออม

– กองทุน SSF สูงสุด 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

– กองทุน RMF สูงสุด 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

– กองทุน ThaiESG สูงสุด 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 300,000 บาท

– วิสาหกิจเพื่อสังคม ไม่เกิน 100,000 บาท

– กอช. ไม่เกิน 30,000 บาท

– กองทุน PVD 15% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 500,000 บาท

– กองทุนสงเคราะห์ครูฯ ไม่เกิน 500,000 บาท

– กบช. ไม่เกิน 500,000 บาท

*SSF, RMF ประกันบำนาญ กอช. PVD กองทุนสงเคราะห์ครูฯ และ กบช. รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

– ดอกเบี้ยบ้าน ไม่เกิน 100,000 บาท

– Easy E-Receipt 67 ไม่เกิน 50,000 บาท

– เที่ยวเมืองรอง 67 ไม่เกิน 15,000 บาท

– สร้างบ้านใหม่ 67-68 10,000 บาทต่อค่าก่อสร้าง 1 ล้านบาท ไม่เกิน 100,000 บาท

มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

*เฉพาะพื้นที่ที่กำหนด*

– ค่าซ่อมบ้าน ไม่เกิน 100,000 บาท

– ค่าซ่อมรถ ไม่เกิน 30,000 บาท

(ระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 67)

สุดท้าย สิ่งที่หลายคนอาจยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับการลดหย่อนอยู่ก็คือ การหักลดหย่อนจากภาษีที่คำนวณแล้ว แต่จริง ๆ ต้องไปหักออกจากเงินได้พึงประเมิณที่ลบค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อให้ได้ออกมาเป็นเงินได้สุทธิที่จะนำไปคำนวนภาษีตามอัตราก้าวหน้าต่อไป พูดง่าย ๆ คือ เอาไปหักก่อนแล้วค่อยคำนวณ ไม่ใช่คำนวณเสร็จแล้วมาหัก

You Might Also Like

TISA แนวคิดใหม่ของตลาดหลักทรัพย์ฯ “ซื้อหุ้น ได้ลดหย่อนภาษี” หวังช่วยหนุนตลาดหุ้นไทย

ttb พัฒนาโซลูชันทางการเงินสำหรับผู้นำเข้าและผู้ส่งออกไทย รองรับความไม่แน่นอนของการค้าโลก

ความรู้คู่การลงทุนสร้างความเชื่อมั่นในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลได้อย่างไร?

สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนมกราคม 2568

TAGGED: ภาษี, ลดหย่อนภาษี

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
CTD admin December 24, 2024
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article บ้านปู ติดอันดับ DJSI ต่อเนื่องปีที่ 11
Next Article JSP ชี้ปี 68 เทรนด์ Lifestyle Medicine หนุนตลาดอาหารเสริมไทยโต 15 % วันทำงานอายุ 40 เริ่มใส่ใจสุขภาพเทียบเท่ากลุ่มผู้สูงวัย
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?