CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: FED เร่งลดงบดุล กดดันหุ้นเทคฯ คริปโท แนะ! หาโอกาสลงทุนในจังหวะปรับฐาน
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Investment (Closed) > กูรูลงทุน > เปโดร พุกกะมาน > FED เร่งลดงบดุล กดดันหุ้นเทคฯ คริปโท แนะ! หาโอกาสลงทุนในจังหวะปรับฐาน
เปโดร พุกกะมาน

FED เร่งลดงบดุล กดดันหุ้นเทคฯ คริปโท แนะ! หาโอกาสลงทุนในจังหวะปรับฐาน

connectthedots admin
Last updated: 2022/12/10 at 3:35 PM
connectthedots admin Published January 11, 2022
Share

จับตาธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดงบดุล หรือ FED Balance Sheet ฉุดสภาพคล่องบางส่วนในตลาดหาย หลังนักลงทุนอาจเทขายของสินทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์จากการอัดฉีด QE โดยเฉพาะหุ้นเทคโนโลยีและสินทรัพย์ดิจิทัล อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อในระดับสูงจะยังไม่ลดลงเร็ว จึงมีโอกาสเป็นปัจจัยหนุนในทางบวกให้สินทรัพย์เสี่ยง แนะนักลงทุนหาโอกาสลงทุนในจังหวะราคาปรับฐาน

นายณพวีร์ พุกกะมาน นักลงทุนและผู้ก่อตั้ง Creative Investment Space (CIS) สถาบันให้ความรู้ด้านนวัตกรรมการลงทุนรูปแบบใหม่ เปิดเผยว่า กรณีการประชุมธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ FED ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีกรรมการ FED บางรายเสนอให้เร่งปรับลดขนาดงบดุลบัญชีของ FED หรือ Balance Sheet ในทันทีหลังจากที่มีการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นับเป็นประเด็นใหม่ที่ยังไม่เคยพูดถึงมาก่อน จากผลการประชุม FED ก่อนหน้านั้นที่ระบุเพียงว่าจะมีการยุติการทำ QE ในเดือนมีนาคม 2022 และจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสามครั้งในปีนี้ ทั้งนี้ หากมีการปรับลด Balance Sheet ด้วย อาจมีผลกระทบต่อสภาพคล่องในตลาดการเงินหายไปบางส่วน จากแรงกดดันค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น และอาจมีแรงเทขายสินทรัพย์บางประเภท โดยเฉพาะสินทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์จากการอัดฉีด QE 

ดังนั้น ประเมินสาเหตุที่ตลาดหุ้น ทองคำและสินทรัพย์ดิจิทัล ถูกเทขายในช่วงต้นปี 2565 เกิดจากมีการตอบรับกระแสข่าวดังกล่าว ทำให้นักลงทุนบางส่วนตัดสินใจขายสินทรัพย์ออกมาเพื่อลดความเสี่ยง โดยสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงถูกเทขายมากที่สุด คือ หุ้นเทคโนโลยีและสินทรัพย์ดิจิทัล เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์จากการอัดฉีดสภาพคล่องในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มากที่สุด 

อย่างไรก็ตาม รายงานประชุมดังกล่าวยังเป็นเพียงแค่ความคิดเห็นของกรรมการ FED บางรายเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นเป็นมติของกรรมการทั้งหมด จึงต้องติดตามการประชุมในครั้งต่อไปว่าจะมีความคืบหน้าในประเด็นดังกล่าวอย่างไร โดยในระยะสั้นตลาดหุ้น NASDAQ และราคา Bitcoin ได้ร่วงลงตอบรับกับข่าวดังกล่าวมาแล้วพอสมควร คาดว่าราคาจะเริ่มนิ่งมากขึ้นจนกว่าจะมีความคืบหน้าอย่างเป็นทางการ

“มีข้อสังเกตในรายงานของ FED ระบุไว้ว่าการลดงบดุลสามารถทำได้ง่ายกว่าตอนที่ทำ QE ในรอบแรก เนื่องจากในรอบนี้ FED มีการเสนอขายพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นเป็นหลัก เพียงแค่ไม่ต่ออายุพันธบัตรออกไปก็เท่ากับเป็นการลดงบดุลไปในตัวได้แล้ว ทำให้ประเด็นเรื่องการลดงบดุลของ FED กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงใหม่ที่เกิดขึ้นในปีนี้ แต่อย่างไรก็ดีจากปริมาณหนี้ต่างประเทศที่สูงถึงระดับ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับเป็นปริมาณที่สูงกว่าสมัยที่ทำ QE ในครั้งแรกหลายเท่า ประกอบกับแผนการลดงบดุลในครั้งก่อนยังไม่เสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์ จึงมองว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะยังอยู่ในระดับสูงต่อไป จะเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นเทคโนโลยีและสินทรัพย์ดิจิทัลระยะยาวได้” นายณพวีร์ กล่าว 

ขณะที่มุมมองราคาในเชิงเทคนิค ราคา Bitcoin ในภาพใหญ่ตอนนี้ยังคงเป็นขาขึ้นแต่ภาพระยะสั้นและระยะกลางได้กลายเป็นขาลง โดยมีแนวรับสำคัญอยู่ในโซน 37,500-40,000 ดอลลาร์ ถ้ายังไม่หลุดระดับนี้ Bitcoin ยังมีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้และน่าจะกลับไปสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้ในปีนี้ แต่ถ้าหลุดระดับดังกล่าวภาพระยะยาวจะกลายเป็นขาลงและอาจจะเข้าสู่ช่วงของการปรับฐานไปอีกระยะหนึ่งตลอดทั้งปี 2022 ผู้ที่ถือ Bitcoin อยู่ในเวลานี้และต้องการเพียงแค่เก็งกำไรจึงยังไม่แนะนำให้เข้าซื้อเพิ่มจนกว่าราคาจะฟื้นตัว

สำหรับราคาทองคำยังคงได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ยังต้องหวังว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับสูงเพื่อที่จะเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำ แต่ถ้าเงินเฟ้อลดลงความสำคัญของทองคำจะลดลงด้วยเช่นกัน

ดัชนี NASDAQ ตอนนี้ลงมาต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 100 วันที่ระดับ 15,692 จุด ซึ่งนับตั้งแต่เป็นขาขึ้นในเดือนเมษายนปี 2021 ดัชนี NASDAQ ปรับตัวลดลงมาถึงระดับเส้นค่าเฉลี่ย 100 วันแล้วมีการฟื้นตัวขึ้นได้ทุกครั้ง จึงมองเป็นโอกาสเข้าลงทุนในระยะกลางจากการที่แนวโน้มหลักยังเป็นขาขึ้น

“ปีนี้การลงทุนจะไม่ง่ายเหมือนปีที่แล้วแน่นอน เพราะสภาพคล่องส่วนเกินจะถูกดึงออกไปตลอดทั้งปี สินทรัพย์ที่อาจจะกลับมาฟื้นตัวได้ดีก็คือหุ้นคุณค่าหรือหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่ได้รับประโยชน์หากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดได้รับการคลี่คลายลงได้ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ทั้งหุ้นเทคโนโลยี ทองคำและสินทรัพย์ดิจิทัลยังคงน่าสนใจในการลงทุนระยะยาว หากราคาปรับฐานลงมาในระดับที่น่าสนใจ”

You Might Also Like

AOT ราคาเท่าไหร่ถึงเรียกว่าถูก?

Bitcoin ช่วยป้องกันเงินเฟ้อได้ดี ท่ามกลางการจัดระเบียบโลก

ทองคำผันผวนจากศึกภาษี ‘YLG’ มองมีโอกาสแตะ 3,500 ดอลลาร์ หากเจรจาภาษีไม่สำเร็จ

TISA แนวคิดใหม่ของตลาดหลักทรัพย์ฯ “ซื้อหุ้น ได้ลดหย่อนภาษี” หวังช่วยหนุนตลาดหุ้นไทย

TAGGED: Cryptocurrency, การลงทุน, คริปโต, ทองคำ, บิทคอยน์, หุ้น, เศรษฐกิจโลก

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
connectthedots admin January 11, 2022
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article สกุลเงินดั้งเดิม และคริปโตเคอเรนซี ต่างกันยังไง?
Next Article ‘เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินเท่าไหร่ดี?’ ตอบคำถามโลกแตกของนักลงทุนหน้าใหม่
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?