ในตลาดทุน ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นหรือตราสารหนี้ สิ่งที่ขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงของราคาของสินทรัพย์ต่างๆ นอกจาก ‘ความต้องการ’ (Demand ) และ ‘การผลิต’ หรือ ‘อุปสงค์’ (supply) แล้วยังมีปัจจัย ที่เราเรียกว่า ‘Fear กับ Greed ‘
.
ซึ่งความกลัว (Fear) และความโลภ (Greed) เป็นอารมณ์ที่อยู่ในสัญชาตญาณของมนุษย์ และขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังตลาดทุนมาอย่างยาวนาน
.
ความโลภ (Greed)
ในนิยามทางการเงิน โดยส่วนใหญ่เริ่มต้นจาก สินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อมาแทนที่หรือช่วยเหลือ สินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการเก่า (Substitute – Disruptive ) และเมื่อสิ่งแทนที่เหล่านั้นเริ่มมีอิทธิพล ต่อนักลงทุน หรือมีผลกระทบกับการบริโภคในวงกว้าง อารมณ์ของความโลภ (Greed) ก็จะเริ่มเข้า ครอบงำตลาด
.
ในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมาเราได้เห็นปรากฎการณ์ที่เรียกว่า FOMO หรือ Fear of Missing Out ในตลาด Cryptocurrency และสินทรัพย์ทรัพย์ดิจิตอลทั่วโลก นั่นคือการที่ นักลงทุนมีความกลัวที่จะพลาดโอกาสหลายๆ อย่าง เช่น ความกลัวที่จะพลาดข่าว กระแส รวมถึงเทรนด์ต่างๆ ที่คนอื่นรู้แต่เรากลับไม่รู้ เป็นกลัวที่จะ ‘ตกรถ’ หรือลงทุนไม่ทัน
.
ซึ่งส่งผลทำให้สินทรัพย์ดังกล่าว เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกลายเป็น ‘ฟองสบู่’ ของความโลภจนกระทั่ง ราคาของ Cryptocurrency ร่วงลงมากกว่า -70% ณ ราคาปัจจุบัน ( 7 กค 2565)
ความกลัว (Fear)
ในนิยามของการเงิน เป็นผลต่อเนื่องหลังจากความโลภอ่อนแรงลง
.
กลไกลของความกลัวเริ่มจากคนกลุ่มนึงที่ ที่เป็นผู้เชียวชาญ นักวิเคราะห์ หรือนักลงทุนสถาบัน และรายใหญ่ เริ่มตั้งข้อสงสัยกับราคา ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นอย่างผิดปกติ (Pricing Mismatch) และเมื่อคนกลุ่มดังกล่าว พบหลักฐานและความเป็นจริงที่ผิดปกติของราคาสินทรัพย์ ตลาดก็จะเริ่มซึมซับ ข่าวร้ายในวงแคบ ก่อนจะขยายเป็นวงกว้าง จนกระทั่งราคาสินทรัพย์ดังกล่าวกลับมาสู่จุดเริ่มต้น หรือ อาจจะทำให้สินทรัพย์นั้นล้มละลาย และหายไปจากสาระบบของตลาดทุน เช่น ปรากฏการณ์ชองเหรียญ UST ในตลาด Cryptocurrency
.
แล้วถ้าเราเป็นนักลงทุน เราจะสามารถติดตาม มาตราวัดของความโลภ และความกลัวของตลาดได้อย่างไร?
.
ดัชนีความกลัวและความโลภ ถูกพัฒนาด้วย CNNMoney ที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความความโลภและความกลัวของตลาดทุน โดย ที่ตลาดที่เป็นตัวแทนในการคำนวณของของ Fear and Index คือ S&P500
.
หลักในการคำนวณของดัชนี Fear and Greed Index ใช้ปัจจัยอยู่ 7 อย่างในการคิด
.
1. Stock price Momentum
เป็นการคิดราคาของดัชนี S&P500 เทียบกับ เส้นราคาค่าเฉลี่ย 125 วัน หรือ 125-Moving Average (MA)
.
2. Stock Price Strength
จำนวนหุ้นที่ขึ้นสูงกว่าราคา 52-week (1 ปี) เทียบกับจำนวนหุ้นที่ลงต่ำกว่าราคา 52-week ใน New York Stock Exchange (NYSE) คือ จำนวนหุ้นที่ทำจุด ต่ำสุด เทียบกับจำนวนหุ้นที่ทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบปี ของ ณ วันนั้น
.
3. Stock Price Breadth
วิเคราะห์เปรียบเทียบปริมาณ (Volume) การซื้อหุ้นที่ปรับตัวขึ้น เทียบกับปริมาณการขายของหุ้น ที่ปรับตัวลง
.
4. Put and Call Options
เป็นการหาสัดส่วนของ Put Option ( สิทธิในตลาดขาลง) หารด้วย Call Option (สิทธิ์ในการซื้อตลาดขาขึ้น) หากตัวเลข Put / Call option ratio สูงขึ้น แสดงว่านักลงทุนมีการซื้อสิทธิ์ในตลาดขาลงมากกว่า Fear and Greed Index จะมีแนวโน้มต่ำไปทาง Fear
.
5. Junk Bond Demand
เปรียบเทียบ yield spread ของ Investment Grade Bonds (ตราสารหนี้เสี่ยงต่ำ) กับ Junk Bonds (ตราสารหนี้เสี่ยงสูง) หากตัวเลข Credit Spread กว้างมากขึ้น หมายถึงตลาดเริ่มรับรู้ความเสี่ยงของการผิดรับชำระหนี้ของตราสารหนี้ ที่ไม่มีอันดับเครดิต ( Junk Bond ) มากขึ้น ทำให้ Demand ในฝั่งของ Investment grade นั้นสูงขึ้น ยิ่งทำให้ความต่างของผลตอบแทนตราสารหนี้ ทั้งดีและเสียยิ่งมีมากขึ้น เพราะฉะนั้นจะทำให้ Fear and greed index นั้น ปรับไปในแนวโน้มที่มีค่าความกลัวมากขึ้น
.
6. Market Volatility
เก็บตัวเลขจาก Cboe’s Volatility Index (VIX) เส้นค่าเฉลี่ย 50-วัน MA หรือ Volatility Index ซึ่งบ่งชี้ความผันผวนของตลาด ยิ่งมีค่ามาก ตลาดก็จะมีความผันผวนสูง ไปในทางลบ ในทางกลับกัน หาก VIX มีค่าต่ำ ตลาดก็จะมีความมั่นใจในการลงทุนมากขึ้น
.
7. Safe Haven Demand
เปรียบเทียบผลตอบแทนของ stock เทียบกับ bond ปกติแล้ว หุ้นจะให้ผลตอบแทนดีกว่า bond แต่ถ้าเริ่มลงมาต่ำกว่า แสดงว่านักลงทุนเริ่มกลัวความเสี่ยง จึงเริ่มขายหุ้นออกไป
.
ตัวเลขทั้ง 7 ตัวนี้จะถูกนำมาเปลี่ยนเป็นสเกลตั้งแต่ 0-100 แล้วเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักแบบเท่าๆ กัน จนได้ออกมาเป็นตัวเลขสุดท้าย คือ Fear & Greed Index ซึ่งถ้าได้ค่าเท่ากับ 50 แสดงว่าตลาดอยู่ในสภาวะ Neutral ส่วนถ้ายิ่งน้อยก็ยิ่ง Fear ยิ่งมากก็ยิ่ง Greed
.
ประโยชน์และการนำเอาไปใช้
ในช่วงของการล่มสลายของ Lehmann Brother ในปี 2008 ช่วงวิกฤต Subprime แสดงให้เห็นว่าดัชนีความกลัวและความโลภมักเป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ของการกลับตัวของตลาดตราสารทุน ดัชนีร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดที่ 12 ในเดือนกันยายน 2008 เมื่อ S&P 500 ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี ภายหลังการล้มละลายของ Lehman Brothers และ AIG ยักษ์ใหญ่ด้านประกันภัยที่เกือบจะล้มละลาย
.
ในทางตรงกันข้าม Fear and Greed Index ก็บ่งชี้ว่า มี ความมั่นใจของ Fear and Greed Index เพิ่มขึ้น ในเดือนกันยายน 2012 เนื่องจากตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นตาม มาตรการผ่อนคลาย เชิงปริมาณรอบที่สามของธนาคารกลางสหรัฐ จนทำให้ตลาดหุ้สหรัฐกลับมาเป็นขาขึ้นอีก 4 ปี หลังจากนั้น
.
แต่โดยท้ายที่สุดแล้ว ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเห็นพ้องกันว่า ดัชนีความกลัวและความโลภเป็นตัวบ่งชี้ที่มีประโยชน์ หากว่าไม่ใช่เครื่องมือเดียวที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุน นักลงทุนควรจับตาดู สภาวะเศรษฐกิจและอารมณ์ของตลาด หรือดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจอื่นๆ ในหลายๆมิติ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสในการตัดสินใจในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน ในการเลี่ยงการลงทุน หรือใช้หาจังหวะในการกลับเข้ามาลงทุนเมื่อตลาดมีความมั่นใจในหลายๆ ดัชนี
Reference:
https://www.investopedia.com/terms/f/fear-and-greed-index.asp