CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: นโยบายประชานิยม กับดักความจน ตัวการพังเศรษฐกิจไทย?
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Economy > นโยบายประชานิยม กับดักความจน ตัวการพังเศรษฐกิจไทย?
Economy

นโยบายประชานิยม กับดักความจน ตัวการพังเศรษฐกิจไทย?

CTD admin
Last updated: 2025/03/25 at 3:24 AM
CTD admin Published March 25, 2025
Share

นโยบายประชานิยม ในไทยถูกใช้เป็นนโยบายในการบริหารประเทศในสมัยรัฐบาลทักษิณ ที่มีโอกาสเข้ามาบริหารแผ่นดินเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การเมืองไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544

แม้ว่านโยบายประชานิยมจะช่วยแก้ปัญหาทางการเงิน เพิ่มความคล่องตัวทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่มีรายได้ต่ำ แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า นโยบายดังกล่าวมีความมุ่งหวังทางการเมืองอยู่กว่าครึ่งของเจตนา และต้องยอมรับว่า การใช้นโยบายประชานิยมนั้น สามารถสร้างฐานเสียงทางการเมืองให้แก่พรรคการเมืองที่บริหารประเทศในฐานะผู้นำการจัดตั้งรัฐบาลไม่น้อย

ทว่า การใช้นโยบายประชานิยม ไม่อาจสร้างประโยชน์ในวงกว้าง หรือสร้างแรงสั่นสะเทือนให้แก่ GDP ไทยในภาพรวมได้มากนัก หรือให้เข้าใจง่ายๆ คือ นโยบายเหล่านั้นกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น มีตัวอย่างอีกหลายประเทศที่ใช้นโยบายประชานิยม จนเหมือนเสพติด จนสร้างผลกระทบอันเลวร้ายตามมา

Connect The Dots มีตัวอย่างประเทศที่ใช้นโยบายประชานิยมจนทำให้เศรษฐกิจพัง หนี้สาธารณะเพิ่ม เงินเฟ้อสูง และลงท้ายด้วยการต้องกู้ยืมเงินกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF

ประเทศแรกคือ อาร์เจนติน่า ที่เคยติด 1 ใน 10 ประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก แต่มีการใช้นโยบายประชานิยม เพื่อสร้างความนิยมให้แก่คณะรัฐบาลเป็นเวลานาน ในช่วงแรกที่นโยบายนี้เริ่มทำงานคือ ประชาชนมีกินมีใช้ แต่นานวันเข้ากลับสร้างปัญหาที่กระทบอันเลวร้าย คือ ภาวะเงินเฟ้อสูง เงินคงคลังลดลง และท้ายที่สุด อาร์เจนตินาต้องกู้เงินจาก IMF มูลค่าสูง ห้าหมื่นเจ็ดพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมเงื่อนไขที่  IMF กำหนดว่า อาร์เจนตินาต้องรัดเข็มขัด ควบคุมนโยบายที่มีการใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีหนี้สาธารณะสูงถึง 89.4% แต่เงื่อนไขที่รัฐบาลอาร์เจนตินาต้องดำเนินตาม กลับสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชน

ประเทศที่สอง กรีซ ที่ถูกบริหารงานจากพรรค  Panhellenic Socialist Movement จากนั้นพรรคประชาธิปไตยใหม่ หรือพรรค ND เข้ามาเป็นรัฐบาลตามลำดับ ทั้งสองพรรคยึดนโยบายประชานิยมในการบริหารประเทศ และตลอดระยะเวลา 30 ปี รัฐบาลจากทั้งสองพรรคใช้นโยบายเอาใจประชาชนอย่างหนัก ทั้ง การปรับขึ้นค่าแรงปีละ 3% การลดภาษีรถยนต์คันใหม่ การจ่ายเงินสำหรับผู้ที่เกษียณก่อนวัย และอีกหลายด้าน ซึ่งล้วนแต่มีการใช้เงินงบประมาณจำนวนมากในการบริหารงาน กระทั่งกรีซเข้าสู่ภาวะการขาดดุลงบประมาณ และมีปัญหาจากการบริหารการเงินเพื่อจ่ายพันธบัตรที่ครบอายุ ท้ายที่สุดต้องกู้เงินจากสหภาพยุโรป และ IMF 110,000 ล้านยูโร แต่กรีซต้องลดการขาดดุลงบประมาณ ผ่านนโยบายใหม่นั่นคือ ไม่มีการปรับขึ้นค่าแรง พร้อมกับขึ้นภาษีจาก 21% เป็น 23% และยังปรับขึ้นภาษีน้ำมันเป็น 10%

ประเทศที่สาม เวเนซูเอล่า ขึ้นชื่อว่าร่ำรวยและมีน้ำมันสำรอง 3 แสนล้านบาเรล แต่กลับมีแนวคิดที่จะใช้นโยบายประชานิยม เนื่องจากประเทศมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันถึง 90% และอดีตประธานาธิบดี ฮูโก ชาเวช หวังเอาใจประชาชนด้วยการปรับลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เลือกที่จะนำเข้าสินค้าเพื่อทดแทนการผลิตภายในประเทศ อีกทั้งยังควักเงินจำนวนมหาศาลสร้างบ้านให้แก่ประชาชน จนเกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรกง ประกอบกับในช่วงปี 2557-2559 ที่ราคาน้ำมันโลกตกต่ำ ส่งผลให้ราคาน้ำมันในเวลานั้นลดลงกว่า 30 ดอลลาร์ต่อบาเรล

เมื่อรายได้ประเทศลดลง แทนที่เวเนซูเอล่าจะรัดเข็มขัด กลับยังคงเดินหน้านโยบายประชานิยมอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเพราะประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีรายได้น้อย รัฐบาลจึงแก้ปัญหาด้วยการออกพันธบัตรโดยไม่ได้พิจารณาถึงระบบการเงิน และเศรษฐกิจของประเทศในเวลานั้น ส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อสูงกว่า 83,000% ต่อปี เศรษฐกิจหดตัว 30% ท้ายที่สุดคือ เกิดการอพยพย้ายถิ่นของประชากรกว่า 2.3 ล้านคน เพื่อหลีกหนีความทุกข์ยาก

ปิดท้ายด้วยประเทศศรีลังกา ที่ใช้ระบบเครือญาติมาบริหารประเทศ โดยรัฐบาลมาจากตระกูลสิริเสนา และต่อมาคือตระกูลราชปักษา โดยนโยบายประชานิยมที่ใช้คือ การลดภาษีจากภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ส่งผลให้ศรีลังกามีรายได้ของรัฐลดลง 35% และโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานขนาดใหญ่ก่อสร้างโดยการใช้เงินจากการกู้ยืมจากต่างประเทศ นี่เป็นการสร้างหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น

ขณะที่รายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรลดลง เนื่องจากในเวลานั้นรัฐบาลมีนโยบายห้ามใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ซึ่งเกษตรกรจะต้องปฏิบัติตามแบบทันที ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง กระทบต่อรายได้ภาคการเกษตร และรายได้จากการท่องเที่ยวลดลงเนื่องจากสถานการณ์โควิด ศรีลังกาต้องดึงเงินตราสำรอง และเงินตราต่างประเทศมาใช้ เป็นผลให้ค่าเงินลดลง 80% สินค้านำเข้ามีราคาแพง เงินเฟ้อสูง

ท้ายที่สุด ศรีลังกาต้องกู้เงินจากต่างประเทศ มีหนี้สาธารณะสูง 86.9% เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เงินตราต่างประเทศขาดแคลน ไม่มีแม้เงินจะซื้อพลังงานไฟฟ้า มีภาวะขาดแคลนอาหาร การบริหารที่ผิดพลาดและการคอรัปชันสูง ทำให้อดีตประธานาธิบดีศรีลังกาจากตระกูลราชปักษา ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศไปให้ที่สุด

กลับมาไทย ที่ปัจจุบันถูกบริหารงานโดยคนจากตระกูลชินวัตรอีกครั้ง พร้อมด้วยนโยบายประชานิยมที่โปรยด้วยคำสวยหรูว่า เป็นนโยบายที่กระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งการแจกเงินหมื่นที่เริ่มไปแล้วสองเฟสแต่กระตุ้นเศรษฐกิจได้ไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำ และยังเตรียมแจกเงินหมื่นเฟสสามในกลุ่มอายุ 16-20 ปี ซึ่งเมื่อพิจารณาจากกลุ่มอายุ ผลทางเศรษฐกิจที่ได้คงไม่แตกต่างกัน แม้หลายฝ่ายจะมีความกังวลว่า เงินจำนวนนี้อาจถูกใช้ในการเงินเพื่อเล่นเกมเป็นส่วนใหญ่

ล่าสุด อดีตนายกรัฐมนตรีอย่าง ทักษิณ ชินวัตร ประกาศแนวคิดการซื้อหนี้ประชาชนจากธนาคาร ปลดล็อกเครดิตบูโร เพื่อเพิ่มโอกาสทางการเงินให้แก่ประชาชน แน่นอนว่า คณะรัฐบาลแพรทองธาร ชินวัตร ลูกสาวคนเล็กของทักษิณ รับลูก ขานรับแนวคิดนี้อย่างรวดเร็ว

ด้านธนาคารแห่งประเทศไทย มองว่า การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนควรทำอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงหลักสำคัญ 3 ด้าน คือ 1. สนับสนุนวินัยทางการเงินที่ดี ไม่สร้างแรงจูงใจที่ผิด จนทำให้เกิดปัญหา Moral Hazard คือ ต้องมีกลไกส่งเสริมให้ลูกหนี้มีวินัยและความรับผิดชอบทางการเงิน ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการเป็นหนี้ซ้ำซ้อนในอนาคต

2.สนับสนุนการเข้าถึงสินเชื่อของลูกหนี้ในระยะข้างหน้า คือ ความช่วยเหลือจะต้องไม่ลดทอนความแม่นยำในการประเมินความเสี่ยงของเจ้าหนี้ และเพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อได้ด้วยต้นทุนที่เป็นธรรม และ 3. แก้ปัญหาหนี้อย่างตรงจุด เสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ระบบการเงินในภาพรวม โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรและงบประมาณของประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ข้อมูลจากเครดิตบูโร ณ เดือนธันวาคม 2567 พบว่า หนี้ NPL ของภาคประชาชนมีจำนวน 9.59 ล้านบัญชี คิดเป็นมูลหนี้ 1.2 ล้านล้านบาท

ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แนวคิดการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) เพื่อซื้อหนี้เสียออกจากระบบ ซึ่งเคยเกิดขึ้นหลังวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่มีหนี้เสียสูงถึง 52.3% ของสินเชื่อรวมในเดือนพฤษภาคม 2542 หรือประมาณ 2.5 ล้านล้านบาท แต่นโยบายการซื้อหนี้ของในอดีตและปัจจุบัน แม้จะมีเป้าหมายในการแยกหนี้เสียออกจากระบบ แต่อยู่บนเงื่อนไขของเศรษฐกิจการเงินที่แตกต่างกัน

โดยในปี 2540 การจัดตั้ง AMC เน้นซื้อหนี้ทั้งธุรกิจและครัวเรือน ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังวิกฤตจากอานิสงส์ของเงินบาทอ่อนค่าที่ส่งผลดีต่อ FDI และการส่งออก ได้ช่วยให้ธุรกิจและครัวเรือนเห็นภาพรายได้ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ในระยะเวลาดังกล่าว ยังเป็นช่วงแรกๆ ของตลาดการบริหารหนี้ และมีการแก้กฎหมาย มีการจัดตั้งศาลล้มละลายกลาง จึงทำให้การแก้ไขปัญหาหนี้มีองค์ประกอบหลายด้านที่สนับสนุนการแก้ไขหนี้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ขณะที่ ปัญหารอบนี้คือ หนี้เอ็นพีแอลทั้งธุรกิจและรายย่อยจำนวนไม่น้อยผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และมาตรการช่วยเหลือจากทั้งธนาคารพาณิชย์และทางการ สถานการณ์เศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้ปัจจัยด้านรายได้ของธุรกิจและครัวเรือนไม่ชัดเจน จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสำเร็จในการแก้ไขหนี้ นอกจากนี้ ตลาดการบริหารหนี้มีความท้าทายมากขึ้นจากการที่หนี้ที่ไหลเข้ามาในระยะหลัง แก้ยากขึ้น การระบายทรัพย์สู่ตลาดตามกระบวนการทางกฎหมาย น่าจะใช้เวลา ท่ามกลางผู้ซื้อและอำนาจซื้อที่จำกัด ดังนั้น แนวคิดในการจัดตั้ง AMC รอบนี้ ต้องคำนึงถึงสถานการณ์ที่แตกต่างออกไปด้วย

นโยบายที่ภาครัฐประกาศใช้ หากยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ได้พิจารณาถึงความเหมาะสม งบดุล เงินคงคลัง และสถานการณ์เศรษฐกิจในภาพรวม อาจก่อให้เกิดหายนะทางเศรษฐกิจไม่ต่างจาก 4 ประเทศที่กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะวินัยทางการเงินของประชาชน และการเสพติดนโยบายประชานิยมจนเกินพอดี ผลที่ได้รับจากนโยบายประชานิยม อาจเกิดผลร้ายมากกว่าผลดี

You Might Also Like

สงครามการค้า อเมริกาเมาหมัด คู่ชกซัดกลับ เศรษฐกิจ ฟื้น? หรือ ฟุบ?

“เอกา โกลบอล” ประเมินธุรกิจบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร รับมือนโยบาย ‘ทรัมป์’

ราคาทองพุ่งทยาน! ทองรูปพรรณ ขายออก 55,500 บาท

Bitcoin ช่วยป้องกันเงินเฟ้อได้ดี ท่ามกลางการจัดระเบียบโลก

TAGGED: GDP, IMF, นโยบายประชานิยม, ประชานิยม, เงินเฟ้อ, เงินเฟ้อสูง และลงท้ายด้วยการต้องกู้ยืมเงินกองทุนการเงินระหว่างประเทศ, เศรษฐกิจ

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
CTD admin March 25, 2025
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article เมื่อความยั่งยืนไม่ได้เป็นแค่ทางเลือก แต่เป็นทางรอดของธุรกิจ
Next Article “เอกา โกลบอล” จับกระแส AI ทรานส์ฟอร์มธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจิทัล
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?