ก่อนเจาะลึกอุตสาหกรรมในงาน “Vitafoods Asia 2023” 20-22 กันยายน 2566 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ทุกวันนี้คุณกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไหมครับ? ดูเหมือนกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เราจะมีไลฟ์สไตล์ที่ใส่ใจสุขภาพ รวมไปถึงบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หากในวันนี้ตัวคุณเองไม่ใช่ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ก็คงมีใครใกล้ตัวคุณอย่างน้อยสักคนหนึ่งที่ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะเพื่อดูแลสุขภาพ ลดน้ำหนัก หรือเพื่อซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอ
.
ความใส่ใจในเรื่องสุขภาพ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้ไม่ใช่แค่สิ่งที่เกิดขึ้นมาโดยบังเอิญ แต่มีปัจจัยมากมายที่ขับเคลื่อนสังคมให้หันมาสนใจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้กันมากขึ้น และความสนใจที่เกิดขึ้นนี้ก็ไม่ได้มีเพียงเล็กน้อย แต่ยังสามารถผลักดันตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้เติบโตจนมีมูลค่ามหาศาล
.
ยูโรมอนิเตอร์ อินเตอร์เนชันแนล (Euromonitor) บริษัทผู้วิจัยด้านการตลาดเคยมีรายงานคาดการณ์ไว้ว่าในปี 2564 ที่ผ่านมาตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 74,247 ล้านบาท และจะยังเติบโตไปอย่างต่อเนื่อง
ควบคู่กันนั้นข้อมูลจากการสำรวจของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขในปี 2564 ยังบอกว่ามีครัวเรือนไทยกว่า 1.8 ล้านครัวเรือน ที่บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยใช้จ่ายกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่อเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 1,036 บาท
แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในไทยนั้นกลายเป็นตลาดใหญ่ที่มีมูลค่ามหาศาล
.
แต่อะไรคือปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไทย (ไปจนถึงตลาดโลก) ให้เติบโตได้มากถึงขนาดนี้?
.
1. ความใส่ใจด้านสุขภาพ รูปลักษณ์ และความงาม
ในยุคสมัยของโซเชียลมีเดียเช่นนี้ ผู้คนต่างให้ความสนใจกับเรื่องของสุขภาพ จนถึงรูปร่างร่างกายกันมันมากขึ้น เราจะเห็นคอนเทนต์บนออนไลน์ที่พูดถึงเรื่องของการดูแลตัวเองที่มากขึ้น
ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับแรก จึงเป็น “ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพแบบองค์รวม” (general wellbeing) เช่น วิตามินรวม, สารสกัดจากโสม, สารสกัดจากพืช ที่มีสัดส่วนตลาดอยู่ที่ประมาณ 29% ในตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รองลงมาเป็น “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อผิวพรรณและความงาม” (skin & beauty) เช่น คอลลาเจน, แอล-กลูตาไธโอน ที่ 21% และอันดับสามคือ “โปรตีน” (protein) เช่น เวย์โปรตีน ที่ 19%
แสดงให้เห็นว่าผู้คนในวันนี้นิยมรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อดูแลร่างกายตัวเอง ตั้งแต่ในด้านของสุขภาพโดยรวม ความงาม ไปจนถึงรูปร่างร่างกาย
.
2. สังคมสูงวัยที่ต้องใส่ใจด้านสุขภาพ
นอกเหนือจากความใส่ใจในเรื่องของรูปร่าง และความงามแล้ว ตลาดใหญ่ที่สำคัญของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยังคงเป็นผู้สูงวัยที่ต้องใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น
ซึ่งประเทศไทยก็ได้เข้าสู่สังคมสูงวัยไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 คือ มีสัดส่วนของผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และแน่นอนว่าในวันนี้ประชากรสูงวัยในไทยที่มีอายุยืนยาวก็มีมากขึ้น
เป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลุ่ม ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพแบบองค์รวม (general wellbeing) มีสัดส่วนในตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สูงที่สุด รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในกลุ่ม เสริมภูมิคุ้มกัน (immunity), บำรุงสายตา (eyes) และ บำรุงกระดูกและข้อ (bone & joint care)
.
3. ผลกระทบ และความตระหนักถึงความสำคัญด้านสุขภาพหลัง COVID-19
ในปี 2563 คนไทย และคนทั่วโลกต่างได้เผชิญหน้ากับวิกฤติการณ์ด้านสาธารณสุขที่เรียกว่า COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบทั้งกับผู้ที่ติดเชื้อ และกับผู้ที่ไม่ติด ผู้ที่ป่วยเป็นโรค COVID-19 บางคนยังคงมีผลกระทบด้านสุขภาพมาจนถึงปัจจุบัน และแม้แต่กับผู้ที่ไม่เคยติดโรคเลย สถานการณ์ของ COVID-19 ก็ได้สร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญด้านสุขภาพ ทำให้ผู้คนจำนวนมากหันมาใส่ใจในสุขภาพโดยรวมมากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันตัวเองจากโรคภัยที่อาจเกิดขึ้น ทั้ง COVID-19 และอื่น ๆ
.
ในปีนี้ก็มีบริษัทวิจัยการตลาด Kantar ได้ศึกษาตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในไทยจัดทำรายงาน Kantar: Health is Wealth: Thailand’s Supplement Market in 2023 ซึ่งช่วยให้เราได้เห็นความสนใจในตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
.
โดยสัดส่วนในตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากการศึกษาก็ออกมาดังนี้
• ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพแบบองค์รวม (general wellbeing) เช่น วิตามินรวม, สารสกัดจากโสม, สารสกัดจากพืช – 29%
• ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อผิวพรรณและความงาม (skin & beauty) เช่น คอลลาเจน, แอล-กลูตาไธโอน – 21%
• ผลิตภัณฑ์เสริมโปรตีน (protein) เช่น เวย์โปรตีน – 19%
• ผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกัน (immunity) เช่น วิตามินซี, สังกะสี – 8%
• ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก (body care) เช่น ไฟเบอร์, ผลิตภัณฑ์ทดแทนอาหาร – 7%
• ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพทาอบำรุงสายตา (eyes) เช่น สารสกัดจากพืช – 6%
• ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพทาอบำรุงกระดูกและข้อ (bone & joint care) เช่น แคลเซียม – 4%
• ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อบำรุงสมอง บำรุงกำลัง และผ่อนคลายความเครียด (brain, energy & stress) เช่น สารสกัดจากถั่วเหลือง, วิตามินบี – 4%
• อื่นๆ – 2%
.
.
แต่การเติบโตของตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในไทยก็ไม่ได้มีเพียงในฝั่งของผู้บริโภคเท่านั้น ในฝากการผลิตประเทศไทยก็ยังมีบทบาทสำคัญในฐานะครัวของโลก ซึ่งส่งออกวัตถุดิบ และเป็นฐานการผลิตให้กับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั่วโลกอีกด้วย
.
และในปีนี้ Vitafoods Asia งานแสดงสินค้า เทคโนโลยี และนวัตกรรมส่วนผสมสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย ก็เตรียมกลับมาจัดงานที่ประเทศไทยอีกครั้ง
กับงาน “Vitafoods Asia 2023” เพื่อขยายโอกาสและศักยภาพของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไทยไปสู่ตลาดโลก ด้วยจำนวนผู้แสดงสินค้ากว่า 460 ราย
พร้อมเชิญผู้เข้าร่วมงานไปเจาะลึก 4 ภาคส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตั้งแต่
1. Ingredients & Raw Materials รวบรวมเทรนด์และนวัตกรรมสารสกัดด้านสุขภาพและโภชนาการ
2. Finished Products พบปะกับซัพพลายเออร์ผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่าย เพื่อเริ่มต้นธุรกิจ หรือต่อยอดไลน์สินค้า
3. Contract Manufacturing & Private Label เริ่มต้นธุรกิจกับผู้รับจ้างผลิตที่มีมากมาย พร้อมหลากหลายด้วยความเชี่ยวชาญ
4. Packaging, Services & Equipment โซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ การบริการ เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เฉพาะทางในขั้นตอนการผลิต
.
พบกับ Vitafoods Asia 2023 งานแสดงสินค้า เทคโนโลยี และนวัตกรรมส่วนผสมสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย ในระหว่างวันที่ 20-22 กันยายน 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมงานฟรีได้ที่นี่
•
สามารถติดตามความเคลื่อนไหว connect the dots ได้ที่
Facebook : www.facebook.com/th.connectthedots
YouTube : www.youtube.com/@th.connectthedots
และทาง Spotify Podcast : connectthedotsth
#Connectthedots
Source:
https://www.kantarworldpanel.com/th/news/health-is-wealth-thailands-supplement-market-in-2023
https://positioningmag.com/1431268
เขียนโดย ณัฐพงศ์ ไชยวานิชย์ผล
•
สามารถติดตามความเคลื่อนไหว connect the dots ได้ที่
Facebook : www.facebook.com/th.connectthedots
YouTube : www.youtube.com/@th.connectthedots
และทาง Spotify Podcast : connectthedotsth
#Connectthedots