CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: “การบินไทย” ยื่นไฟลิ่ง เดินหน้ากระบวนการปรับโครงสร้างทุน ภายในปีนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Business > “การบินไทย” ยื่นไฟลิ่ง เดินหน้ากระบวนการปรับโครงสร้างทุน ภายในปีนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ
Business

“การบินไทย” ยื่นไฟลิ่ง เดินหน้ากระบวนการปรับโครงสร้างทุน ภายในปีนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ

CTD admin
Last updated: 2024/09/30 at 8:12 AM
CTD admin Published September 30, 2024
Share

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 เดินหน้าเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการ โดยมีเป้าหมายให้ส่วนของผู้ถือหุ้นให้กลายเป็นบวกด้วย (ก) การแปลงหนี้เดิมของเจ้าหนี้ตามแผนฯ เป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน (Mandatory Conversion) จำนวน ไม่เกิน 14,862,369,633 หุ้น (ข) การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 4,911,236,813 หุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงหนี้เดิมตามแผนฯ เป็นทุนเพิ่มเติมโดยความสมัครใจของเจ้าหนี้ตามแผนฯ (Voluntary Conversion) และ (ค) การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 1,903,608,176 หุ้น เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงดอกเบี้ยใหม่ตั้งพักเป็นทุนโดยความสมัครใจของเจ้าหนี้ตามแผนฯ รวมถึงการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 9,822,473,626 หุ้น (รวมทั้งหุ้นที่เหลือจากกระบวนการ Voluntary Conversion (หากมี)) ให้แก่บุคคลตามที่แผนฯ กำหนด ได้แก่ ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนการปรับโครงสร้างทุนตามแผนฯ (โดยไม่จัดสรรและเสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่จะทำให้การบินไทยมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ) พนักงานของการบินไทย และบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ตามลำดับ โดยกระบวนการปรับโครงสร้างทุนตามแผนฯ ทั้งหมดมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ต่อจากนั้น ภายหลังบริษัทฯ ส่งงบการเงินปี 2567 ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง ต้นปี 2568 แล้ว คาดว่าบริษัทฯ จะสามารถยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อขอยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ได้ภายในไตรมาส 2 ของปี 2568

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การบินไทยได้ดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการอย่างเคร่งครัด รวมถึงปรับการบริหารจัดการองค์กรให้แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ มุ่งให้เกิดผลสำเร็จตามแผนฟื้นฟูกิจการไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3.37 แสนล้านบาทเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างทุนตามแผนฯ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 การมี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามสัญญาเช่าเครื่องบินในรอบ 12 เดือนย้อนหลัง ตั้งแต่กรกฎาคม 2566 ถึงมิถุนายน 2567 เท่ากับ 29,292 ล้านบาท และไม่ผิดนัดชำระหนี้ อย่างไรก็ตามส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 ยังคงติดลบ 40,427 ล้านบาท ขั้นต่อไปจึงเป็นการเร่งดำเนินงานตามแผนปรับโครงสร้างทุน ซึ่งประกอบด้วย การแปลงหนี้เป็นทุนและการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ผู้ลงทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ซึ่งจะเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยปรับให้โครงสร้างทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นของการบินไทยกลายเป็นบวก และสามารถยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ และนำหุ้นของการบินไทยกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในไตรมาส 2 ของปี 2568 อย่างไรก็ดีการบินไทยยังต้องผูกพันตามแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป โดยจะต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จนครบถ้วนตามแผนฯ”

ด้านนางเฉิดโฉม เทอดสถีรศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายการเงินและการบัญชี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า “แผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบการขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 กำหนดให้ในการปรับโครงสร้างทุนตามแผนฯ บริษัทฯ ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียน เพื่อรองรับ 1) การแปลงหนี้เดิมของเจ้าหนี้ตามแผนฯ เป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน (Mandatory Conversion) จำนวนไม่เกิน 14,862,369,633 หุ้น ในราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น โดยเจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 หรือกระทรวงการคลัง จะได้รับการชำระหนี้เงินต้นคงค้างเต็มจำนวนในสัดส่วนร้อยละ 100 คิดเป็นมูลค่า 12,827,461,287 บาท โดยการแปลงหนี้เป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 5,039,896,007 หุ้น ในขณะที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 เจ้าหนี้กลุ่มที่ 6 และเจ้าหนี้กลุ่มที่ 18 – 31 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้ จะได้รับการชำระหนี้เงินต้นคงค้างในอัตราร้อยละ 24.50 ของมูลหนี้เงินต้นคงค้างทั้งหมด โดยการแปลงหนี้เป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 9,822,473,626 หุ้น 2) การใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุนเพิ่มเติม (Voluntary Conversion) ซึ่งเจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 เจ้าหนี้กลุ่มที่ 6 และเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้ตามแผนฯ สามารถใช้สิทธิแปลงหนี้เงินต้นคงค้างเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนได้เพิ่มเติมโดยความสมัครใจ จำนวนไม่เกิน 4,911,236,813 หุ้น ในราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น และ 3) การใช้สิทธิแปลงดอกเบี้ยใหม่ตั้งพักเป็นทุน ซึ่งเจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 เจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 เจ้าหนี้กลุ่มที่ 6 และเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้ตามแผนฯ สามารถใช้สิทธิแปลงหนี้ดอกเบี้ยใหม่ตั้งพักเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนได้โดยความสมัครใจ ในจำนวนไม่เกิน 1,903,608,176 หุ้น ในราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น โดยกำหนดให้ใช้สิทธิในการแปลงหนี้ดอกเบี้ยใหม่ตั้งพักเป็นหุ้นสามัญเต็มจำนวนของยอดดอกเบี้ยใหม่ตั้งพักเท่านั้น ไม่สามารถเลือกใช้สิทธิบางส่วนได้

ในส่วนของการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน การบินไทยจะเสนอขายโดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 9,822,473,626 หุ้น ให้แก่บุคคลตามที่แผนฯ กำหนด โดยแบ่งลำดับการจัดสรรเป็น 3 ลำดับ ดังนี้ 1) ผู้ถือหุ้นเดิมของการบินไทยก่อนการปรับโครงสร้างทุน โดยไม่จัดสรรและเสนอขายให้ผู้ถือหุ้นที่จะทำให้การบินไทยมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ 2) พนักงานของการบินไทย และ 3) บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ซึ่งจะจัดสรรให้แก่บุคคลในวงจำกัดในกรณีที่มีหุ้นเหลือจากการเสนอขายให้ แก่ผู้ถือหุ้นเดิมและพนักงาน โดยจะเสนอขายในราคาที่ผู้บริหารแผนเห็นสมควร แต่จะต้องไม่ต่ำกว่า 2.5452 บาทต่อหุ้น”

“และเพื่อความสำเร็จของการปรับโครงสร้างทุนภายใต้แผนฯ รวมทั้งเป็นการรักษาเสถียรภาพด้านราคาหุ้นของการบินไทยภายหลังจากวันที่กลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้บริหารแผนได้กำหนดมาตรการ Lock-up ห้ามเจ้าหนี้ที่ได้รับหุ้นสามัญเพิ่มทุนจากการแปลงหนี้เป็นทุนที่ราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น ขายหุ้นดังกล่าวจนกว่าจะครบระยะเวลา 1 ปีนับจากวันที่หุ้นของการบินไทยกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยหลังจากวันที่ครบกำหนดระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่หุ้นของการบินไทยกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงจะให้เจ้าหนี้ที่ได้รับหุ้นจากการแปลงหนี้เป็นทุนแต่ละรายสามารถขายหุ้นในส่วนดังกล่าวของตนได้จำนวนไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นที่ถูกห้ามขาย ซึ่งอ้างอิงเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ” นางเฉิดโฉม กล่าวเสริม

You Might Also Like

PTG โชว์ยอดขาย Non-Oil โต 32.2% กาแฟพันธุ์ไทย ขยายสาขาได้เฉลี่ย 1.5 สาขา/วัน

AOT ราคาเท่าไหร่ถึงเรียกว่าถูก?

เอพี ไทยแลนด์ โชว์ผลประกอบการ Q1/68 ยอดขายพุ่งทะลุ 12,110 ล้าน ย้ำศักยภาพทางการเงินแข็งแกร่ง

SET – Nasdaq ลงนาม MOU เสริมศักยภาพตลาดทุนไทยด้วยเทคโนโลยี

TAGGED: ก.ล.ต., การบินไทย, ตลาดหลักทรัพย์, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ยื่นไฟลิ่ง

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
CTD admin September 30, 2024
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article ‘กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง’ ประสบความสำเร็จเสนอขายหน่วยลงทุนประเภท ก. เข้าเทรด 7 ต.ค.นี้
Next Article กลุ่มเปราะบางใช้จ่ายฟุ่มเฟือย กระตุ้นเศรษฐกิจได้ไหม? 
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?