CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: ตราสารหนี้ 03 : หลักการเลือกซื้อตราสารหนี้
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Investment (Closed) > ตราสารหนี้ 03 : หลักการเลือกซื้อตราสารหนี้
Investment (Closed)

ตราสารหนี้ 03 : หลักการเลือกซื้อตราสารหนี้

connectthedots admin
Last updated: 2023/07/01 at 5:18 AM
connectthedots admin Published December 9, 2022
Share

#ข้อมูลสำคัญที่ควรรู้ก่อนซื้อตราสารหนี้

📌อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating)

โดยทั่วไปตราสารหนี้จะวัดความเสี่ยงจากการผิดชำระหนี้ได้จากการจัดลำดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งสำหรับตราสารหนี้ภาครัฐจะไม่มีการจัดลำดับ เนื่องจากรัฐบาลมีความน่าเชื่อถือ จึงไม่มีความเสี่ยงด้านเครดิต (credit risk free) แต่หุ้นกู้ซึ่งออกโดยบริษัทเอกชน มีโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้ได้ เพราะความสามารถในการชำระหนี้ของแต่ละบริษัทมีไม่เท่ากัน

ปัจจุบันในไทยมีบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ 2 แห่งคือ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด (TRIS Rating) และ บริษัท ฟิทช์เรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (Fitch Rating Thaland) 

📌การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ

• Investment Grade (กลุ่มระดับลงทุน)

เริ่มตั้งแต่ AAA หมายถึง อันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด ไล่ลงมาจนถึงระดับ BBB มีอันดับความน่าเชื่อถือปานกลาง

• Speculative Grade (กลุ่มที่ลงทุนเพื่อการเก็งกำไร)

เป็นตราสารหนี้ที่จะให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งจะมีเรทติ้งตั้งแต่ BB ลงมาจนถึง D ซึ่งเป็นตราสารที่อยู่ในสถานะผิดนัดชำระหนี้ ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยและคืนเงินต้นได้ตามกำหนด

📌ความผันผวนของราคา

มูลค่าของตราสารหนี้และอัตราดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกัน ดังนั้น ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ควรลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น เพื่อลดโอกาสการขาดทุนจากราคาที่ต่ำลง และเมื่ออัตราดอกเบี้ยขาลง ควรเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว เพื่อรับผลประโยชน์จากราคาที่เพิ่มขึ้น

📌สภาพคล่องในตลาด

ตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ที่ไม่ค่อยมีสภาพคล่องในตลาด กรณีที่ผู้ลงทุนต้องการขายตราสารหนี้แบบรายตัว อาจต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะขายได้ หรือถ้าขายได้ก็อาจไม่ได้ราคาตามที่ต้องการ 

ตราสารหนี้บางตัวก็มีกำหนดให้เฉพาะนักลงทุนรายใหญ่ หรือนักลงทุนสถาบันซื้อได้เท่านั้น และอาจมีกำหนดขั้นต่ำในการซื้อด้วยวงเงินที่สูง ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก

สำหรับนักลงทุนรายย่อยแล้ว การลงทุนผ่านกองทุนตราสารหนี้ ที่ไม่ใช่กองทุนประเภทกำหนดระยะเวลา (Term Fund) จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากกว่า เพราะใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการไปลงทุนเองโดยตรง และสามารถซื้อ-ขาย ได้ทุกวันตามเวลาทำการ ของบลจ

You Might Also Like

Globlex เสิร์ฟหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง KIKO-Basket-KIKO ผลตอบแทน 7-15% ต่อปี 

Pi เผยผลงานปี 67 พร้อมรุกกลยุทธ์ปี 68 ยกระดับบริการการลงทุนครบวงจร

Finnomena Funds เปิดตัวพอร์ตลงทุนใหม่ Dynamic Contrarian Model Portfolio : ย่อ-ซื้อ ขึ้น-ขาย เท่าทันทุกโอกาสที่เปลี่ยนแปลง

ความรู้คู่การลงทุนสร้างความเชื่อมั่นในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลได้อย่างไร?

TAGGED: การลงทุน, การลงทุนยุคใหม่, ความรู้การลงทุน, ตราสารหนี้

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
connectthedots admin December 9, 2022
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article Unicorn start-up คืออะไร?บริษัทไหนเข้าข่ายบ้าง?
Next Article จีนช่วงครึ่งปีหลัง น่าลงทุนหรือไม่?
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?