ยุคนี้จะปฎิเสธว่าไม่รู้จักกับเทคโนโลยี Bolckchain เลยก็ไม่ได้ เพราะนี่ถือเป็นนวัตกรรมที่เข้ามาเปลี่ยนโลก เปลี่ยนวิธีการจัดเก็บและรักษาข้อมูล ไปจนถึงการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งน่าจะเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นไปเรื่อยๆ อีกในอนาคต
.
ดังนั้นในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ Blockchain กันให้มาขึ้น ตั้งแต่ความหมายของ Blockchain หลักการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย รวมไปถึงบริษัทที่ได้นำเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้แล้ว
ประโยชน์ของ Blockchain
- มีความเป็นเจ้าของมากขึ้น เราสามารถเก็บทรัพย์สินหรือเงินกับตัวเองได้จริงๆ และโอนแบบ Peer-to-Peer ได้เลย ไม่ต้องขออนุญาตหรือมีคนกลางมาเป็นผู้ดูแลทรัพย์สิน
- ระบบเปิดและมีความเท่าเทียม ทุกคนมีสิทธิเข้ามาใช้เทคโนโลยีได้อย่างเท่าเทียม ไม่ลำเอียงหรือให้บริการแบบสองมาตรฐาน
- มีความโปร่งใสและเชื่อถือได้ เพราะข้อมูลที่อยู่บน Blockchain จะเปลี่ยนแปลง แก้ไขย้อนหลังไม่ได้ แถมอยู่อย่างถาวร จึงทำให้เป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้
- มีความปลอดภัยสูง ถ้าใช้เซิฟเวอร์กลาง Hacker จะรู้เป้าโจมตีว่าต้องเจาะข้อมูลที่ไหน แค่พลาดครั้งเดียวข้อมูลบัญชีก็อาจถูกแก้ไขได้ แต่ถ้าเรากระจายบัญชีไปทั่วโลกล่ะก็ จะแก้ทีก็ต้องแฮกคอมพิวเตอร์นับไม่ถ้วนพร้อม ๆ กัน ดังนั้นจึงมีความปลอดภัยกว่ามาก
- มีประสิทธิภาพสูงและรวดเร็ว การประมวลผลข้อมูลและการทำธุรกรรมทั้งหมดจะดำเนินการในระบบแบบ Decentralized ผู้ใช้สามารถส่งหรือรับการชำระเงินได้ตลอดเวลา และไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลที่สามใด ๆ จึงทำให้ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว
- ลดต้นทุน แน่นอนว่าพอไม่มีธุรกิจตัวกลางที่มากินกำไรแล้ว ค่าใช้จ่ายของการทำธุรกรรมนั้น ก็จะลดลงไปอย่างมาก
ข้อเสียของ Blockchain
- ไม่สามารถแก้ไขได้ ถือว่าเป็นข้อเสียในข้อดีที่ระบบไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ เมื่อข้อมูลถูกบรรจุลงใน Blockchain แล้วจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะย้อนกลับไปแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น หากใส่ตัวเลขหรือจุดหมายปลายทางผิด ก็ยากที่จะแก้ไขได้ เพราะฉะนั้นการทำธุรกรรมทุกครั้งควรจะตรวจสอบให้ดีทุกครั้งก่อนทำธุรกรรม
- สิ้นเปลืองการใช้พลังงาน ทุกครั้งที่เกิดธุรกรรม นักขุดในเครือข่ายจะต้องใช้พลังงานในการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ทั้งการตรวจสอบ และจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ อย่างถาวร ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมาก
- ในทางทฤษฎี Blockchain สามารถถูกแทรกเซงได้ การจะเข้าแทรกแซง Blockchain ได้ จำเป็นต้องใช้พลังงานมากกว่า 51% ของทั้งระบบ เพื่อทำให้เสียงส่วนใหญ่เห็นชอบกับข้อมูล อย่างไรก็ตาม แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในทางปฎิบัติ โดยเฉพาะเครือข่ายที่มีการกระจายตัวสูงอย่างบิตคอยน์ ยิ่งมีผู้มีส่วนร่วมมากยิ่งทำให้เครือข่ายมีความแข็งแกร่ง ปลอดภัย และโปร่งใสมากเท่านั้น
- การขยายระบบเป็นเรื่องยาก ปัญหาของเครือข่ายที่พบได้มากก็คือเรื่องของการขยายระบบ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีความพยายามที่จะพัฒนาแก้ไขเรื่องนี้อยู่ เพื่อให้ระบบสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น ลดปัญหาคอขวด และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในอนาคตได้
- การเก็บรักษา Private key ปัจจุบันการเก็บรักษา Private key สามารถทำได้ง่ายขึ้นหากเทียบกับเมื่อก่อน แต่ก็ยังพูดได้ว่ายังเป็นเรื่องยากสำหรับมือใหม่ เพราะผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจในเทคโนโลยีอยู่ระดับหนึ่ง เพื่อที่จะสามารถเก็บรักษา Private key ได้อย่างปลอดภัย หากผู้ใช้ไม่มีวิธีเก็บที่ปลอดภัยและรัดกุมมากพอ อาจทำให้สูญเสียบัญชีไปได้
- อาจเป็นนช่องทางของกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เนื่องจาก Blockchain มีข้อดีเรื่องการรักษาความเป็นส่วนตัว ดังนั้นจึงเป็นเป้าหมายของการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่น การฟอกเงิน ซื้อขายอาวุธ หรือสารเสพติด
Reference
https://techsauce.co/tech-and-biz/understand-blockchain-in-5-minutes
https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/blockchain-and-bank
https://techsauce.co/tech-and-biz/20-industries-with-blockchain-technology-and-case-studies