CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: ทำไม Telegram จึงเป็นแหล่งอาชญากรรม แอปโปรดของเหล่ามิจฉาชีพระดับสากล 
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > News > ทำไม Telegram จึงเป็นแหล่งอาชญากรรม แอปโปรดของเหล่ามิจฉาชีพระดับสากล 
News

ทำไม Telegram จึงเป็นแหล่งอาชญากรรม แอปโปรดของเหล่ามิจฉาชีพระดับสากล 

CTD admin
Last updated: 2024/09/12 at 8:15 AM
CTD admin Published August 27, 2024
Share

เมื่อไม่กี่วันก่อน พาร์เวล ดูรอฟ (Pavel Durov) ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มข้อความออนไลน์ Telegram ถูกจับที่สนามบินนอกเมืองปารีส ฝรั่งเศส และนำตัวไปสอบสวนในเรื่องที่แพลตฟอร์มขาดการกำกับดูแลที่เหมาะสมจนเป็นพื้นที่ซึ่งเกิดการใช้งานทางอาชญากรรมมากมาย ทั้งกลุ่มส่งภาพโป๊เปลือยเด็ก การติดต่อซื้อขายยาเสพติด การฉ้อโกง และแม้กระทั่งการเคลื่อนไหวในสงคราม ซึ่งทางแพลตฟอร์มก็ยืนกรานปฏิเสธไม่มีส่วนรู้เห็นมาตลอด แต่ทำไม Telegram จึงกลายเป็นเมืองบาปของโซเชียลมีเดีย 

900 ล้านคนต่อเดือน 

ใครที่เคยใช้งาน Telegram ในการติดต่อพูดคุยกับคู่ค้าหรือเพื่อในต่างประเทศ น่าจะพอรู้ว่านี่คือหนึ่งในช่องทางที่สะดวกและเข้าถึงได้เกือบทั่วโลก โดยปกติแล้วในแต่ละประเทศจะใช้ช่องทางในการสื่อสารหลักแตกต่างกัน ซึ่งเมื่อต้องติดต่อระหว่างประเทศจะอาจเกิดความยุ่งยาก แต่ Telegram คือแพลตฟอร์มที่ใช้กันกว่า 155 ประเทศ เคยมีให้โหลดใน App  Store ที่จีนด้วยซ้ำ มีผู้ใช้ประจำกว่า 900 ล้านคนต่อเดือน แม้จะไม่ได้มากกว่าโซเชียลมีเดียหลักอย่าง Facebook หรือ X แต่ก็เป็นอีกช่องทางที่เข้าถึงผู้คนได้มหาศาล ทั้งยังตั้งกลุ่มสาธารณะที่มีสมาชิกได้มากถึง 2 แสนคน จึงไม่แปลกที่พี่มิจนานาชาติจะถูกใจสิ่งนี้ 

มีบนสโตร์หลัก 

หากนึกถึงการติดต่อสื่อสารที่ผิดกฎหมายของเหล่าอาชญากร หรือการขายของเถื่อน คนมักจะนึกถึงการใช้พวก Dark Web ซึ่งนั่นเป็นอะไรที่ซับซ้อนกว่า และต้องใช้ความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ประมารหนึ่ง แต่กลับกัน Telegram เป็นแอปที่มีให้โหลดได้บนสโตร์หลักที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน ทั้ง Google Play Store, App Store ฯลฯ ทำให้เข้าถึงง่ายมาก ๆ แม้จะเป็นมิจมือใหม่ก็ตาม 

เรื่องเกิดใน Telegram จบที่ Telegram 

หนึ่งในฟีเจอร์โดดเด่นที่ Telegram มอบให้คือความเป็นส่วนตัวที่สูงมาก ผู้ใช้สามารถใช้งานโดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตน และไม่แม้กระทั่งเปิดเผยข้อมูลผู้ใช้ต่อหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายใด ๆ ยกเว้นมีหมายศาลมาใน “บางเคส” ซึ่งจะให้ข้อมูลที่จำกัด ยิ่งถ้าทำเป็นขบวนการยิ่งซับซ้อน ซึ่งนี่คือเหตุผลหลักที่เหล่าอาชญากรเลือกใช้แพลตฟอร์ม 

Telegram ยังเป็นแอปแรก ๆ ที่ใช้การเข้ารหัสจากต้นทางถึงปลายทาง (End-to-End Encryption) ซึ่งนอกจากผู้ส่งและผู้รับก็ไม่มีใครเข้าถึงได้แม้แต่ Telegram เอง อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถลบข้อมูลข้อความที่ถูกส่งในแชตได้แบบไม่มีหลักฐาน 

แม้การลงทะเบียนใช้งานจะต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์ แต่ผู้ใช้ก็สามารถใช้ Burner Number หรือเบอร์ชั่วคราวได้ โดยไม่ต้องใช้เบอร์โทรศัพท์จริง ไม่ต้องยืนยันตัวตน ไม่เหลือร่องรอยให้ติดตาม  

ด้วยคุณลักษณะเหล่านี้ทำให้ Telegram เป็นเครื่องมือทางอาชญากรรมที่เข้าถึงง่ายใช้งานสะดวก และไร้ร่องรอย จึงทำให้มีผู้ใช้จำนวนมากตกเป็นเหลือของเหล่าอาชญากร อย่างถ้าใครทำงานฟรีแลนซ์แบบรีโมตระหว่างประเทศ น่าจะคุ้นเคยกับการติดต่องานแปลก ๆ ทาง Telegram ซึ่งส่วนใหญ่ถ้ามาช่องทางนี้จะถูกตีว่าเป็นมิจฉาชีพไปก่อนแล้ว เพราะเชื่อถือได้ยาก และยิ่งมาจากต่างประเทศก็ยิ่งตามไม่ได้  

อย่างไรก็ตาม แม้ Telegram จะกลายเป็นเครื่องมือทางอาชญากรรม แต่มันไม่ใช่อาชญากร และอาชญากรจะใช้อะไรก็ก่ออาชญากรรมได้อยู่ดี อย่างในไทยเองที่มิจฉาชีพจำนวนมากใช้ Line ในการหลอก ทั้งที่ก็เป็นช่องทางหลักในการสื่อสารที่ควรจะปลอดภัย หรือแม้แต่โทรศัพท์มาก็หลอกกันได้ในไม่กี่นาที  

ดังนั้นความน่ากลัวจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าใช้แอปอะไร แต่อยู่ที่ใครเป็นคนใช้มันมากกว่า การตระหนักรู้ถึงภัยทางไซเบอร์ การระวังไม่ให้ตัวเองตกเป็นเหยื่อจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่ว่าคุณจะใช้แอปอะไรสื่อสารก็ตาม 

You Might Also Like

ครบ 2 ทศวรรษของการเปลี่ยนแปลง บ้านปู x มหิดล ส่งเยาวชนลุยภารกิจ “ลดคาร์บอนให้โลกคูลล์” ใน Power Green Camp ครั้งที่ 20 

บ้านปู ชวนร่วมงาน “ดีค้าบ เฟสติวัล” ฉลอง 20 ปี Power Green Camp 2-3 พ.ค. นี้ ที่อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ

เปิดตัวโครงการ ‘THE INFLUENCER : FINANCIAL & INVESTMENT’ ครั้งแรกในไทย ยกระดับการเผยแพร่ข้อมูลการเงินการลงทุนผ่านอินฟลูเอนเซอร์คุณภาพ

ความจริงบนซากตึก สตง. ซ่อนเงื่อน “ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์เท็น” คุณภาพต่ำแต่รับงานภาครัฐอีกนับสิบ

TAGGED: Application, Telegram, มิจฉาชีพ

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
CTD admin August 27, 2024
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article หลักทรัพย์บัวหลวง ตอกย้ำแนวคิด “มั่นคง มั่นใจ มืออาชีพ” ผลประกอบการ 6 เดือนแรก รายได้รวม 1,677 ล้านบาท
Next Article หุ้นใหม่ PMC เคาะราคา IPO 1.82 บาท/หุ้น จองซื้อ 29 ส.ค. – 5 ก.ย. คาดเทรด mai 11 ก.ย.
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?