CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: ไอศกรีมจีนแฝงตัวบุกไทยมานานแล้ว ในคราบ “แบรนด์ไทย”  
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Business > ไอศกรีมจีนแฝงตัวบุกไทยมานานแล้ว ในคราบ “แบรนด์ไทย”  
Business

ไอศกรีมจีนแฝงตัวบุกไทยมานานแล้ว ในคราบ “แบรนด์ไทย”  

CTD admin
Last updated: 2024/09/13 at 3:23 AM
CTD admin Published August 7, 2024
Share

ตั้งแต่เมื่อปีก่อน มี่เสวี่ย (Mixue) ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟจากจีนเข้ามาบุกตลาดของหวานไทยและขยายสาขากว่า 200 สาขาแล้ว และในปีนี้ก็เพิ่งมี วีดริ๊งก์ (WeDrink) จากจีนตามมาอีกราย สะท้อนภาพการหลั่งไหลเข้ามาของธุรกิจจีนมากมายในช่วง 2-3 ปีมานี้ และสร้างความกังวลใจให้ชาวไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย เพราะธุรกิจจีนเหล่านี้มีความโดดเด่นมากในด้านราคา ในขณะที่คุณภาพไม่ห่างกัน 

ท่ามกลางกระแสธุรกิจจีนในไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้ เพิ่งมีการเปิดตัวแฟรนไชส์ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟน้องใหม่ในไทยอย่าง หมิงคิ (Minkki) ที่เป็นแบรนด์จากบริษัทสัญชาติไทย เข้ามาแข่งขันตลาดเดียวกันด้วยราคาพอ ๆ กัน ท้าชิงส่วนแบ่งกับมี่เสวี่ยและวีดริ๊งก์ ทำให้ชาวไทยจำนวนหนึ่งดีใจที่มีธุรกิจไทยไปถ่วงดุลส่วนแบ่งตลาดสักที  

แต่เฮกันได้ไม่นานก็ต้องหุบยิ้ม เมื่อมีคนตาดีไปค้นในฐานข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และพบว่า บริษัท หมิงคิ (ประเทศไทย) จำกัด มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย 510,000 บาท คิดเป็น 51% และสัญชาติจีน 490,000 บาท คิดเป็น 49% จากทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวถือเป็นสัดส่วนสูงสุดที่ชาวต่างชาติสามารถถือในบริษัทสัญชาติไทยได้ หากชาวต่างชาติลงทุนเกิน 49% จะถือเป็นนิติบุคคลต่างด้าว ซึ่งจะทำให้มีข้อจำกัด รวมถึงต้องดำเนินการหลายอย่างเพิ่มเติม 

นั่นทำให้หมิงคิถูกตั้งข้อสังเกตว่าผู้ถือหุ้นคนไทยอาจเป็นเพียงแค่นอร์มินีของทุนจีนก็เป็นได้ พร้อมทั้งชื่อแบรนด์ที่มีคำว่า “หมิง” ยังเป็นภาษาจีนอีก 

หลังจากเกิดเป็นประเด็นไม่นาน คุณหมุงหมิง นิจชิตา วัฒนเสถียรสินธุ์ เจ้าของแบรนด์ก็ได้ออกมาเผยว่า ชื่อแบรนด์มาจากชื่อเล่นของตัวเอง และยืนยันว่า “แบรนด์นี้มีต้นกำเนิดในไทยตั้งแต่ช่วงปลายปี 2566…หมิงเป็นกรรมการบริษัทและเป็นผู้มีอำนาจลงนามเพียงคนเดียว เป็นคนไทย100% ส่วนผู้ถือหุ้นเราเป็นพาร์ทเนอร์ เป็นเพื่อนกัน จะเป็นสัญชาติใดในโลกก็มาถือได้ ย้ำว่าไม่ใช่นอร์มินีของใครแน่นอน ยืนยันข้อมูลว่าเป็นความจริงค่ะ”  

ถึงอย่างนั้น สิ่งที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนคือ ธุรกิจจีนบุกตลาดไอศกรีมไทยมานานแล้วตั้งแต่ก่อนยุคโควิด ภายใต้ฉากหน้าที่ขึ้นชื่อว่า “แบรนด์ไทย” นั่นคอไอศกรีม Top 3 ของไทย ครีโม (Cremo) ที่ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัท จอมธนา จำกัด ตั้งแต่ปี 2521 ได้ทำข้อตกลงขายหุ้น 96.46% ให้กับ อีลี่กรุ๊ป (Inner Mongolia Yili Industrial Group) จากจีน มูลค่ากว่า 80 ล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2561 และสัดส่วนของผู้ถือหุ้นไทยก็ค่อย ๆ น้อยลงตั้งแต่ตอนนั้น จนทุกวันนี้มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นไทยเพียงแค่ 0.37% ในขณะที่ผู้ถือหุ้นจีนมีสัดส่วนถึง 99.63% รายชื่อกรรมการทั้งสองคน เป็นชาวจีนทั้งหมด 

การควบรวมครั้งนั้น ช่วยให้ทั้งครีโมและอีลี่เติบโตในระดับโลก แต่ในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงอิทธิพลของธุรกิจจีนที่เข้ามาควบคุมธุรกิจไทยไว้ได้ในทุกระดับ และนั่นก็อาจไม่ได้มีแค่ข้อดี เพราะเมื่อทุนส่วนใหญ่มาจากจีน ประโยชน์ส่วนใหญ่ก็คืนกลับไปที่จีนเช่นกัน… 

……………………….. 

[ประสบการณ์ตรงจากผู้เขียน] 

*โปรดใช้วิจารณญาณ 

สุดท้ายนี้ ขอปิดด้วยมีอินไซด์เล็ก ๆ เผยการ(เกือบ)ร่วมงานกับอีลี่กรุ๊ปของผู้เขียนเอง มีชาวจีนติดต่อมาขอให้พากย์เสียงภาษาไทยสำหรับแคมเปญโฆษณาผลิตภัณฑ์ของครีโม และผลิตภัณฑ์อื่นอีกสองแบรนด์ในเครือของอีลี่ โดยเสนอค่าตอบแทนแค่หลักร้อยเท่านั้น อ้างว่าได้รับงบจากอีลี่มาเท่านี้ ทั้งที่อีลี่เป็นเครือผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากนมวัวที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีเงินจ่ายสนับสนุนทีมชาติในฟุตบอลยูโร 2024 รวมทั้งจ้างดาราไทยชื่อดังเป็นพรีเซนเตอร์ของครีโมได้ แต่กลับจ่ายเงินหลักร้อยให้กับคนทำงานโปรดักชันไทย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นี่เป็นการจ้างงานต่อกันอีกที อาจเกิดการหักหัวคิวที่ไม่เป็นธรรมระหว่างทางได้ ซึ่งทางผู้เขียนได้ติดต่อแจ้งทางแบรนด์ให้ตรวจสอบแล้ว หลังจากรับเรื่องก็เงียบหายไปเลยครับ…. 

อย่างไรก็ตาม เคสนี้สะท้อนปัญหาการกดราคาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในแทบทุกธุรกิจจีน ซึ่งไม่สำคัญว่าบริษัทนั้นจะเป็นทุนใหญ่ระดับไหน แต่เท่าที่ผู้เขียนพบเจอมาส่วนใหญ่เป็นแบบนี้เยอะมาก หากใครมีประสบการณ์การร่วมงานกับธุรกิจทุนจีนแบบไหนอยากแบ่งปัน ก็ลองเข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้ในคอมเมนต์เลยครับ 

You Might Also Like

PTG โชว์ยอดขาย Non-Oil โต 32.2% กาแฟพันธุ์ไทย ขยายสาขาได้เฉลี่ย 1.5 สาขา/วัน

AOT ราคาเท่าไหร่ถึงเรียกว่าถูก?

เอพี ไทยแลนด์ โชว์ผลประกอบการ Q1/68 ยอดขายพุ่งทะลุ 12,110 ล้าน ย้ำศักยภาพทางการเงินแข็งแกร่ง

SET – Nasdaq ลงนาม MOU เสริมศักยภาพตลาดทุนไทยด้วยเทคโนโลยี

TAGGED: Cremo, Minkki, MIXUE, WEDRINK, ธุรกิจจีน, ไอศกรีมจีน

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
CTD admin August 7, 2024
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article ดิจิทัลวอลเล็ต เศรษฐกิจโตเกิน 1% ? เม็ดเงินที่ให้ ได้ไม่คุ้มเสีย
Next Article “อิชิตัน” ผลงานโดดเด่น โชว์ All Time High ต่อเนื่อง ยอดขายพุ่ง 2,304 ล้านบาท
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?