CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ สร้าง Multiplier Effect ที่มากกว่า
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > News > มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ สร้าง Multiplier Effect ที่มากกว่า
News

มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ สร้าง Multiplier Effect ที่มากกว่า

CTD admin
Last updated: 2024/10/03 at 5:25 AM
CTD admin Published April 10, 2024
Share

รัฐบาลเคาะมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ รวม 5 มาตรการ + แคมเปญพิเศษของธนาคารออมสิน คาดว่าจะสร้าง Multiplier Effect ที่มากกว่าให้กับเศรษฐกิจไทย หนุนจีดีพี 1.7 – 1.8% คิดเป็นเม็ดเงิน 1.4 ล้านล้านบาท เปิดโผ 9 หุ้นเด่นรับอานิสงส์แบรนด์ใหญ่อสังหาฯ กลุ่มเฟอร์นิเจอร์

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 9 เมษายน 257 เห็นชอบมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ รวม 5 มาตรการ และแพคเกจสินเชื่อพิเศษของธนาคารออมสิน ซึ่งรัฐบาลคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอีก 1.7 – 1.8% หรือคิดเป็นเม็ดเงินกว่า 1.4 ล้านล้านบาท ถือเป็น Multiplier Effect หรือผลทวีคูณด้านเศรษฐกิจ โดยกระตุ้นการลงทุน 4 – 5 แสนล้านบาท กระตุ้นการซื้ออสังหาฯและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง 8 แสนล้านบาท และกระตุ้นการบริโภคอีกราว 1 แสนล้านบาท โดย 7 มาตรการมีดังนี้

1. มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง โดยให้ลดค่าโอนจาก 2% เหลือ 0.01% และลดค่าจดจำนองจาก 1% เหลือ 0.01% สำหรับการซื้อขายบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าว คอนโดมิเนียมที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 7 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาทต่อสัญญา ขยายวงเงินจากเดิม 3 ล้านบาท ทำให้ครอบคลุมกำลังซื้อระดับกลางขึ้นไป ซึ่งมีสัดส่วนสินค้าอยู่ประมาณ 80% ของตลาด และเป็นการแก้เกมสำหรับกำลังซื้อระดับ 3 ล้านบาท ที่มีปัญหากู้ไม่ผ่านจำนวนมาก

2. มาตรการลดหย่อนภาษีสร้างบ้านเอง มาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกสร้างบ้านเอง โดยให้หักลดหย่อนภาษีได้ 1 หมื่นบาทต่อทุกจำนวนค่าก่อสร้าง 1 ล้านบาท ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันเล้วไม่เกิน 1 แสนบาท หรืองบก่อสร้างไม่เกิน 10 ล้านบาท เฉพาะค่าจ้างก่อสร้างบ้านไม่เกิน 1 หลัง ในปีภาษีที่ก่อสร้างบ้านเสร็จตามสัญญาจ้างที่ก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568

3. โครงการบ้าน BOI ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ได้รับการยกว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ในวงเงินไม่เกิน 100% ของเงินลงทุน ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย (รวมค่าที่ดิน) ราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท

4. โครงการสินเชื่อบ้าน Happy Home วงเงิน 20,000 ล้านบาท โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ปล่อยกู้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด ปลูกสร้างอาคารหรือซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร และเพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3% ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี วงเงินต่อรายสูงสุด ไม่เกิน 3 ล้านบาท เวลากู้สูงสุดไม่เกิน 40 ปี

5. โครงการสินเชื่อบ้าน Happy Life วงเงิน 10,000 ล้านบาท โดย ธอส. สนับสนุนสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด ปลูกสร้างอาคาร หรือซื้อที่ดิน พร้อมปลูกสร้างอาคาร เพื่อต่อเติม ขยาย ซ่อมแซมอาคาร หรือไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่น อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 2.98% ต่อปี วงเงินรายละ 2,500,000 บาทขึ้นไป

สำหรับธนาคารออมสินได้จัดแพคเกจสินเชื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ประกอบด้วย

– “สินเชื่อบ้านออมสินเพื่อคนไทย” อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 2.95% ต่อปี

– “สินเชื่อ Top-Up” อัตราดอกเบี้ย 3 ปีแรกคงที่ 3.49%

– “สินเชื่อ GSB D-HOME กระตุ้นเศรษฐกิจ” สินเชื่อสำหรับให้ผู้ประกอบการนำไปเป็นเงินลงทุน เช่น เป็นค่าที่ดิน ค่าก่อสร้าง ค่าพัฒนาสาธารณูปโภค หรือเป็นเงินหมุนเวียนในกิจการ แต่จะต้องไม่เป็นการให้กู้เพื่อเก็งกำไรที่ดิน อัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรกคงที่ 3.99% ต่อปี

– “สินเชื่อ GSB D-HOME สร้างบ้านเพื่อคนไทย” สำหรับการส่งเสริมกิจการโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ราคาขายไม่เกิน 1.5 ล้านบาท/หลัง อัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรกคงที่ 3.50% ต่อปี ทั้งนี้ไม่จำกัดวงเงินกู้ และระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 4 ปี

เปิดโผหุ้นรับอานิสงส์

สำหรับมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลในครั้งนี้ สร้างปรากฎการณ์หุ้นอสังหาริมทรัพย์เขียวยกแผง โดยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส จำกัด คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะสร้าง Multiplier Effect ต่อหลายธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่น เช่น รับเหมาก่อสร้าง, วัสดุก่อสร้าง และของใช้ในครัวเรือน (เฟอร์นิเจอร์) โดยกระทรวงการคลังคาดว่าจะมีผลต่อการผลักดันจีดีพีประเทศไทยให้เติบโตมากกว่า 4% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 2.7%

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทจดทะเบียน(บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์จะได้อานิสงส์มากขึ้น โดยเฉพาะการขยายเพดานบ้านเป็น 7 ล้านบาท เนื่องจากพอร์ตสินค้าส่วนใหญ่ครอบคลุมระดับราคาดังกล่าวอยู่แล้ว โดยข้อมูล ณ สิ้นไตรมาส 4/66 มี Backlog ระดับ 2.05 แสนล้านบาท จะมีการส่งมอบปีนี้ราว 1.13 แสนล้านบาท และที่เข้าข่ายเกณฑ์ราคาตามมาตรการสามารถโอนได้ง่ายขึ้น รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการระบายสต๊อกคงค้างของผู้ประกอบการที่มีอยู่รวมเกือบ 8 แสนล้านบาท

บล.เอเซียพลัส แนะนำลงทุนกลุ่มอสังหา ฯ โดยคัดหุ้นเด่นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว โดยมีพอร์ตสินค้าที่หลากหลาย และปันผลเกิน 6% ได้แก่

– บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP ราคาเหมาะสมที่ 16.00 บาท

– บริษัทศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI ราคาเหมาะสมที่ 27.30 บาท

– บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC ราคาเหมาะสมที่ 4.80 บาท

– บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ราคาเหมาะสมที่ 9.60

– บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน ) หรือ SIRI ราคาเหมาะสมที่ 2.20 บาท

– บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH ราคาเหมาะสมที่ 10.00 บาท

ด้าน บล.กรุงศรี พัฒนสิน ระบุในบทวิเคราะห์เช่นเดียวกันว่า มีมุมมองเชิงบวกต่อหลักทรัพย์ที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นอสังหา (Property Stimulus) โดยมองเป็นจิตวิทยาบวกต่อกลุ่มอสังหาฯ ช่วยให้ผู้ที่มีแผนซื้อบ้านและสร้างบ้านตัดสินใจเร็วขึ้น โดยเฉพาะ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP และ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน ) หรือ SIRI

รวมทั้งยังมีมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มสินค้ากลุ่มปรับปรุงบ้าน อาทิ บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) หรือ  DOHOME , บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ HMPRO และโดยเฉพาะ บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLOBAL อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามต่อไปว่าภาครัฐจะมีนำเสนอมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่ โดยเฉพาะข้อเสนอสำคัญ ๆ ที่ภาคเอกชนได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ เช่น ยกเลิก LTV หรือเกณ์ฑการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย การลดหย่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 50% เป็นเวลา 1 ปี และทบทวนหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ โดยขยายเวลาเช่าจาก 30 ปีเป็น 60 ปี ฯลฯ รวมถึงการแก้ไขปัญหากำลังซื้อและการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ทำให้อัตราการปฎิเสธสินเชื่อสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของภาคอสังหาฯในช่วงที่ผ่านมา

You Might Also Like

ครบ 2 ทศวรรษของการเปลี่ยนแปลง บ้านปู x มหิดล ส่งเยาวชนลุยภารกิจ “ลดคาร์บอนให้โลกคูลล์” ใน Power Green Camp ครั้งที่ 20 

วัดกำลังอสังหาฯ ยามพบศึกหนัก แผ่นดินไหว vs สงครามการค้า บ้านแนวราบโต แต่ตลาดคอนโดตึกสูงสั่นคลอน

“เอกา โกลบอล” ประเมินธุรกิจบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร รับมือนโยบาย ‘ทรัมป์’

บ้านปู ชวนร่วมงาน “ดีค้าบ เฟสติวัล” ฉลอง 20 ปี Power Green Camp 2-3 พ.ค. นี้ ที่อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ

TAGGED: สินทรัพย์, อสังหาริมทรัพย์, เศรษฐกิจ

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
CTD admin April 10, 2024
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article ออปโป้ จับมือ ททท. เปิดแกลเลอรี่ภาพ โชว์เสน่ห์ท่องเที่ยวไทย จัดแสดงตลอดช่วงสงกรานต์ทั่วกรุงเทพฯ
Next Article ราคาขึ้นแข่งกับทอง “Labubu” ตัวท็อปจาก Pop Mart ดีไซน์น่ารัก แต่ราคาน่าขนลุก
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?