#มาเก็ทThought ถอดความคิดให้เก็ททุกไอเดียเบื้องหลัง
.
คลิปโค้งสุดท้าย3พรรคใหญ่บอกอะไรเรา? ถ้าหากเราเอามุมมองทางการตลาดเราอาจจะแบ่งให้เห็นถึงเจอเนเรชั่นได้อย่างน่าสนใจ ตั้งแต่การตลาดแบบ 1.0 ถึงการตลาด 3.0
.
สัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อไทย-ก้าวไกล-รวมไทยสร้างชาติ ปล่อยคลิปแคมเปญออกมาติดๆกัน ซึ่งน่าสนใจในแมสเสจจุดยืนของแต่ละพรรค จะขอลำดับจากการปล่อยออกอากาศก่อนและหลัง
.
พรรคเพื่อไทย ใช้ชื่อแนวคิดว่า ‘คลื่นสึนามิสีแดง’ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับปรากฎการณ์ในเลือกตั้งมาเลเซีย ที่เกิด Green Tsunami และ Chinese Tsunami ในเลือกตั้งมาเลเซียทึ่คลื่นฝูงชนออกมาเลือกตั้งให้ถล่มทลาย
.
เพื่อไทยเลือกเปิดด้วยการพูดถึงมรดกทักษิณโดยแพทองธาร ชินวัตรแคนดิเดตของพรรคเป็นคนเริ่มเรื่อง และผุดจากหนึ่งคนเริ่มขยับเป็นร้อยเป็นพันด้วยภาพการลงพื้นที่ปราศรัยต่างๆ เพิ่มมากขึ้นโดยเน้นช่วงซีนขายนโยบายที่เป็นจุดแข็งของพรรค และสุดท้ายไปปิดที่เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตอีกคนหนึ่งของพรรคพูดถึงบทบาทผู้นำแห่งการเปลี่บนแปลง เพื่อเป้าแลนด์สไลด์
.
พรรคเพื่อไทยนั้นเป็นพรรคที่ใช้การตลาดแบบ 2.0 “การเมืองเชิงนโยบาย” ก็คือเน้นมืออาชีพมาทำงาน เช่น การผลิตนโยบาย การบริหารโดยนักบริหารที่ประสบความสำเร็จในภาคธุรกิจ ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์-เศรษฐา และคำที่นักการตลาดชอบพูดก็คือ “ผู้คนไม่รู้ว่าตัวเองอยากได้อะไร จนได้เห็นสิ่งนั้น” ทุกอย่างผ่านกระบวนการรีเสิร์ช จนเกิดนโยบายต่างๆที่สมบูรณ์ ทางส.ส.เป็นเสมือนเซลส์แมนที่นำนโยบายนั้นๆไปขายให้กับประชาชน
.
ด้านก้าวไกลเลือกมู้ดแอนด์โทนแบบเข้าถึงคนรุ่นใหม่ด้วยความกันเอง เปิดด้วยวิโรจน์ ลักขณาอดิศร นั่งกินบะหมี่ แล้วพูดถึงคำสบประมาทที่ก้าวไกลเคยได้รับในอดีต และนำฟุตเทจเรื่องสิ่งที่พรรคก้าวไกลพยายามผลักดันผ่านงานสภาตลอด4ปีที่ผ่านมา และเลือกที่จะเล่าผ่านทางส.ส.คนอื่นๆเช่น รังสิมันต์ โรม, เบญจา แสงจันทร์ จิรัฎฐ์ ทองสุวรรณ์ ,ศิริกัญญา ตันสกุล และ ณัฐชา บุญไชยสวัสดิ์
.
แมสเสจที่โดดเด่นที่สุดคือ ‘ก้าวไกลคือพรรคเดียวที่ทำให้คนธรรมดาเข้ามาเปลี่ยนประเทศได้’ เพราะส.ส.แต่ละคนมาจากมนุษย์ธรรมดาๆแบบเรา ทานข้าวข้างถนน โหนรถเมล์แบบคนทั่วไป และคลิปเลือกให้บทคนพวกนี้ที่ก้าวขึ้นมาเป็นส.ส. โดย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ออกมาปิดท้ายเพียงนิดเดียวเท่านั้น ซึ่งมันสร้างแรงบันดาลใจให้แฟนก้าวไกลว่าวันหนึ่งจากกองเชียร์อาจเป็นผู้สมัครได้
.
หากมองในเชิงหลักการตลาด ก้าวไกล เดินแนวทางการตลาดการเมือง 3.0 “การเมืองเชิงอัตลักษณ์” คือพยายามจะดึงผู้บริโภค หรือฐานเสียงเข้ามามีส่วนร่วมด้วยการทำให้รู้สึกเป็นพวกเดียวกัน เผ่าเดียวกัน (Tribe Marketing) เราเห็นได้จากปรากฏการณ์ในโลกออนไลน์ของแฟนคลับก้าวไกล ใช้วัฒนธรรมแฟนด้อมแบบศิลปินเกาหลี การผลิตและส่งต่องานแฟนเมด เพราะเขารู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งๆนั้น
.
ส่วนรวมไทยสร้างชาติกับคลิป ‘อยากเห็นประเทศไทยไม่เหมือนเดิมจริงหรือ?’ นี่คือที่สุดของ Negative Campaign ที่มันเล่นกับความกลัว (Fear Factor) ถึงความไม่แน่นอนของคนรุ่นเก่า เรื่องนี้พยายามจะสะท้อนว่าหากคุณคิดว่าสิ่งที่มีอยู่แล้วดีอยู่แล้วอย่าไปเปลี่ยนแปลงมันเลย ซึ่งเป็นพลังของกลุ่มอนุรักษนิยมในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัย และข้าราชการ ที่ถูกพูดถึงในคลิปวีดีโอ
.
ที่บางโดยเฉพาะคนุร่นใหม่เมื่อได้รับชมอาจจะไม่ชอบ เพราะงานชิ้นนี้มันมันไม่ได้ถูกทำมาเพื่อสื่อสารกับเราตั้งแต่แรก แต่พบว่าคลิปนี้ทำงานได้ดีมากในไลน์กรุปหมู่บ้านและคนชรา ดังที่ไตรรงค์ สุวรรณคีรี แกนนำพรรคปราศรัยพูดว่า ‘เด็กสามนิ้วจะล้มวังอยู่แล้ว คนเฒ่าคนแก่ต้องลากกันมาเข็นกันมาเลือกเบอร์22’ อันนี้คือเป็นการสร้างอารมณ์ร่วมของกลุ่มเป้าหมายชัดเจน
.
พรรครวมไทยสร้างชาติเลือกใช้การตลาดแบบยุค 1.0 คือ “เน้นความเชื่อ” ซึ่งเราจะเห็นว่าไม่ได้มีการพูดถึงนโยบาย การเปิดรับคนเข้ามามีส่วนร่วม แต่เน้นความเชื่อว่าถ้าอยากจะให้สิ่งเก่าดำรงอยู่ต้องเลือกรวมไทยสร้างชาติเท่านั้น เหมือนเมื่อ4ปีก่อน ที่พรรคพลังประชารัฐใช้แมสเสจว่า “เลือกความสงบจบที่ลุงตู่” และประสบความสำเร็จ
.
สิ่งที่ชัดที่สุดคือทั้งสามพรรคมีแมสเสจที่ชัดว่าอยากพูดเรื่องอะไร ‘พลังประชาชน-คนธรรมดา-การต้านเปลี่ยนแปลง’ และคลิปมันคุยกับคนๆละกลุ่ม มันสะท้อนการเมืองแบบ นโยบาย2.0แบบเพื่อไทย การเมืองแบบอัตลักษณ์3.0แบบก้าวไกล และการเมืองแบบเน้นใจซื่อมือสะอาดจงรักภักดี1.0แบบรวมไทยสร้างชาติ
.
14 พฤษภาคมนี้จะเป็นคำตอบว่าท้ายที่สุดประชาชนและกลุ่มเป้าหมายของแต่ละพรรคจะเป็นอย่างไร ขอฝากให้คนไทยได้ออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงในครั้งนี้ด้วย
.
Writer: พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ
.
ที่มา
https://www.facebook.com/pheuthaiparty/videos/1548507935674826/?extid=CL-UNK-UNK-UNK-AN_GK0T-GK1C&mibextid=irwG9G