CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: Rainbowwashing อย่าให้ Pride Month กลายเป็นแค่เรื่องการตลาดฉาบฉวย
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Social Interest (Closed) > Rainbowwashing อย่าให้ Pride Month กลายเป็นแค่เรื่องการตลาดฉาบฉวย
Social Interest (Closed)

Rainbowwashing อย่าให้ Pride Month กลายเป็นแค่เรื่องการตลาดฉาบฉวย

connectthedots admin
Last updated: 2023/07/01 at 4:28 AM
connectthedots admin Published June 25, 2023
Share

เดือนมิถุนายนของทุกปี กลายเป็นเดือน Pride Month เพื่อส่งเสริมสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ
•
Pride Month เกิดจากยุคทศวรรษ 1960s สหรัฐอเมริกา มีการตรวจค้นและจับกุมผู้มาใช้บริการผับของกลุ่ม LGBTQ+ และการแสดงออกถึงความรักต่อเพศเดียวกัน ถือว่าผิดกฎหมาย
จนกระทั่ง 28 มิถุนายน 1969 ตำรวจบุกเข้าตรวจค้นผับ “สโตนวอลล์ อินน์” ในเมืองนิวยอร์ก แต่กลุ่มคนในผับพยายามต่อสู้กลับจนกลายเป็นการจลาจล
•
และลุกลามเป็นการเดินขบวนเรียกร้องสิทธิการแสดงออกความเป็น LGBTQ+ ในที่สาธารณะต่อเนื่องอีกเป็นสัปดาห์ในบริเวณกรีนิช วิลเลจ ที่ตั้งของผับสโตนวอลล์ อินน์ และกลายเป็นข่าวดังของสหรัฐ
•
ในปี 1970 จึงเกิดการเดินขบวนเรียกร้องสิทธิเกย์ใน 4 เมืองหลักของสหรัฐฯ คือ นิวยอร์ก ชิคาโก ซานฟรานซิสโก และลอสแอนเจลิส โดยยึดเอาวันที่ 28 มิถุนายนเป็นวันเดินขบวน ทำให้เดือนมิถุนายนกลายเป็น Pride Month ที่ผู้มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลกใช้เป็นเดือนแห่งการเรียกร้องสิทธิ
•
ปัจจุบันในไทยมีแบรนด์สินค้าและองค์กรธุรกิจใช้เดือนมิถุนายน เพื่อร่วมรณรงค์ Pride Month เช่น สินค้าสีรุ้ง สินค้าเพื่อกลุ่ม LGBTQ+ กิจกรรมเพื่อกลุ่ม LGBTQ+ การประดับธงสีรุ้ง เป็นต้น
•
แต่ปีนี้ ธุรกิจที่หักมุมและตั้งคำถามกลับถึงการใส่โปรไฟล์ และเปลี่ยนโลโก้ เปลี่ยนสัญลักษณ์เป็นสีรุ้ง นั้นคือ บาร์บีก้อน หรือ บาร์บีคิวพลาซ่า
ที่โพสต์ภาพและข้อความตั้งแต่ 31 พฤษภาคมปีนี้ว่า
“ขออภัย หากพรุ่งนี้ Bar B Q Plaza ไม่ได้เปลี่ยนรูป Profile เป็นสีรุ้ง เพราะการเคารพในความหลากหลาย ‘ควรเป็นเรื่องปกติ’ ที่ควรเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ไม่ว่าเดือนไหน มาสนับสนุน Pride Month อย่างเข้าใจ และทำเรื่องนี้ให้เป็น ‘เรื่องปกติ’ กันนะคร้าบบ” พร้อมใบหน้าของ “บาร์บีก้อน” มาสคอตร้าน กับข้อความว่า “รักเธอเสมอทุกเวลา”
•
สอดคล้องกับแนวคิดของคนหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ+ และคนทั่วไปว่า แวดวงธุรกิจและการตลาด กำลังใช้ LGBTQ+ เป็นแค่กลยุทธ์ทางการตลาด มาเกาะกระแส Pride Month เป็นเพียงความฉาบฉวย มากกว่าการส่งเสริมและให้การยอมรับความหลากหลายทางเพศ เพราะนอกจากได้กระแส ได้ภาพลักษณ์แล้ว น่าจะได้กลุ่ม LGBTQ+ มาเป็นลูกค้าได้อีกด้วย เพราะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง
•
โดยปัจจุบันมีคำว่า “Rainbow Washing” คือการที่แบรนด์ต่าง ๆ ทำการตลาด งานโฆษณา หรือออกผลิตภัณฑ์คอลเล็กชันพิเศษที่มี “สีรุ้ง” หรือ “ธงสีรุ้ง” เพื่อเป็นการประกาศให้โลกรู้ว่าแบรนด์สนับสนุนกลุ่ม LGBTQ+ แต่ไม่ได้ช่วยขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม หรือเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียม เป็นเพียงการเกาะกระแสอย่างฉาบฉวยเท่านั้น
•
แต่ไม่น่าแปลกใจ เพราะบีบีดีโอ เอเชีย(BBDO Asia) เอเยนซีชั้นนำ ได้สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเอเชียภายใต้หัวข้อ “Brand Purpose in Asia” พบว่า ไทย ยังติดท็อป 3 จาก 6 ประเทศในเอเชียที่สำรวจ จากการให้คุณค่าในแบรนด์ที่มีให้ความสำคัญในการพัฒนาสังคม และอินไซต์ที่ผู้บริโภคชาวไทยต้องการให้แบรนด์ต่าง ๆ ให้ความสำคัญมากที่สุดคือการช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
•
และผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่ให้การยอมรับเรื่องของ LGBTQ ในระดับสูงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค อีกทั้งยังต้องการให้แบรนด์ต่าง ๆ ออกมาให้การสนับสนุนในเรื่องนี้มากขึ้นอีกด้วย โดยต้องการให้แบรนด์สนับสนุนประเด็นสำคัญ ๆ เช่น สิทธิของ LGBTQ และความไม่เท่าเทียมในสังคม
•
ดังนั้นเมื่อผู้บริโภคและสังคมเรียกร้อง รวมทั้งเพื่อให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภค การตลาดสีรุ้ง จึงเกิดขึ้น เมื่อเทียบกับสมัยก่อน การนำเพศที่ 3 หรือ เพศทางเลือก มาเป็นพรีเซ็นเตอร์สินค้า หรือ ออกสินค้าเฉพาะให้กับคนกลุ่มนี้ หรือ ในยุคก่อน ห้ามกะเทย หรือ คนที่มีลักษณะตรงข้ามกับเพศสภาพ ออกโทรทัศน์ ออกสื่อ เนื่องจากกลัวพฤติกรรมเลียนแบบ
•
และแม้หลายแบรนด์จะได้ทำแคมเปญหรือ กิจกรรมการตลาดให้กับกลุ่ม LGBTQ+ แต่หลายองค์กรก็ได้ปรับปรุงสวัสดิภาพและสวัสดิการให้กับพนักงานกลุ่มนี้มากขึ้น ให้มีความเท่าเทียมมากขึ้น เช่น ไม่บังคับการแต่งกายตามเพศสภาพ การให้สิทธิลาหยุดผ่าตัดแปลงเพศ การแต่งงานเพศเดียวกันสามารถใช้สิทธิวันลาแต่งงานได้ เป็นต้น
•
แต่แน่นอน แบรนด์หรือองค์กรธุรกิจ ไม่ใช่องค์กร หรือ มูลนิธิ หรือเป็น NGO ที่จะผลักดันขับเคลื่อนประเด็นสังคม เพราะสินค้าต้องขายได้กับคนทุกกลุ่ม ทุกชนชั้นวรรณะ และรายได้สูงสุด กำไรสูงสุด คือจุดมุ่งหมายสำคัญ เพราะการขับเคลื่อนอื่นๆ เช่น การแต่งงานของเพศเดียวกัน การเปลี่ยนเพศต้องเปลี่ยนคำนำหน้า หรือ การสามารถบริจาคโลหิตได้ของคนกลุ่มนี้ หรือ การประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพที่ครอบคลุมถึงคู่รักโดยที่ไม่มีการจำกัดเพศ สิทธิการลาเพื่ออุปการะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตลอดจนสถานที่ทำงานเอื้อต่อบุคคลข้ามเพศหรือไม่ เป็นเรื่องที่ใหญ่เกินกว่าแบรนด์จะทำได้ นอกจากการแก้ไขกฎหมาย และการยอมรับในระดับราชการ
•
และยิ่งกว่านั้น สายตาดูถูก มองเป็นคนประหลาด มองเป็นเรื่องคบขัน ที่บางครั้งมีอนุภาพร้ายแรงมากกว่าคำพูด หรือแม้แต่คำพูดและการกระทำที่แสดงออกว่า ไม่ยอมรับคนกลุ่มนี้ ทั้งในเชิงสังคม การใช้ชีวิต การทำงาน หรือ ตำแหน่งที่สูงขึ้นในสังคม คือสิ่งที่กลุ่ม LGBTQ+ไม่ต้องการ แต่พวกเขาต้องการได้รับการยอมรับ การมีสิทธิอย่างเท่าเทียม ทั้งในทางกฎหมาย ทางสังคม และต้องการเหมือนปถุชนคนทั่วไปไม่ใช่ตัวประหลาด แม้ปัจจุบันจะลดลงมากกว่าในอดีตแล้วก็ตาม
•
ดังนั้นแบรนด์และภาคธุรกิจ ต้องแสดงออกอย่างจริงใจ ไม่ใช่แค่แคมเปญ หรือ เพื่อหวังกระแส หวังยอดขายในเดือน Pride Month แต่แคมเปญที่เกี่ยวข้องกับสังคม หรือ การเรียกร้องต่างๆ ต้องออกมาจากความรู้สึก และต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง รวมทั้งไม่จำเป็นต้องเดือนมิถุนายนหรือไม่ รวมทั้งเริ่มต้นจากในบริษัท ในองค์กรธุรกิจก่อนได้หรือไม่ แต่ทำให้เป็นเรื่องปกติในสังคม
•
เหมือนที่เจินเจิน บุญสูงเนิน ร้องเพลงแทบจะเป็นเพลงชาติของ LGBTQ+ คือ “ฉันก็เป็นผู้หญิงคนหนึ่ง” คือ ฉันก็เป็นคนธรรมดา เหมือนคนทั่วไปนั่นเอง
•
สำหรับไทยเป็นหนึ่งในที่หมายยอดฮิตของกลุ่ม LGBTQ+ โดยเมื่อปี 2019 เว็บไซต์ Gaytravel จัดให้กรุงเทพเป็นเมืองที่เป็นมิตรต่อกลุ่มนักท่องเที่ยว LGBTQ มากสุดในเอเชียและเป็นอันดับ 6 ของโลก ดังนั้นทางประเทศเราในสายตาต่างชาติมองว่าเปิดกว้างแล้ว หวังว่าทุกภาคส่วน จะทำให้ LGBTQ+ เป็นเรื่องปกติในสังคม มีความเท่าเทียมโดยทั่วไป ไม่แบ่งแยกอีก และทุกเดือน ก็คือ Pride Month สำหรับคนทุกเพศในไทยนั่นเอง
•
ที่มา :
https://marketeeronline.co/archives/309780
https://positioningmag.com/1432743
https://www.bangkokbiznews.com/business/1071103
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1066583

You Might Also Like

“เอกา โกลบอล” ประเมินธุรกิจบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร รับมือนโยบาย ‘ทรัมป์’

นโยบายประชานิยม กับดักความจน ตัวการพังเศรษฐกิจไทย?

YLG ชี้ทองคำแกว่งตัวกรอบบน รับดอลลาร์อ่อนค่า ลุ้นแตะ 3,000 ดอลลาร์

Pi Daily เผยตลาดปรับขึ้น แต่เชื่อว่าความผันผวนยังมี ให้เน้นเป็นรายตัวในหุ้นที่ผลประกอบการยังดี

TAGGED: marketing, Pride Month, Rainbowwashing, การตลาด, การลงทุน, ธุรกิจ, เศรษฐกิจ

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
connectthedots admin June 25, 2023
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article หมากเกมนี้ของ Gulf และ Binance ได้ใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล สะท้อนอนาคตในไทย ?
Next Article จุดยืน “ก้าวไกล-เพื่อไทย”มองต่างกันทั้งเศรษฐกิจ-การเมือง น้ำกับน้ำมันผสมกันยาก
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?