CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: Fiat Currency จะอยู่รอดต่อไปอย่างไรในยุคที่ Cryptocurrency มีบทบาทมากขึ้น
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Investment (Closed) > กูรูลงทุน > เปโดร พุกกะมาน > Fiat Currency จะอยู่รอดต่อไปอย่างไรในยุคที่ Cryptocurrency มีบทบาทมากขึ้น
เปโดร พุกกะมาน

Fiat Currency จะอยู่รอดต่อไปอย่างไรในยุคที่ Cryptocurrency มีบทบาทมากขึ้น

connectthedots admin
Last updated: 2022/12/10 at 3:40 PM
connectthedots admin Published March 26, 2021
Share

การเติบโตของสกุลเงินดิจิทัลโดยเฉพาะบิทคอยน์ที่ล่าสุดมีมาร์เกตแคปติดอยู่ในสิบอันดับแรกของสินทรัพย์การลงทุนทั่วโลก ตลอดจนการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีการเงินไร้ตัวกลางหรือ DeFi ที่เปิดโอกาสให้สามารถสร้างสกุลเงินดิจิทัลประเภท Stablecoins ที่อ้างอิงกับ Fiat Currency สกุลต่างๆของโลกได้ ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับสถาบันการเงินโดยเฉพาะธนาคารกลางทั่วโลกที่ต้องรับมือกับการ Disruption ครั้งนี้

ขณะเดียวกันผลกระทบจากการที่ธนาคารกลางทั่วโลกต่างหันมาอัดฉีดสภาพคล่องทั้งทางตรงด้วยการทำคิวอีและทางอ้อมด้วยการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเช่นกดดอกเบี้ยระดับต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิดยิ่งทำให้มูลค่าของ Fiat Currency ในระยะยาวยิ่งลดลง

สิ่งที่เกิดขึ้นคือองค์กรต่างๆหรือนักลงทุนสถาบันที่มีเงินสดหรือ Fiat Currency ในมือจำนวนหนึ่งเลือกที่จะกระจายการลงทุนไปยังสกุลเงินดิจิทัลอย่างบิทคอยน์ อย่างเช่น TESLA ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอันดับหนึ่งของโลกที่นอกจากเข้าลงทุนในบิทคอยน์ยังเปิดให้สามารถใช้บิทคอยน์ในการชำระค่าสินค้าได้อีก

แม้ว่าสกุลเงินดิจิทัลกำลังเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น แต่มุมมองของผมไม่ได้คิดว่าจะสามารถเข้ามาแทนที่ Fiat Currency หรือการทำงานของธนาคารกลางรวมถึงสถาบันการเงินดั้งเดิมได้ทั้งหมดอย่างแน่นอน

เหตุผลข้อแรก แม้มูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีข้อจำกัดในการนำไปใช้งานในฐานะสื่อกลางการแลกเปลี่ยน (Medium) อยู่พอสมควรด้วยราคาที่มีความผันผวนสูงจึงไม่เหมาะสมกับการนำมาใช้เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนและชำระเงิน

เหตุผลข้อที่สอง เทคโนโลยีที่รองรับสกุลเงินดิจิทัลยังไม่ถึงขั้น Mass Adoption หรือสามารถใช้งานได้ทั่วไป แม้จำนวนผู้ถือ Wallet สกุลเงินดิจิทัลจะเพิ่มขึ้นทั่วโลก แต่ต้องไม่ลืมว่าบนโลกนี้ยังมีอีกเป็นพันล้านคนที่ยังเข้าไม่ถึงอินเทอร์เนต หลายประเทศยังปิดกั้นการเข้าถึง Cryptocurrency รวมถึงวิธีการใช้งานยังมีความยุ่งยากซับซ้อน

เหตุผลข้อที่สาม การที่ Cryptocurrency ทำงานอยู่บนออนไลน์ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการโจรกรรมออนไลน์เช่นการถูก Hack Wallet ปัญหานี้มีมาตลอดสิบปีที่สกุลเงินดิจิทัลถือกำเนิดขึ้นบนโลกนี้ ขณะที่โปรเจกต์ DeFi บางส่วนยังไม่มีความสมบูรณ์และมีปัญหาการฉ้อโกงกันอยู่

ผมจึงคิดว่าสกุลเงินดิจิทัลโดยเฉพาะบิทคอยน์จึงเหมาะสมที่จะเป็นสินทรัพย์การลงทุนที่สามารถกักเก็บมูลค่า (Store Of Value) เพื่อลดความเสี่ยงจากการด้อยค่าของ Fiat Currency ตลอดจนภาวะเงินเฟ้อมากกว่าจะถูกนำมาใช้แทนเงิน Fiat Currency ในปัจจุบัน หรือจะพูดว่านำมาใช้เป็น “ทางเลือก” มากกว่าแทนที่ อย่างเช่นที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นบางรายเลือกที่จะนำเงินสดมากระจายความเสี่ยงลงทุนในบิทคอยน์

สกุลเงินดิจิทัลยังมีคุณสมบัติบางข้อที่ต้องยอมรับว่าเป็นข้อด้อยของ Fiat Currency ในปัจจุบันก็คือต้นทุนในการทำธุรกรรมการโอนเงินหากันที่ต่ำและมีความรวดเร็วมากกว่าระบบในปัจจุบันอย่างมาก โดยเฉพาะการโอนเงินระหว่างประเทศซึ่งเป็นโอกาสที่สกุลเงินดิจิทัลจะเข้ามาแทนที่ระบบการเงินแบบดั้งเดิมได้ในระดับหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางทั่วโลกก็มองเห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบการเงินในยุคกึ่ง Analog และ Digital จึงได้พัฒนา CBDC หรือสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางขึ้นมา แม้ว่าจะใช้บล็อกเชนเป็นพื้นฐานเทคโนโลยี แต่การใช้งานยังคงเป็นรูปแบบของ Private Blockchain ซึ่งต่างจากบล็อกเชนของสกุลเงินดิจิทัลที่ทำงานแบบไร้ตัวกลาง กล่าวคือ CBDC เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ทำงานอยู่ภายใต้ระบบการเงินดั้งเดิมแต่ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและลดต้นทุนการทำธุรกรรมลง

ตัวอย่างเช่นต้นทุนการพิมพ์ธนบัตรและเหรียญของประเทศไทยต่อปีอยู่ที่กว่าหมื่นล้านบาท หากมีการเปลี่ยนจากการใช้เงินสดมาเป็นเงินดิจิทัลก็จะช่วยลดต้นทุนทางการเงินของประเทศลงได้

ส่วนการมาของ DeFi ก็น่าจะช่วยกระตุ้นให้ธนาคารต้องหันมาปรับปรุงรูปแบบการให้บริการและค่าธรรมเนียมลงเพื่อให้ลูกค้ายังคงใช้บริการต่อไป แม้มูลค่าตลาดของ DeFi ยังเล็กอยู่มากเมื่อเทียบกับระบบการเงินเดิมแต่การเติบโตอย่างรวดเร็วคงเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้ที่อยู่เดิมต้องปรับตัวเอง

บทสรุปคือ Fiat Currency จะยังไม่ได้หายไปไหนแม้ Cryptocurrency จะมีบทบาทและมูลค่าตลาดมากขึ้น ทั้งสองสกุลต่างอยู่บนคนละพื้นที่มีวิธีการนำไปใช้ประโยชน์ที่ต่างกัน และการมาของเทคโนโลยีใหม่น่าจะช่วยให้ระบบการเงินดั้งเดิมมีพัฒนาการที่ทำขึ้นเพื่อปิดจุดอ่อนของตัวเองด้วย

สนใจลงทุนสกุลเงินดิจิทัล

เปิดพอร์ตเงินดิจิทัลกับ Bitazza ซึ่งได้รับใบอนุญาตจาก ก.ล.ต. ประเทศไทย และส่วนลดซื้อขายสูงสุด 70% หากใช้เหรียญ BTZ คลิกเลย!!

#CISThai

Line Official: https://lin.ee/jO65rNq

Website: https://connectthedotsth.com/ 

FB Fanpage: https://www.facebook.com/CreativeInvestmentSpace

You Might Also Like

AOT ราคาเท่าไหร่ถึงเรียกว่าถูก?

Bitcoin ช่วยป้องกันเงินเฟ้อได้ดี ท่ามกลางการจัดระเบียบโลก

TISA แนวคิดใหม่ของตลาดหลักทรัพย์ฯ “ซื้อหุ้น ได้ลดหย่อนภาษี” หวังช่วยหนุนตลาดหุ้นไทย

Pi Daily เผยตลาดปรับขึ้น แต่เชื่อว่าความผันผวนยังมี ให้เน้นเป็นรายตัวในหุ้นที่ผลประกอบการยังดี

TAGGED: BTC, Crypto, DeFi, Fiat Currency, Mass Adoption, Stablecoins, บิทคอยน์, ลงทุน, หุ้น, เงินดิจิทัล, เทคโนโลยี

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
connectthedots admin March 26, 2021
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article เทคนิคเลือกหุ้นเพื่อการเกษียณ
Next Article STGT จ่อนำหุ้นเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์เดือน เม.ย.-พ.ค.นี้
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?