Investment Outlook 2022
ปี 2021 สินทรัพย์เสี่ยงยังให้ผลตอบแทนที่โดดเด่น แต่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มประเทศอย่างชัดเจน
ในฝั่งของตลาดพัฒนาแล้วการลงทุนในหุ้นสหรัฐให้ผลตอบแทนที่โดดเด่นที่สุดเฉลี่ย 20-25% ในขณะที่ยุโรป และญี่ปุ่น ให้ผลตอบแทนน้อยกว่า เฉลี่ย 6-12% สะท้อนผลตอบแทนที่มีความ Laggard ในกลุ่มตลาด Developmentด้วยกัน
ด้านตลาดหุ้นกลุ่มกำลังพัฒนา โดยเฉพาะโซนเอเชียอย่างตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวขึ้นได้ร้อนแรงเกือบ 50% ตามมาด้วยตลาดหุ้นอินเดียขึ้นมาประมาณ 20% ในขณะที่ SET index บวกขึ้นมา 10% ด้านตลาดหุ้นจีนหลังจากทำจุดสูงสุดในช่วงต้นปี ดัชนีก็อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัยลบที่กดดันตลาดให้ปรับตัวลงมามากกว่า 15-20% ถือว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่ตลาดที่สร้างผลตอบแทนเป็นลบในปีนี้
ด้านสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ เราเห็นผลการดำเนินที่ติดลบในปีนี้ จากแรงขายพันธบัตรรัฐบาลอันเนื่องจากแนวโน้มการเข้มงวดทางนโยบายการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการลดวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ย จึงทำให้ปีนี้การลงทุนในกลุ่มตราสารหนี้ไม่สดใสนัก
ในขณะที่ภาวะดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำทั่วโลก เศรษฐกิจเริ่มกลับมาคลายมาตรการคุมเข้มเรื่องโควิดตั้งแต่ช่วงต้นปี กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ก็สร้างผลตอบแทนได้อยู่ในระดับดีมาก แตกต่างกันตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจนำโดย REIT ในสหรัฐ
ด้านสินทรัพย์ประเภท commodity อย่างน้ำมันถือเป็นปีที่ปรับตัวขึ้นได้โดดเด่นกว่าหุ้น แม้จะมีปัจจัยลบและแรงขายออกมาในช่วงท้ายของปี แต่ราคาน้ำมันยังสามารถมีผลตอบแทนตลอดทั้งปีถึง 45-50%
- Global Economic Outlook
- เศรษฐกิจยังขยายตัวต่อได้ แต่มีอัตราที่ชะลอตัวลง จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มหมดไป ปัญหาการขาดแคลนสินค้าและพลังงาน (Supply Chain) รวมถึงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และ สายพันธถ์โอไมครอน
การขาดแคลนสินค้าและพลังงาน (Supply Chain Disruption)
อันเนื่องจากการเร่งเปิดเมืองในหลายประเทศทั่วโลกพร้อมกันส่งผลให้เกิดการผลิตสินค้าไม่ทันกับความต้องการ ราคาสินค้าจึงปรับตัวสูงขึ้น สะท้อนผ่านเงินเฟ้อที่เร่งตัวทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการหลายประเทศ และยาวนานกว่าที่ผู้กำหนดนโยบายการเงินคาดไว้
อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง
สะท้อนผ่าน เงินเฟ้อผู้ผลิต (PPI) เงินเฟ้อผู้บริโภค (CPI) โดยผู้กำหนดนโยบายทางการเงิน (Center Bank) รวมถึงสหรัฐ หรือ FED และมุมมองของนักวิเคราะห์เชื่อว่าเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องและอาจทำจุดสูงสุดในช่วง Q1-Q2 2022 ก่อนที่จะชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะตลาดพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐ อันเนื่องจากการใช้เครื่องมือทางการเงินที่เข้มงวดและแนวโน้มปัญหาการแคลนสินค้าและพลังงานน่าจะมีทิศทางผ่อนคลายลง
อย่างไรก็ตามเรายังเห็นการผ่อนคลายนโยบายหรือการลดดอกเบี้ยยังคงมีอยู่ในประเทศจีน
- ความเสี่ยงที่ นักลงทุนสถาบันและผู้จัดการกองทุนทั่วโลกยังต้องจับตามองอยู่คือ การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก รวมไปถึงอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยาวนานเกินไปทำให้ ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ได้รับผลกระทบในต้นทุนที่สูงมากขึ้น อาจจะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีราคาที่ปรับตัวสุงขึ้น ทำให้กิจกกรรทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้าสินค้าและบริการ หากเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงต่อไป
- ปัจจัยที่เป็นผลบวกต่อตลาดหุ้นและตราสารหนี้ คงเป็นเรื่องการที่ธนาคารกลางสามารถใช้เครื่อง นโยบายทางการเงินและสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อไม่ใหญ่สูงจนเกินไป และยังเพิ่มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในความเร็วที่ไม่เร็วมาก จนไปกระทบต้นทุนทางเศรษฐกิจ