CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: วิกฤติคริปโต 2018 vs 2022 ต่างกันอย่างไร?
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Investment (Closed) > กูรูลงทุน > เปโดร พุกกะมาน > วิกฤติคริปโต 2018 vs 2022 ต่างกันอย่างไร?
เปโดร พุกกะมาน

วิกฤติคริปโต 2018 vs 2022 ต่างกันอย่างไร?

connectthedots admin
Last updated: 2022/12/10 at 3:14 PM
connectthedots admin Published June 18, 2022
Share

ตลอดระยะสิบกว่าปีที่ Bitcoin เกิดขึ้นมาบนโลกนี้ได้ผ่านทั้งวัฐจักรขาขึ้นและขาลงมาแล้วหลายครั้ง แต่ละครั้งจะมีทั้งความเหมือนและความต่างกันทั้งในแง่ของสาเหตุของการเกิดตลาดหมีรวมถึงระดับความเสียหายที่เกิดขึ้น เราลองไปย้อนดูอดีตกันว่าวิกฤตขาลงของ Bitcoin แต่ละครั้งเกิดอะไรขึ้น และขาลงในรอบปัจจุบันต่างหรือเหมือนจากในอดีตอย่างไร

.

ตลาดหมีครั้งแรกของ Bitcoin เกิดขึ้นในปี 2011 โดยราคาปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุด 29 ดอลลาร์มาอยู่ที่ 2.10 ดอลลาร์ หรือลดลงกว่า 93% ภายในระยะเวลา 4 เดือนเท่านั้น ส่วนตลาดหมีรอบที่สองของ Bitcoin เกิดขึ้นในปี 2014 โดยปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุด 85% ภายในระยะเวลาหนึ่งปี

.

สาเหตุที่ทำให้เกิดตลาดหมีครั้งที่สองเนื่องจากเวบไซต์ Silk Road ซึ่งนำ Bitcoin มาใช้ในการซื้อขายของที่ผิดกฎหมายรวมถึง Exchange รายใหญ่ของโลกในตอนนั้นอย่าง Mt.Gox ต้องปิดตัวลง สะท้อนว่าในอดีต Bitcoin ถูกใช้งานเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น

.

มาถึงตลาดหมีในปี 2018 ก่อนหน้านั้นในปี 2017 ราคา Bitcoin ปรับตัวขึ้นอย่าร้อนแรงตลอดทั้งปีจากระดับเพียงแค่ 2,000 ดอลลาร์ ขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ระดับ 19,640 ดอลลาร์ ก่อนจะปรับตัวลงตลอดทั้งปีกว่า 85% ลงมาทำจุดต่ำสุดที่ 3,500 ดอลลาร์ ก่อนที่จะผันผวน Sideway ตลอดทั้งปี 2019 และเริ่มกลับมาเป็นขาขึ้นในปี 2020 หลังเหตุการณ์ Black Thursday 

.

ต้นเหตุของขาลงในรอบนั้นมาจากการแตกของฟองสบู่ไอซีโอ (ICO Bubble) โดยมีการเก็งกำไรในราคาเหรียญที่มีการเสนอขายกับนักลงทุนเป็นจำนวนมากแต่โปรเจกต์ส่วนใหญ่กลับไม่สามารถใช้งานได้จริงจนสุดท้ายเกิดฟองสบู่แตกประกอบกับการที่ประเทศจีนแบน Cryptocurrency ทั้งหมด กดราคา Bitcoin เป็นขาลงยาวนานเกือบสองปีหรือที่เรียกกันว่า Crypto Winter

.

มาถึงตลาดหมีรอบล่าสุดในปัจจุบัน ราคา Bitcoin ขึ้นไปทำจุดสูงสุด 69,000 ดอลลาร์ในเดือนพฤศจิกายน 2021 หลังจากนั้นราคาปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนมิถุนายนปี 2022 โดยลงมาทำจุดต่ำสุดที่ราคา 20,500 ดอลลาร์ (ราคา ณ วันที่ 15 มิถุนายน) โดยเป็นการปรับตัวลดลง 70% จากจุดสูงสุด

.

ความแตกต่างและระหว่างวิกฤตในปี 2018 และ 2022 คือในปี 2018 ตลาดขาลงมาจากการหมดความเชื่อมมั่นในเทคโนโลยี แต่ปี 2022 เกิดจากความวิตกกัวลของนักลงทุนที่มีต่อนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯทำให้ต้องมีการขายสินทรัพย์ที่ได้เคยได้ประโยชน์จากนโยบายการเงินผ่อนคลายหรือคิวอีทั้ง Bitcoin และหุ้นเทคโนโลยีออกมา

.

แต่พื้นฐานของ Bitcoin ไม่ได้เปลี่ยนไปในแนวทางที่แย่ลงแต่อย่างไร ขณะที่เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในช่วงขาขึ้นปี 2020-2021 อย่าง DeFi,GameFi และ NFT แม้ว่าจะยังมีข้อบกพร่องอยุ่มากแต่ถือได้ว่าพัฒนาขึ้นมาจากยุค ICO Bubble อย่างมาก

.

ถ้าหากความกังวลของนักลงทุนต่อนโยบายของ FED เริ่มลดลง ยังมีความเชื่อว่าตลาดคริปโตและ Bicoin ยังมีโอกาสที่จะฟื้นกลับขึ้นมาได้ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นอย่างเร็วในไตรมาสสี่ปีนี้หรือต้นปีหน้า 

.

ยกเว้นแต่เกิดการล่มสลายของโปรเจกต์คริปโตต่างๆแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นกับ LUNA และ UST ขึ้นอย่างต่อเนื่องตลาดอาจจะซึมต่อไปและเข้าสู่ Crypto Winter ขึ้นอีกครั้งซึ่งตลาดหมีอาจจะกินเวลาไปอีกหนึ่งปีจนกว่าจะถึง Bitcoin Halving รอบต่อไป

.

อย่างไรก็ตามสิ่งที่เหมือนกันของตลาดหมี Bitcoin ก็คือภาวะฟองสบู่แตกจากกระแสความนิยมในคริปโตที่เฟื่องฟูก่อนหน้านี้ เมื่อใดที่กระแสนิยมหดหายไป เราอาจจะได้เห็นการกลับมาฟื้นตัวเป็นตลาดขาขึ้นรอบใหม่ก็เป็นได้ซึ่งจะเป็นโอกาสของ Smart Money ที่มองการลงทุนระยะยาวและให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐานมากกว่าการเก็งกำไรครับ

You Might Also Like

Bitcoin ช่วยป้องกันเงินเฟ้อได้ดี ท่ามกลางการจัดระเบียบโลก

Pi Daily เผยตลาดปรับขึ้น แต่เชื่อว่าความผันผวนยังมี ให้เน้นเป็นรายตัวในหุ้นที่ผลประกอบการยังดี

Globlex เสิร์ฟหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง KIKO-Basket-KIKO ผลตอบแทน 7-15% ต่อปี 

Pi เผยผลงานปี 67 พร้อมรุกกลยุทธ์ปี 68 ยกระดับบริการการลงทุนครบวงจร

TAGGED: Cryptocurrancy, DeFi, การลงทุน, การลงทุนยุคใหม่, การลงทุนโลก, นักลงทุน, บิทคอยน์, สินทรัพย์, เศรษฐกิจโลก

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
connectthedots admin June 18, 2022
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article ทำความรู้จักกับเครื่องมือเพิ่มมูลค่าไฟล์ดิจิทัลด้วยบล็อกเชน
Next Article จิตวิทยาการลงทุน ในสภาวะตลาดขาลง
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?