CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: เงินเฟ้อแบบ CPI กับ PCE ต่างกันอย่างไร?
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Investment (Closed) > เงินเฟ้อแบบ CPI กับ PCE ต่างกันอย่างไร?
Investment (Closed)

เงินเฟ้อแบบ CPI กับ PCE ต่างกันอย่างไร?

connectthedots admin
Last updated: 2023/07/01 at 5:24 AM
connectthedots admin Published August 24, 2022
Share

เงินเฟ้อของสหรัฐ มีกี่แบบ?

ก่อนที่เราจะมาพูดถึงเรื่องอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐ ว่ามีการจับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ ที่ไม่เหมือนกันกับประเทศอื่น เรามาดูความหมายของอัตราเงินเฟ้อกันก่อนว่า เงินเฟ้อที่แท้จริงแล้วมันหมายความว่าอะไร?

Contents
เงินเฟ้อของสหรัฐ มีกี่แบบ?ส่วนขยายความของ PCE 

.

อัตราเงินเฟ้อคืออะไร?

อัตราเงินเฟ้อคือการลดลงของกำลังซื้อของสกุลเงินหนึ่งๆ เมื่อเวลาผ่านไป อัตราการเกิดกำลังซื้อที่ลดลงcสามารถสะท้อนให้เห็นในการเพิ่มขึ้นของระดับราคาเฉลี่ยของสินค้าและบริการที่เลือก ในระบบเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การเพิ่มขึ้นของราคาซึ่งมักแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ หมายความว่า หน่วยของสกุลเงินนั้นทำการซื้อได้อย่าง มีประสิทธิภาพน้อยกว่าในช่วงก่อนหน้า 

.

เช่น อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐ ในเดือนพฤษภาคม สูงถึง 8.6% หมายความว่า เรามีเงินอยู่ 100 ดอลล่าร์ เราจะมีกำลังซื้อได้เพียง 91.4% ดอลล่าร์นั้นเอง

.

แล้วตัวเลขของสหรัฐ มีความแตกต่างจากของประเทศอื่นอย่างไร ?

ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED นั้น ให้ความสำคัญ 2 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน 

  1. Consumer Price Index (CPI) เป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการในตะกร้าผู้บริโภค ที่มีการอัปเดตทุก 2 ปี จัดทำโดย Bureau of Labor Statistics (สำนักงงานสถิติแรงงานของสหรัฐ) ประกาศพุธที่สองของทุกเดือน 
  2. Personal Consumption Expenditure (PCE) Price Index เป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าในตะกร้าผู้บริโภค ที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกเดือน ตามพฤติกรรมผู้บริโภค จัดทำโดย Bureau of Economic Analysis (สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐ) ประกาศทุกศุกร์สุดท้ายของเดือน 

.

เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ จะปรับพฤติกรรมการซื้อสินค้า ไปยังสินค้าที่ถูกกว่า ทำให้ข้อมูล PCE Price Index ส่วนมากจะต่ำกว่า CPI 

.

โดยตัวเลข PCE Price Inflation คือตัวเลขเงินเฟ้อที่ Fed ใช้เป็นเครื่องชี้หลัก ในการวัดเงินเฟ้อและเพื่อพิจารณาการทำนโยบายการเงิน ร่วมกับตัวเลขด้านแรงงาน โดย Fed จะให้ความสำคัญกับ Core PCE Price Inflation ซึ่งหักสินค้าประเภทอาหารสด และพลังงานที่ราคามีความผันผวนค่อนข้างมากออก ( หักราคาน้ำมัน กับ ราคาวัตถุดิบอาหารออก) 

  • กล่าวง่ายๆ CPI คือ การวัดการเปลี่ยนแปลงในกำลังซื้อของครอบครัวโดยเฉลี่ย และเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค กำหนดโดยการเปรียบเทียบกับ CPI ในเดือนก่อน และข้อมูลในอดีตย้อนหลัง รวมราคาพลังงาน และอาหาร (กำลังซื้อที่เปลี่ยนไปของเศรษฐกิจโดยรวม)
  • ส่วน PCE คือ การวัดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และค่าใช้จ่ายของครัวเรือน รายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล โดยมุ่งเป้าไปที่ครัวเรือนและบุคคลเป็นหลัก ( ค่าใช้จ่ายค้าปลีก) 

ส่วนขยายความของ PCE 

PCE จะทำให้รู้ว่า ผู้บริโภคใช้จ่ายกับอะไรเท่าไหร่ ทั้งผู้บริโภคที่เป็นบุคคลทั่วไป และที่เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ใช้จ่ายแทนบุคคลทั่วไป ส่วน CPI จะรู้แค่มุมของผู้บริโภคที่เป็นบุคคลทั่วไป ว่าใช้จ่ายเงินไปกับอะไร เท่าไหร่ เท่านั้น

.

อีกความแตกต่างคือ ความแตกต่างของ CPI และ PCE คือการเก็บข้อมูล สูตรในการคิด รวมไปถึงผลกระทบของผลลัพธ์ในการคำนวณเงินเฟ้อแต่ล่ะตัว ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งในบทความนี้ จะไม่ขอลงรายละเอียด เนื่องจากมีความซับซ้อนมากพอสมควร

.

โดยธนาคารกลางสหรัฐ จะให้ความสำคัญกับ PCE inflation มากกว่าเพราะสะท้อน กำลังซื้อ-จ่าย ของประชาชนในสหรัฐ มีผลกระทบโดยตรงการจ้างในสหรัฐ รวมไปถึงผลลัพธ์ต่อเนื่อง ของความสามารถในการชำระหนี้ของแต่ล่ะรายบุคคลและครัวเรือน 

.

หากตัวเลขเงินเฟ้อออกมาสูง จะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ จำเป็นที่จะต้องดูแลเศรษฐกิจของประเทศให้สอดคล้องกับค่าจ้าง และการจ้างงานให้มากขึ้น เพราะกำลังซื้อของผู้คนในประเทศ เริ่มโดนกดดันจากต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้น และอาจจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐ ที่เป็นผู้บริโภคอันดับต้นของโลกนั้นเกิดปัญหา  

.

ถ้าหาก FED ไม่สามารถควบคุมเงินเฟ้ออย่างในช่วงที่ผ่านมาได้ อาจส่งลบกับเศรษฐกิจทั่วโลก จนลามเป็นลูกโซ่ได้ โดยเฉพาะกับประเทศเกิดใหม่ เช่น ศรีลังกา ที่กำลังเผชิญหน้ากับการล้มละลาย

.

รวมไปถึงประเทศเกิดใหม่อีกหลายประเทศ ที่จะต้องเจอกับวิกฤต ที่เนื่องมาจากการกู้เงินในสกุลดอลลาร์ ช่วงที่โควิดระบาด ซึ่งมีดอกเบี้ยใกล้ศูนย์ แต่เมื่อ FED เข้ามาจัดการเรื่องเงินเฟ้ออย่างเข้มงวดมากขึ้ จึงทำให้เกิดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่รวดเร็ว จนทำให้ประเทศเหล่านี้ที่กู้เงินมานั้น ขาดความสามารถในการชำระหนี้ รวมไปถึงสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังไม่มีท่าทีจะจบในเร็วนี้ ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันที่เป็นองค์ประกอบหลักของเงินเฟ้อนั้น ยังคงตัวอยู่ในระดับที่สูงต่อไป และนี่คือผลกระทบเพียงส่วนหนึ่ง จากการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อในสหรัฐ ในรอบ 40 ปี เท่านั้น

Reference:

Difference Between CPI and PCE

https://www.investopedia.com/terms/i/inflation.asp

https://www.stlouisfed.org/publications/regional-economist/july-2013/cpi-vs-pce-inflation–choosing-a-standard-measure

You Might Also Like

“เอกา โกลบอล” ประเมินธุรกิจบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร รับมือนโยบาย ‘ทรัมป์’

นโยบายประชานิยม กับดักความจน ตัวการพังเศรษฐกิจไทย?

YLG ชี้ทองคำแกว่งตัวกรอบบน รับดอลลาร์อ่อนค่า ลุ้นแตะ 3,000 ดอลลาร์

Pi Daily เผยตลาดปรับขึ้น แต่เชื่อว่าความผันผวนยังมี ให้เน้นเป็นรายตัวในหุ้นที่ผลประกอบการยังดี

TAGGED: การลงทุน, การลงทุนยุคใหม่, การลงทุนโลก, ความรู้การลงทุน, นักลงทุน, เศรษฐกิจ, เศรษฐกิจโลก

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
connectthedots admin August 24, 2022
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article คำศัพท์การเงิน 02 : P/BV Ratio
Next Article NFT สินทรัพย์รูปแบบใหม่! มีอะไรให้ลงทุน
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?