สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้น สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือการอ่าน Fact Sheet ของบริษัท
Fact sheet เป็นข้อมูลสรุปของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งมีข้อมูลสำคัญ เช่น งบการเงิน ผลประกอบการ และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมูลค่าเช่น PE PBV EV/EBITDA ซึ่งสามารถดูได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือ www.set.or.th แล้วใส่ชื่อหุ้นที่คุณสนใจ เพื่อศึกษาก่อนตัดสินใจลงทุน
.
ข้อมูลที่ควรรู้จาก Fact Sheet ได้แก่
- โครงสร้างทางการเงิน
- กิจกรรมการดำเนินงาน
- ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
- กระแสเงินสดของบริษัท
- ความสามารถในการทำกำไร
โครงสร้างทางการเงิน
อันดับแรกคือดูเรื่อง “หนี้สิน” เบื้องต้นให้ดูภาพรวมของหนี้สินว่ามากหรือน้อยแค่ไหน โดยดูจากหนี้รวมเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ D/E ratio ซึ่งถ้าน้อยกว่า 1 จะดีมาก แต่ถ้ามากกว่า 1-1.5 ต้องมาประเมินต่อเรื่องของความสามารถในการชำระหนี้ เพราะถ้าบริษัทผลประกอบการไม่ดีขาดทุนต่อเนื่อง ขาดสภาพคล่อง ก็จะทำให้เกิดปัญหาและเสี่ยงที่จะล้มละลาย
.
หมายเหตุ : การที่บริษัทมี D/E ratio สูงไม่ได้หมายความว่ามีความเสี่ยงสูงเสมอไป ต้องมาดูคุณภาพของหนี้ (debt) ด้วย เช่น กลุ่มธนาคารหรือสถาบันการเงิน ลูกค้าเงินฝากจะมีสถานะเป็น “เจ้าหนี้“ หมายความว่าธนาคารไหนมีหนี้เยอะหมายถึงมีคนฝากเงินเยอะ หรือ หนี้ที่เกิดขึ้นอาจเป็นเจ้าหนี้การค้าก็เป็นสิ่งดี
.
กิจกรรมการดำเนินงาน: เพื่อดูนัยยะของธุรกิจ
ดูว่าทรัพย์สินหมุนเวียน (Current assets) และ หนี้สินหมุนเวียน (current liabilities) สอดคล้องไปกับยอดขาย (sales) หรือไม่ เพราะหากบริษัทมีการเติบโต มียอดขายเพิ่มขึ้น เจ้าหนี้ ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือ ก็ควรจะเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
.
หากบริษัทมีการเติบโต กำไรสะสม (Retained earnings) ก็ควรจะเพิ่มขึ้นทุกปี และกำไรที่เพิ่มขึ้นได้สะท้อนไปยังส่วนของผู้ถือหุ้น (shareholder’s equity)
.
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
ดูจากอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) เพราะสะท้อนให้เห็นความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ของกิจการ ซึ่งควรอยู่ในระดับ 8-10% และควรมีความสม่ำเสมอ ไม่ผันผวนมาก
.
ส่วนอัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (ROE) แสดงให้เห็นว่าบริษัทสามารถบริหารและทำกำไรให้ผู้ถือหุ้นได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งควรจะอยู่ในระดับ 10% ขึ้นไป
.
กระแสเงินสดของบริษัท: เพื่อดูสภาพคล่องของกิจการ
ควรให้ความสำคัญกับกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (CFO) ควรมีค่าเป็นบวกและใกล้เคียงกับกำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุน ถ้าบริษัทที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานมีค่าเป็นลบแสดงว่าเริ่มมีการขาดสภาพคล่องแม้จะมีกำไรก็ตาม
.
ส่วนกระแสเงินสดจากการลงทุน (CFI) ควรมีค่าเป็นลบ แสดงถึงบริษัทมีการลงทุนขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง และกระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน (CFF) ควรมีค่าเป็นลบเช่นกัน เพราะแสดงว่าบริษัทเอาเงินไปจ่ายหนี้เงินต้นหรือจ่ายปันผล ซึ่งทั้งหมดนี้ควรดู ROA และ ROE ประกอบเพื่อให้แน่จะว่าบริษัทยังมีความสามารถในการบริหาร
.
ความสามารถในการทำกำไร: การจัดการกำไรของบริษัท
ควรดูอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) เพื่อดูความสามารถในการควบคุมต้นทุน และอำนาจต่อรองของบริษัทกับ supplier หรือลูกค้า
.
EBIT Margin หรือ Earnings Before Interest & Tax Margin ก็บอกถึงอัตรากำไรจากการดำเนินงาน มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ เพื่อดูว่า รายได้ของบริษัท 100 บาท เป็นกำไรจากการดำเนินงานกี่บาท เพื่อวัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท
Reference :