ตั้งแต่ปี 2561 เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุ ‘แซงหน้า’ ประชากรเด็ก ทำให้กลายเป็นสังคมสูงอายุ (Aging Society) อะไรเป็นเกณฑ์วัดการเข้าสู่สังคมผู้วัย และสามารถเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง ทั้งในแง่ของสังคมและเศรษฐกิจ
.
การแบ่งระดับสังคมผู้สูงวัย
จะดูว่าเราอยู่ในสังคมสูงวัย level ไหน ดูได้จากสัดส่วนของผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ต่อประชากรในประเทศนั้นๆ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่
.
#Aging society ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
มีสัดส่วนของประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 7% ของประชากรทั้งประเทศ
.
#Aged society สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์
มีสัดส่วนของประชากรอายุ 65 ปีมากกว่า 14% ของประชากรทั้งประเทศ
.
#Super-aged society สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่
มีสัดส่วนของประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ
.
*ซึ่งในปี 2565 ถือเป็นปีแรกที่ประเทศไทย เข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกของโลก และยังมีการคาดการณ์ว่า น่าจะขยับขึ้นเป็นสังคมสูงอายุแบบสุดยอด (Super-aged Society) ในอีกเพียง 9 ปี ซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่รวดเร็วกว่าประเทศญี่ปุ่นที่ใช้ระยะเวลา 11 ปี
.
นอกจากนี้ แม้ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยตามญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ แต่กลับเป็นประเทศกำลังพัฒนาซึ่งทำให้คน “แก่ก่อนรวย” เนื่องจาก 1 ใน 4 ของผู้สูงอายุ ไม่มีเงินออม ทั้งยังมีปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อมภายในบ้าน ที่ไม่เอื้อต่อการใช้ชีวิตบั่นปลาย
.
โดยสาเหตุหลักของสังคมสูงวัยในไทย มาจากอัตราการเกิดที่มีแนวโน้มลดต่ำลงมาอย่างต่อเนื่อง การแต่งงานช้า และความไม่ต้องการมีบุตรที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงประชากรมีอายุยืนมากขึ้น
.
ผลกระทบของสังคมสูงวัย
- การบริโภคที่เป็นจุดขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของไทยถึงจุดอิ่มตัว เพราะผู้สูงอายุมักเก็บออมเพื่อการเกษียณทำให้เศรษฐกิจถดถอย
- ธุรกิจรูปแบบเก่าจะเติบโตได้ยาก ในขณะที่อุตสาหกรรมยา การดูแลสุขภาพ จะเติบโตได้ดี แต่อุตสาหกรรมยานยนต์ เสื้อผ้า อาหารและเครื่องดื่ม จะเริ่มหดตัวลง
- ขาดแคลนทั้งจำนวนและศักยภาพของแรงงาน จำนวนคนในวัยทำงานที่ลดลง และแรงงานส่วนใหญ่เริ่มเข้าสู่ภาวะสูงวัยมีข้อจำกัดทางกายภาพและศักยภาพในการเรียนรู้และทักษะการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ
- ธุรกิจที่เกี่ยวกับประชากรจำนวนมากอาจอยู่ในภาวะสูญเปล่า เช่น สถานศึกษา ภาคอุตสาหกรรม
- ประชากรมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบนโลกเสมือนจริงแทนการพบปะกันมากยิ่งขึ้น
- ภาระของรัฐบาลจะเพิ่มสูงขึ้นจากค่าใช้จ่ายด้านรัฐสวัสดิการ
สำหรับปัญหานี้ ในหลายๆ ประเทศ ได้มีการปรับเพิ่มอายุการเกษียญให้มากขึ้น เช่น
- ประเทศสิงคโปร์เพิ่มอายุเกษียณจาก 65 ปีเป็น 67 ปี
- ประเทศเกาหลีใต้ปรับการเกษียณอายุจาก 55 ปี ไปเป็น 60 ปี
- ประเทศญี่ปุ่นในปี 2568 จะขยายการเกษียณอายุจากเดิม 62 ปี เป็น 65 ปี
เราที่อยู่ในสังคมนี้ และแน่นอนว่าจะต้องกลายเป็นหนึ่งในประชากร ‘ผู้สูงวัย’ ในอนาคต ก็ต้องตระหนักถึงวิกฤติต่างอาจเกิดขึ้น และเตรียมตัวให้พร้อม วางแผนการเงินและการเกษียณให้รอบคอบ
https://brandinside.asia/aging-society-challege-for-thailand/
https://www.matichon.co.th/lifestyle/social-women/news_3196003