CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: คำศัพท์การเงิน 03 : ROE
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Investment (Closed) > คำศัพท์การเงิน 03 : ROE
Investment (Closed)

คำศัพท์การเงิน 03 : ROE

connectthedots admin
Last updated: 2023/07/01 at 5:22 AM
connectthedots admin Published September 30, 2022
Share

ROE คืออะไร?

ROE ย่อมาจาก Return on Equity คือ อัตราส่วนทางการเงินที่ช่วยวัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทต่อส่วนของผู้ถือหุ้นว่ามีมากน้อยเพียงใด มีค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งวิธีการคำนวณทำได้โดยนำกำไรสุทธิของบริษัท มาหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น หลังจากนั้นนำไปคูณกับ 100

.

#ตัวอย่างการคำนวณ ROE

  • บริษัท A มีสินทรัพย์ 30 ล้านบาท แบ่งออกเป็นส่วนของผู้ถือหุ้น 14 ลบ. และหนี้สิน 16 ลบ. และสามารถสร้างกำไรสุทธิได้ 10 ลบ.
  • ดังนั้น จะได้ค่า ROE = 10/14 = 0.71*100 จะได้ค่า ROE เท่ากับ 71 เปอร์เซ็นต์
  • แปลว่า บริษัทสามารถนำเงินในส่วนของเจ้าของ 100 บาท ไปสร้างผลตอบแทนได้ 71 บาท

ซึ่งถ้า ROE > 0 หรือเป็นบวก หมายความว่าทางบริษัทสามารถสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นได้

ถ้า ROE < 0 หรือติดลบ หมายความว่าทางบริษัทขาดทุน ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ให้ผู้ถือ

หุ้นได้

.

#ค่า ROE ที่ดีควรเป็นเท่าไหร่

ROE ยิ่งมีค่าสูงก็ยิ่งดี  

เพราะนั่นแปลว่าธุรกิจสามารถสร้างกำไรหรือผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้มาก

.

เราสามารถวัดผลการดำเนินงานของบริษัทด้วยการนำค่า ROE ปัจจุบันเทียบกับค่าในอดีต เพื่อวัดการเติบโตของกำไร หรือเปรียบเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อดูว่าบริษัทไหนมีความสามารถในการทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้นได้มากกว่ากัน ดังนั้นนักลงทุนส่วนใหญ่จึงมักหาธุรกิจที่มีค่า ROE สูงกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป

.

#ข้อควรระวังในการใช้ ROE

ROE สูงอาจไม่ได้แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัท เนื่องจาก ROE ขึ้นอยู่กับ กำไรสุทธิ (net profit) ที่สูง และส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) ที่ต่ำ 

.

นอกจากนี้ ควรดูว่าบริษัทมีผลการดำเนินงานที่สม่ำเสมอ หากบางปีบริษัทมีกำไรจากการขายสินทรัพย์ของบริษัทออกไป อาจทำให้ค่า ROE สูงผิดปกติในปีนั้น และค่า ROE ที่สูงผิดปกติก็อาจมาจากกรณีที่บริษัทก่อหนี้สินจำนวนมาก แปลว่าบริษัทต้องรับความเสี่ยงทางด้านการเงินมากขึ้นตาม

Reference:

https://knowledge.bualuang.co.th/knowledge-base/return-on-equity/

https://www.longtunman.com/37616

https://www.finnomena.com/investment-reader/

You Might Also Like

AOT ราคาเท่าไหร่ถึงเรียกว่าถูก?

TISA แนวคิดใหม่ของตลาดหลักทรัพย์ฯ “ซื้อหุ้น ได้ลดหย่อนภาษี” หวังช่วยหนุนตลาดหุ้นไทย

Pi Daily เผยตลาดปรับขึ้น แต่เชื่อว่าความผันผวนยังมี ให้เน้นเป็นรายตัวในหุ้นที่ผลประกอบการยังดี

Globlex เสิร์ฟหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง KIKO-Basket-KIKO ผลตอบแทน 7-15% ต่อปี 

TAGGED: การลงทุน, การลงทุน101, การลงทุนยุคใหม่, การลงทุนโลก, ความรู้การลงทุน, ตลาดหุ้น, นักลงทุน, ลงทุน, หุ้น, เซียนหุ้น, เทรดเดอร์

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
connectthedots admin September 30, 2022
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article เครื่องหมาย XD ในตลาดหุ้น คืออะไร?
Next Article อ่านทิศทางการลงทุน จากค่าเงินดอลลาร์
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?