CTD - Connect the Dots
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Reading: รู้จัก “Fordism” ย้อนดูการปฏิวัติแรงงานของ Ford เคยเพิ่มค่าจ้างเพื่อให้พนักงานมีเงินซื้อรถขับ? 
Share
CTD - Connect the Dots
Aa
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
  • Contact
Search
  • Home
  • Business
  • People
  • Investment
  • Opinion
  • CIS
  • News
    • News
    • Sustainable
  • Contact
    • Contact
    • About Us
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CTD - Connect the Dots > Blog > Business > รู้จัก “Fordism” ย้อนดูการปฏิวัติแรงงานของ Ford เคยเพิ่มค่าจ้างเพื่อให้พนักงานมีเงินซื้อรถขับ? 
Business

รู้จัก “Fordism” ย้อนดูการปฏิวัติแรงงานของ Ford เคยเพิ่มค่าจ้างเพื่อให้พนักงานมีเงินซื้อรถขับ? 

CTD admin
Last updated: 2024/11/21 at 11:17 AM
CTD admin Published November 21, 2024
Share

ในช่วงนี้มีทั้งข่าวดีและข่าวช็อคสำหรับพนักงาน ฟอร์ด มอเตอร์ (Ford Motor Co.) เพราะในขณะที่ฟอร์ดประเทศไทย แจกโบนัส ส่งท้ายปี 6.03 เดือน แถมเงินพิเศษ 28,000 บาท พร้อมขึ้นเงินเดือน 3.5% ในฝั่งของฟอร์ด มอเตอร์ที่ยุโรปเตรียมปลดพนักงานกว่า 4,000 ตำแหน่ง เพิ่มเติมจาก 3,800 ตำแหน่งที่เคยประกาศไว้เมื่อต้นปี เนื่องจากกระแสการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าลดลงผิดคาด กระทบต่อยอดขายรถไฟฟ้าที่ฟอร์ดเริ่มหันมาผลักดันอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังเจอแบรนด์จีนที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเข้ามาแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม จนทำให้ผลกำไรลดลงและหุ้นของฟอร์ดยังอยู่ในขาลงอย่างต่อเนื่อง  

กลุ่มคนที่เดือดร้อนหนักจากเรื่องนี้คงไม่ใช่ใครอื่นนอกจากเหล่าพนักงานของฟอร์ดที่ต้องสูญเสียงานไป แต่นี่ก็ชวนให้นึกถึงยุคเริ่มต้นของฟอร์ด ที่นอกจากจะปฏิวัติการผลิตรถยนต์ในระดับแมสโปรดักชัน (Mass Production) จนสามารถผลิตรถยนต์ได้ง่ายขึ้นและราคาถูกลงแล้ว ฟอร์ดยังเป็นองค์กรที่ปฏิวัติรูปแบบการทำงานและคุณภาพชีวิตของแรงงานในตอนนั้นอีกด้วย  

การปฏิวัติแรงงานของฟอร์ดเคยถึงกับถูกเล่าว่าเขาจ่ายค่าจ้างสูงกว่าที่อื่นสองเท่าเพื่อให้พนักงานสามารถซื้อรถที่พวกเขาประกอบได้ ซึ่งมันเป็นทั้งเรื่องที่ฮือฮาและบ้าบอมาก ๆ ในเรื่องเดียวกัน แต่ความจริงเบื้องหลังมันเป็นอย่างนี้ 

ปี 1914 ฟอร์ด มอเตอร์ ประกาศรับสมัครงาน โดยเสนอค่าตอบแทนสูงสุดถึง 5 ดอลลาร์ (รวมโบนัสและเงินพิเศษอื่น ๆ ตามเงื่อนไข) ซึ่งนับว่าสูงมากในตอนนั้น เพราะงานโรงงานที่อื่น ๆ จ่ายกันแค่ประมาณ 2.25 ดอลลาร์เท่านั้น จึงดึงดูดแรงงานฝีมือดีจำนวนมากให้เข้าไปทำงานกับฟอร์ด  

แต่เหตุผลของการเสนอค่าจ้างที่สูงกว่าที่อื่นเป็นเท่าตัวไม่ใช่เพราะฟอร์ดต้องการให้พนักงานมีเงินมากพอซื้อรถยนต์ที่พวกเขาผลิตเอง โดยคาดหวังให้เป็นวิธีการเผยแพร่ความนิยมของรถยนต์ เพื่อให้บริษัทสามารถขายรถได้มากขึ้นแต่อย่างใด การทำแบบนั้นหากพิจารณาด้วยตรรกะทางด้านการตลาดและบัญชี มันเป็นอะไรที่เสี่ยงไม่คุ้มเสียเลย และรายได้จากยอดขายก็ไม่สามารถนำมาชดเชยค่าใช้จ่ายเพิ่มส่วนนี้ เต็มที่ก็แค่พอเสมอตัว 

ลองคิดตามแบบนี้ ในปี 1913 ฟอร์ดจ้างงานราว 40,000 คน และได้อยู่ทำจริงแค่ 14,000 คน ในปี 1914 ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการขึ้นค่าจ้างทั้งปีรวมกว่า 9 ล้านดอลลาร์ แต่หากพนักงานทั้งหมดซื้อรถที่ราคาถูกที่สุดในปีนั้น รุ่น รันอะเบาต์ (Runabout) ราคาคันละ 440 ดอลลาร์ จะได้ยอดขายกลับมารวมแค่ 6 ล้านดอลลาร์ หรือต่อให้ซื้อรุ่นแพงสุดอย่าง คูป (Coupe) ราคาคันละ 750 ดอลลาร์ จะได้ยอดขายรวม 10 ล้าน กำไรแค่ล้านกว่าเท่านั้นเอง  

ในความเป็นจริงแล้ว พนักงานเหล่านี้ไม่มีทางจะหอบเงินราวครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งปีมาซื้อรถในปีเดียวอยู่แล้ว และฟอร์ดเองยังคงต้องจ่ายค่าแรงสูงลิ่วนี้ต่อไปอีกหลายปี แผนการนี้จึงไม่ใช่วิถีที่คนเก่งสติดีอย่าง เฮนรี่ ฟอร์ด (Henry Ford) ผู้ก่อตั้งจะเลือกใช้แน่นอน 

เหตุผลจริง ๆ ที่ฟอร์ดขึ้นค่าแรงสองเท่าคือ ความต้องการลดอัตราการลาออกของพนักงาน อย่างที่บอกไปว่าก่อนหน้าฟอร์ดจะขึ้นค่าแรง บริษัทจ้างงานหลายหมื่นอัตรา แต่เหลือใช้จริงเพียงแค่ 14,000 คน นั่นหมายความว่ามีอัตราการลาออกสูงมาก  

นั่นเป็นเพราะความไม่คุ้นชินกับระบบสายพานประกอบรถยนต์ (Assembly Line) นวัตกรรมที่ฟอร์ดเริ่มนำมาใช้กับการผลิตรถยนต์ระดับแมสโปรดักชัน แม้จะทำให้การผลิตเป็นระบบมากขึ้น หนึ่งคนทำหนึ่งหน้าที่ประกอบทีละชิ้นส่วนต่อ ๆ กัน ต่างจากการผลิตรถยนต์ยุคก่อนหน้าที่ช่วยกันประกอบทีละคันเหมือนงานฝีมือ และยังอาศัยความรู้และการฝึกสอนงานไม่มากก็สามารถเริ่มงานได้ แต่ความกดดันที่ตามมาคือการเร่งรัดการประกอบในแต่ละขั้นตอนตามเวลาอย่างไม่ยืดหยุ่น เสียงดัง และยังเสี่ยงอันตรายจากการตามเก็บงาน สุดท้ายจึงพากันลาออกไปทำที่อื่น  

การสูญเสียแรงงานอยู่ตลอดเวลา และต้องคอยฝึกสอนงานให้คนใหม่ ๆ นับเป็นค่าใช้จ่ายและค่าเสียโอกาสมหาศาลมหาศาลของบริษัท ฟอร์ดจึงตัดสินใจเพิ่มค่าจ้างเพื่อให้สามารถดึงดูดแรงงานฝีมือดีให้ทำงานอยู่กับบริษัทได้ และมันก็คุ้มค่ามากกว่าให้มีคนวนเข้าเวียนออกอยู่เรื่อย ๆ  

นอกจากนี้ เรื่องที่สำคัญมากกว่าการขึ้นค่าจ้างของฟอร์ดในการปฏิวัติแรงงานคือ การมอบสุดสัปดาห์และเวลากลับบ้านเร็วให้พนักงาน ด้วยการออกแบบชั่วโมงและวันทำงานใหม่แบบที่มีอิทธิพลต่อการทำงานทั่วโลก ซึ่งเรายังคงใช้กันจนถึงทุกวันนี้ จากเดิมที่แรงงานอุตสาหกรรมทำงานกันวันละ 9 ชั่วโมง วันละ 2 กะ 6 วันต่อสัปดาห์ นั่นหมายความว่าในแต่ละวันโรงงานจะหยุดชะงักอยู่ 6 ชั่วโมง หรือ 2 ใน 3 ของหนึ่งกะ ฟอร์ด มอเตอร์จึงได้ปรับชั่วโมงการทำงานใหม่เป็นวันละ 8 ชั่วโมงเพื่อเพิ่มกะที่สามเข้ามาได้ โรงงานมีการผลิตต่อเนื่องตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง และลดจำนวนวันทำงานเหลือแค่ 5 วัน 

หากเทียบกัน วันละ 9 ชั่วโมง 2 กะ 6 วัน จะได้ชั่วโมงการผลิตต่อสัปดาห์ 108 ชั่วโมง กับ วันละ 8 ชั่วโมง 3 กะ 5 วัน จะได้ชั่วโมงการผลิตต่อสัปดาห์รวม 120 ชั่วโมง มากกว่าแบบแรกเกินหนึ่งกะเสียอีก  

การปรับโครงสร้างชั่วโมงการทำงานใหม่และเพิ่มค่าตอบแทนสูงขึ้นส่งผลให้พนักงานมีเงินและเวลามากขึ้น ทำงานน้อยลง ในขณะที่ฟอร์ดก็ได้จ้างงานเพิ่มอย่างมีคุณภาพและอัตราการลาออกต่ำลง ได้ชั่วโมงการผลิตมากขึ้น สามารถผลิตรถยนต์ได้มากกว่าการทำงานแบบเก่า เรียกได้ว่าชนะทั้งสองฝ่าย  

นโยบายของฟอร์ดนับว่าแปลกใหม่และได้ผลดีมากในยุคนั้น และมีอิทธิพลต่อภาคอุตสาหกรรมในยุคนั้นอย่างมาก หลายบริษัทมีการนำแนวทางของฟอร์ด ที่เรียกกันว่า “ฟอร์ดิสม์ (Fordism)” ไปให้กับการผลิตในระดับแมสโปรดักชันของตัวเอง และยังส่งต่อมาจนถึงปัจจุบัน 

You Might Also Like

PTG โชว์ยอดขาย Non-Oil โต 32.2% กาแฟพันธุ์ไทย ขยายสาขาได้เฉลี่ย 1.5 สาขา/วัน

AOT ราคาเท่าไหร่ถึงเรียกว่าถูก?

เอพี ไทยแลนด์ โชว์ผลประกอบการ Q1/68 ยอดขายพุ่งทะลุ 12,110 ล้าน ย้ำศักยภาพทางการเงินแข็งแกร่ง

SET – Nasdaq ลงนาม MOU เสริมศักยภาพตลาดทุนไทยด้วยเทคโนโลยี

TAGGED: Ford, Fordism, ฟอร์ด, ฟอร์ด มอเตอร์

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
CTD admin November 21, 2024
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article ส่องหุ้น THG ศักยภาพธุรกิจที่ไม่ไปตามเทรนด์
Next Article “Betagro Ventures” ร่วมลงทุน “Plantible” มูลค่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ตอบโจทย์อาหารแห่งอนาคต
CTD - Connect the Dots

Connect The dots ชุมชนสำหรับผู้ที่ชอบค้นหาโอกาสใหม่ พัฒนาตัวเองตลอดเวลา และเชื่อในโอกาสใหม่ๆ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่ว่าจะเป็นโลกธุรกิจ การลงทุน เทรนด์กระแส หรือ แม้กระทั่ง การเงินส่วนบุคคล ร่วมลากเส้น ต่อจุด เพื่อทุกความเป็นไปได้ไปกับเรา เพียงคุณเริ่มต้นที่จุดแรกไปกับเรา

Facebook Youtube Tiktok Spotify

แผนผังเว็บไซต์

Home
Business
People
News
Contact
Opinion
Investment
CIS
Sustainable
About Us

Copyright © 2024 Connect the Dots – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?