นักลงทุนหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำว่า Sell in May and Go Away มันคืออะไร? เราจะอธิบายปรากฎการณ์นี้ให้ฟังอย่างคร่าวๆ
Sell in May and Go Away คือปรากฎการณ์ที่เกิดจาก ค่าสถิติที่ระบุว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคม (ผลตอบแทนทั้งเดือนพฤษภาคม) เป็นช่วงเวลาที่ไม่ควรถือครองสินทรัพย์เสี่ยงจำพวกหุ้น เนื่องจากในเดือนพฤษภาคมนั้น ตลาดหุ้นมักให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก เมื่อเทียบกับเดือนที่เหลือ
.
สาเหตุหลัก ๆ ของการปรับตัวลงในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า เป็นผลมาจากการประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 ของบริษัทจดทะเบียนต่าง ๆ รวมไปถึงการประกาศจ่ายปันผล และการประกาศคาดการณ์ผลการดำเนินงานในปีนั้น ๆ เป็นครั้งแรกของปีด้วย ซึ่งมากพอที่จะชี้ทิศทางของผลการดำเนินงานทั้งปีได้ หากไม่ผิดความคาดหมายไปมากนัก
.
ซึ่งเมื่อนักลงทุนได้ทราบถึงแนวโน้มชัดเจนแล้ว ก็มักที่จะขายทำกำไร (ถ้ามี) เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้งในอนาคต สรุปง่าย ๆ ก็คือเกิดภาวะ Sell on Fact เมื่อได้รับทราบข่าวสาร ปันผล และคาดการณ์บริษัทอย่างครบถ้วนแล้วนั่นเอง
.
แล้วปัจจัยความกังวลใน May 2022 นี้ล่ะ? มีอะไรบ้างที่มีความเป็นไปได้ ที่จะทำเกิดการเทขายสินทรัพย์ เช่น หุ้น เป็นต้น
.
1. Russian – Ukraine Tension
ความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ หลายฝ่ายประเมินว่าสถานการณ์สงครามทางเศรษฐกิจจะดำเนินต่อ โดยเฉพาะการดำเนินมาตรการคว่ำบาตรเศรษฐกิจ จะเพิ่มมากขึ้นจากสหรัฐฯ และชาติตะวันตก ซึ่งจะทำให้ความขัดแย้งระหว่างประเทศมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น
.
จากเดิมที่มีสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ที่ส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนโลก และเพิ่มขึ้นมาด้วยความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสหรัฐฯและชาติตะวันตก กับฝ่ายรัสเซียและพันธมิตร รวมไปถึงข้าวสาลีที่ยูเครน เป็นผู้ส่งออกอันดับต้นๆ ของโลก และรัสเซียที่เป็นผู้ผลิตปุ๋ยอันดับหนึ่ง รวมไปถึงผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติ ให้กับฝั่งยุโรป เมื่อโดนคว่ำบาตาร จึงทำให้ต้นทุนการบริโภคสินค้าเหล่านี้พุ่งสูงขึ้น เป็นผลให้เงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้สินทรัพย์เหล่านี้เสี่ยงโดนเทขายในเดือนพฤษภาคม
.
2. US Monetary Policy
นโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ ที่เข้มงวดขึ้น หลังจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากมาตรารการคว่ำบาตร อาจจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ จำเป็นต้องใช้นโยบายที่เข้มงวดในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และลด Balance sheet ของธนาคารกลาง (Quantitative Tightening ) เพื่อควบคุมเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้หุ้นที่มีลักษณะเติบโตสูง เช่น หุ้นกลุ่ม technology นั้น ได้รับผลกระทบจาก operation cost ที่พุ่งสูงขึ้นมากกว่าในไตรมาสก่อน ซึ่งทำให้ผลประกอบนั้นมีความไปได้ที่จะชะลอตัวลง
.
3. Zero Covid Policy
จากการแพร่ระบาดรอบล่าสุดในปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลจีนสั่งปิดหัวเมืองหลัก อย่าง เซินเจิ้นและเซี่ยงไฮ้ โดยมีการดำเนินการตามมาตรการโควิดต้องเป็นศูนย์เท่านั้น ซึ่งทำให้ประขาชนในเมืองดังกล่าวนั้น ได้รับผลกระทบจากการห้ามดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมด อย่างที่เราทราบกันว่า ท่าเรือซี่ยงไฮ้ เป็นท่าเรือหลักในการขนส่ง ชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิค และเป็นท่าเรือที่สำคัญ 1 ใน 3 ของโลก ในการขนส่งสินค้าจากเอเชียไปสหรัฐอเมริกา และยุโรป
.
จากการปิดท่าเรือมากกว่า 3 สัปดาห์ จึงทำให้ผู้ประกอบการและคู่ค้าในประเทศต่างๆ ได้รับผลกระทบกัน เป็นวงกว้าง รวมไปถึงสินค้าการเกษตร ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออก ทำให้การเร่งเงินเฟ้อของทั่วโลกนั้นสูงขึ้น
.
อย่างไรก็ตามเรามีตัวเลขในอดีตของเดือน พฤษภาคมย้อนหลังกลับไป 10 ปี
จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่ทุกตลาดที่มีผลตอบแทนเป็น ‘ลบ’ ในเดือนพฤษภาคม
.
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ นั้นมีเพียง 2 ใน 10 ครั้งเท่านั้น ที่มีผลตอบแทนในเดือนพฤษภาคมติดลบ ได้แก่ปี 2021 และ 2019 ส่วนความเป็นไปของตลาดเกิดใหม่หรือ emerging market เช่น จีน ฮ่องกง ก็มีความเสี่ยงสูง มากกว่า 50% ที่จะเกิดปรากฏการณ์ Sell in May
.
แต่ถ้ามองในมุมกลับกัน ว่าถ้าเราเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงหลังจากสิ้นเดือนพฤษภาคม และถือไปจนสิ้นปีล่ะ? การเข้าซื้อหลังพฤษภาคมอาจจะเป็นจังหวะเข้าซื้อที่ดีก็ได้??
ข้อมูล Return Data หากลงทุนหลังเดือน พ.ค. จนจบสิ้น
เมื่อดูย้อนหลังไป 10 ปี จะเห็นได้ชัดเจนว่า การลงทุนตั้งแต่เดือน มิ.ย. ต่อไปจนถึงสิ้นปี ตลาดส่วนใหญ่มีทิศทางคล้ายคลึงกัน คือ ให้ผลตอบแทนเป็นบวก มากกว่าติดลบ และมากกว่า 50% ที่เป็นผลบวกในสิ้นปี สะท้อนให้เห็นว่าการให้เวลากับการถือลงทุนในระยะที่ยาวขึ้น จะเปิดโอกาสสร้างผลลัพธ์ที่ดีจากการลงทุนได้มากกว่า
ข้อสรุป ของ Sell in May and Go Away
ความเชื่อของ Sell in may and go away ยังเป็นความเชื่อที่ไม่ถือว่าถูกเสมอไป จากตัวเลขในอดีตฟ้องว่า เราอาจจะเสียโอกาสในการลงทุน หากมีการถือครองเกิน 6 เดือนขึ้นไป หลังจากเดือนพฤษภาคม
.
แต่อย่างไรก็ตาม ในแต่ละปีมี event หรือมี context ที่จะกระทบกับเศรษฐกิจที่เฉพาะตัว โดยเฉพาะในปี 2022 ที่มี 3 event หลัก คือการแพร่ระบาด สงคราม และ อัตราเงินเฟ้อที่สูงก่อนหน้าจะมีสงคราม ทำให้ ปีนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่จะมี Sell in May สูงกว่าในทุกๆ ปีที่ผ่านมา
.
เชื่อว่า Sell in May and Go Away ในรอบ 2022 ปีนี้ อาจจะมีการปรับฐานระยะสั้น แต่เชื่อว่าจะไม่มีการปรับฐานที่แรงกว่าในรอบต้นปี หาก FED มี Action plan และ การสื่อสารกับตลาดที่ดีมากพอ เศรษฐกิจอาจจะไม่ได้กลับมาร้อนแรง หากปัจจัยใดปัจจัยนึงนั้นยังไม่ได้ตกลงไป
.
และเงินเฟ้อในระดับที่สูงจะยังอยู่กับเราในปีนี้ต่อไป หากแนะนำในการลดความผันผวนของการลงทุน อาจจะเปลี่ยนจากการเน้นจับจังหวะตลาด หรือ Market timing เป็นการซื้อถือเฉลี่ยในทุกๆ เดือน หรือ DCA อาจจะเป็นวิธีที่ดีในการปรับกลยุท์การลงทุนในช่วงปีนี้ได้