ผู้ให้กำเนิด “BDMS” เครือโรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในไทย
และ “Bangkok Airways” สายการบินเอกชนแห่งแรกของไทย
ในบรรดาเหล่ามหาเศรษฐีของไทย แต่ละคนล้วนเป็นเจ้าของเครือธุรกิจใหญ่ที่ส่งผลต่อคนทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็น พลังงาน หรือค้าปลีกต่าง ๆ แต่คนที่มีประเภทธุรกิจที่โดดเด่นและแตกต่างคือ ‘นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ’
แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็น “นายแพทย์” แต่จริง ๆ แล้ว ปราเสริฐ หรือ “หมอเสริฐ” เป็นบุคคลแถวหน้าในวงการธุรกิจไทย เพราะเขาคือเจ้าของโรงพยาบาลเอกชนในเครือ BDMS รวมทั้งหมด 57 โรงพยาบาล ซึ่งนับว่าเป็นเครือโรงพบาบาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังเป็นผู้ก่อตั้งสายการบินชั้นนำอย่าง Bangkok Airways อีกด้วย
ทายาทหมอหลวง
หลายคนอาจพอสังเกตได้ว่า นามสกุลของหมอเสริฐนั้นสื่อถึงความเป็นหมอยาได้ชัดเจนสุด นั่นก็เพราะว่าจริง ๆ แล้วเขาเป็นเหลนของหมอหลวงในสมัยรัชกาลที่ 6 ‘หมอทองคำ ช้างบุญชู’ ผู้เชี่ยวชาญในการคิดค้นและผลิตยาแผนไทยต่าง ๆ รวมถึง ‘ยาหอมปราสาททอง’ ที่โด่งดัง ซึ่งต่อมาก็ส่งมอบตำหรับยาให้หลานอย่าง ‘หมอทองอยู่ ช้างบุญชู’ พ่อของหมอเสริฐ ได้ก่อตั้งห้างขายยาในชื่อ ‘บริษัท ปราสาททองโอสถ จำกัด’ และได้เปลี่ยนนามสกุลเป็น ‘ปราสาททองโอสถ’ ด้วย
ตัวหมอเสริฐเองก็เป็นลูกไม้ที่หล่นใต้ต้น จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และแน่นอนว่าจบมาก็เป็นหมอศัลฯ ที่โรงพยาบาลศิริราช ตามเส้นทางอาชีพปกติของหมอ
วางมีดผ่าตัด หันมาจับเงินรักษา
เป็นหมออยู่ 5 ปี ชีวิตของหมอเสริฐก็พลิกผันหันหน้าเข้าสู่วงการธุรกิจอย่างเต็มตัว มาจากความรู้สึกลึก ๆ ในใจตั้งแต่เด็กว่า “คงเป็นหมอที่ดีไม่ได้” และรู้ตัวว่าไม่เหมาะกับการอุทิศชีวิตให้การแพทย์ แต่กลับกัน เขามีความสนใจในด้านธุรกิจ และคิดว่ามาด้านนี้จะรุ่งเรืองกว่ามาก
นั่นทำให้หมอเสริฐตัดสินใจรักษาคนไข้ด้วย “เงิน” แทน และลงทุนก่อตั้ง ‘บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด’ ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาทในปี 2512 และเปิดดำเนินการ ‘โรงพยาบาลกรุงเทพ’ ในปี 2515 ก่อนที่จะเติบโตจนสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเมื่อปี 2534 ด้วยชื่อย่อ ‘BGH’ แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดในปี 2537 และทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นถึง 1,758 ล้านบาท
หมอนักซื้อ
เมื่อธุรกิจเติบโตและเข้มแข็งมากพอ หมอเสริฐก็ไม่ได้หยุดแค่นั้น แต่เขามองภาพกว้างและต้องการสร้างเครือข่ายโรงพยาบาลที่ดีในไทย จึงเริ่มกว้านซื้อโรงพยาบาลต่าง ๆ บริเวณหัวเมือง รอบกรุงเทพและปริมณฑล จนในปี 2553 ได้สร้างดีลที่เรียกได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนและทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลของหมอเสริฐเติบโตอย่างก้าวกระโดด เมื่อได้พบกับ ‘คุณวิชัย ทองแตง’ ราชาเงินทุนผู้ถือครองโรงพยาบาลแถวหน้าอย่าง โรงพยาบาลพญาไท และโรงพยาบาบเปาโล
ซึ่งแม้ว่าทั้งสองคนจะครองกลุ่มโรงพยาบาลใหญ่ทั้งคู่และเหมืนอเป็นคู่แข่งกัน แต่วิธีการเติบโตของธุรกิจนี้มันแข่งไม่ได้ ยิ่งแข่งเหมือนยิ่งหาร วิธีที่จะเติบโตอย่างแข็งแรงได้ต้องโตไปด้วยกัน หมอเสริฐจึงยื่นข้อเสนอให้วิชัยนำโรงพยาบาลพญาไทและเปาโลมาร่วมในเครือของตน และปิดดีลไปในปี 2554
การควบครวมครั้งนี้ทำให้ BGH กลายเป็นกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวบหัวกินหางจนแทบจะเรียกได้ว่า “ผูกขาด” และยังเดินหน้าซื้อโรงพยาบาลต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจนมีโรงพยาบาลมากถึง 57 แห่งในเครือ และเป็นเครือโรงพบาบาลที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก
โดยในปี 2558 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘BDMS’ หรือ ‘บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)’ ที่เราคุ้นหูกันอยู่ทุกวันนี้
“หมอติดปีก”
การที่หมอรวย ๆ สักคนจะต่อยอดในธุรกิจอย่างโรงพยาบาลนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกครับ แต่นอกจากเครือ BDMS แล้ว ในช่วงตั้งไข่ หมอเสริฐยังได้ก่อตั้ง ‘บริษัทกรุงเทพสหกล จำกัด’ ขึ้นมาสำหรับงานก่อสร้างสนามบิน จากความกลัวในวัยเด็กที่เคยเห็นเครื่องบินมาทิ้งระเบิด และทำอะไรไม่ได้ จึงกลายเป็นความฝันว่าอยากเป็นเจ้าของเครื่องบิน ซึ่งความฝันของเขาไปไกลกว่านั้น
หมอเสริฐก่อสร้างและเป็นเจ้าของสนามบินถึง 3 แห่ง ทั้งสนามบินสมุย สนามบินสุโขทัย และสนามบินตราด ในขณะเดียวกันก็เริ่มต้นธุรกิจสายการบินขึ้นในฐานะแผนกการบินของกรุงเทพสหกล
ในปี 2527 หมอเสริฐก่อตั้ง ‘บริษัท สหกลแอร์ จำกัด’ เพื่อรับโอนธุรกิจสายการบินจากกรุงทพสหกล และให้บริการเช่าเหมาลำแก่ภาครัฐและบริษัทต่างชาติเป็นหลัก
ภายหลังได้มีความคิดอยากดำเนินการธุรกิจเที่ยวบินพาณิชย์ จึงทำเรื่องขออณุญาติจากภาครัฐ และได้เป็นสายการบินเอกชนแห่งแรกของไทย พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น ‘บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด’ ในปี 2529 เป็น Bangkok Airways ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน
จากความสำเร็นการ สร้าง ปั้น ซื้อ สองสายธุรกิจหลักของหมอเสริฐ ก็ทำให้เขาร่ำราวยมีมูลค่าทรัพย์สินมหาศาล 13.2 แสนล้านบาท จนติดอันดับ 7 มหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในไทย และเป็นอันดับ 3 มหาเศรษฐีหุ้นไทยด้วยหุ้น BDMS 12.85% และ BA 11.38% ในบริษัท คิดเป็นสัดส่วนในพอร์ต คือ BDMS 93.6% และ BA 6.4% รวมมูลค่าพอร์ตกว่า 5 หมื่นล้านบาท
มาปีนี้ ตั้งแต่ต้นปี หมอเสริฐเริ่มเทขายหุ้น BDMS จำนวนหลายล้านหุ้น ฟันกำไรไปมหาศาล พร้อมลาออกจากกรรมการบริหารของ BDMS เดือนกันยายนที่ผ่านมา ปล่อยให้ลูกสาวอย่าง ‘พญ.ปรมารภรณ์ ปราสาททองโอสถ’ สืบทอดอาณาจักร BDMS ในฐานะประธานกรรมการบริหารต่อไป ซึ่งแม้ว่าการเทขายในครั้งนี้จะส่งผลให้หุ้นของ BDMS ร่วงลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็มองว่าสไม่ส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจของ BDMS และราคากลับมาสูงขึ้นหลังปลายปีนี้
ที่มา: https://www.longtunman.com/2978
#People #Business #BDMS #BangkokAirways #Hospital #airways #CTD #connectthedots